สมองหมา ช่วยแก้ปัญหาคน

สมองหมา ช่วยแก้ปัญหาคน

       สาม สี่ปีก่อนผมเพิ่งย้ายกลับมาจากสหรัฐอเมริกามาทำงานอยู่ที่คณะแพทยศาสตร์โรง พยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีโอกาสทองที่ได้เข้าร่วมช่วยแก้ปัญหางานวิจัยนำโดย รศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์  ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา  นสพ.บุญเลิศ ล้ำเลิศเดชา  ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี และ น.ส.ลดาวัลย์ วรพฤกษ์จารุ ที่ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมค AIMC) ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ทำการศึกษาสุนัขบ้าและตรวจสมองสุนัขด้วยเครื่อง 3-Tesla MRI scanner ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นการยากที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของสมองที่ติดเชื้อไวรัสสุนัขบ้า จากการตรวจด้วย MRI แบบดั้งเดิมแล้วตรวจดูภาพด้วยสายตา ดังนั้น รศ.พญ.จิรพร จึงได้ให้มีการตรวจ MRI แบบก้าวหน้าชนิดต่างๆเพิ่มเติมไว้ด้วย เช่น ภาพการซึมของโมเลกุลของน้ำในสมอง  

       ตอนนั้นเริ่มมีข้อมูลที่ทำให้เกิดความเชื่อว่า ภาพ การซึมของโมเลกุลของน้ำในสมองอาจจะมีความไวเพียงพอที่จะตรวจพบการเปลี่ยน แปลงในโรคสมองอักเสบได้ แต่มีปัญหาอยู่ว่าเราจะทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาพทางสถิติเชิงกลุ่มของ การซึมของโมเลกุลของน้ำในสมองได้อย่างไร เนื่อง จากขนาดและรูปร่างของสมองสุนัขแต่ละตัวมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก จะต้องมีการปรับแต่งสมองทุกสมองให้มีตำแหน่งทางกายวิภาคตรงกันจึงจะทำการ เปรียบเทียบกันได้ อนึ่ง ตอนอยู่ที่สหรัฐอเมริกาได้ทราบว่าวงการวิจัยก็มีปัญหาในการวิเคราะห์เปรียบ เทียบภาพสถิติเชิงกลุ่มของสมองผู้สูงอายุเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่เป็นโรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์ซึ่งสมองฝ่อลง และโพรงน้ำโตขึ้นมาก ทำให้เป็นการยากที่จะปรับแต่งสมองของแต่ละคนให้มีตำแหน่งทางกายวิภาคตรงกัน ถึงทำได้ก็มักมีความผิดพลาดอยู่มาก เคยแก้ปัญหาด้วยการทำการขยายการปรับแต่งสมองให้เป็น 2 ขั้นตอน (ปรับแต่งสมองส่วนสีเทา ตามด้วยปรับแต่งสมองโดยรวมที่ถูกปรับแต่งจากขั้นตอนแรก) ผล ที่ได้จากวิธีการนี้สามารถนำไปใช้วิเคราะห์เปรียบเทียบเชิงสถิติของสมองโรค ความจำเสื่อมอัลไซเมอร์ได้ดีพอสมควร แต่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก หาก ตรวจสอบอย่างละเอียดจะพบความผิดพลาดของตำแหน่งของสมองส่วนต่างๆอยู่ไม่น้อย และเมื่อนำวิธีการนี้มาใช้กับสมองสุนัข ก็พบกับความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

       ในที่สุดได้ลองทำการหาแผนที่ความน่าจะเป็นของใยสมองทั้งหมดของสมองสุนัขซึ่งต้องใช้เวลากว่า 7 วันต่อหนึ่งสมองในการคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง จาก นั้นนำมาเป็นพื้นฐานในการปรับแต่งสมองให้มีตำแหน่งทางกายวิภาคตรงกัน ผลปรากฏว่าสามารถปรับแต่งให้สมองสุนัขมีตำแหน่งทางกายวิภาคตรงกันได้โดยมี ความถูกต้อง แม่นยำสูง แม้ในบริเวณไขสันหลังส่วนต้นซึ่งมีความแปรปรวนของตำแหน่งได้มาก

จาก ความสำเร็จข้างต้น จึงเกิดความคิดในการนำวิธีการปรับแต่งสมองดังกล่าวกลับมาประยุกต์ใช้กับสมอง มนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมองผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ผลการทดสอบพบว่าการปรับแต่งด้วยวิธีนี้มีความถูกต้อง แม่นยำของตำแหน่งทางกายวิภาคของสมองดีมาก จึงได้นำวีธีการนี้มาใช้เป็นรากฐานในการสร้างแผนที่สมองของคนไทยในโครงการ วิจัยแผนที่สมองของคนไทย (Thai Brain Mapping project) 

       จาก การที่มีข้อมูลภาพสมองจำนวนมากจากโครงการวิจัยแผนที่สมองของคนไทย และมีวิธีการปรับแต่งสมองที่ถูกต้อง แม่นยำ ทำให้สามารถทราบค่าปกติของตัวแปรต่างๆของสมอง ประกอบกับผลลัพธ์จากโครงการวิจัยฯซึ่งจะได้ค่าเฉลี่ยของตัวแปรของสมองผู้ ป่วยโรคต่างๆ ส่งผลให้ในอนาคตอันใกล้นี้ ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้าจะสามารถเปิดบริการด้านรังสีวิทยาคำนวณ (Computational Radiology Laboratory) เพื่อระบุว่าสมองของผู้ป่วยรายหนึ่งมีความน่าจะเป็นเข้าได้กับโรคใด มากน้อยเพียงใด

วิทยา สังขรัตน์ พ.บ. M.S.E.E., Ph.D

 

ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ข่าวทั้งหมด