สารทึบรังสี

สารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจ

คือสารที่ใช้ในการวินิจฉัยทางรังสี เพื่อให้เกิดความแตกต่างของการทึบต่อรังสีเอกซ์ ระหว่างอวัยวะที่ต้องการตรวจกับอวัยวะใกล้เคียงทำ ให้เห็นอวัยวะที่ต้องการตรวจได้ชัดเจนเป็นสารประกอบของไอโอดีนกับอินทรีย์ สาร มีอยู่ 2 ชนิด คือ

  1. ชนิดแตกตัวเป็นประจุ มีราคาถูก
  2. ชนิดไม่แตกตัวเป็นประจุ มีราคาสูง เกิดอาการข้างเคียงน้อยกว่าชนิดแตกตัวเป็นประจุ แต่ทั้ง 2 ชนิด ยังทำ ให้เกิดอาการแพ้ได้
* การเลือกชนิดของสารทึบรังสี อยู่ในดุลยพินิจของรังสีแพทย์*
วิธีการใช้สารทึบรังสี
  1. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาดการใช้ยา 2 ซี ซี ต่อนํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัม
  2. ให้ผู้ป่วยดื่ม โดยผสมสารทึบรังสีกับนํ้าดื่ม
  3. ใช้สวนเข้าทางทวารหนัก โดยผสมสารทึบรังสีกับนํ้าสะอาด
หมายเหตุข้อ 2 และข้อ 3 ใช้เฉพาะการตรวจอวัยวะในช่องท้อง

 

อาการข้างเคียงขั้นต้นที่พบได้บ่อยหลังฉีดสารทึบรังสีที่มีไอโอดีนได้แก่
  1. คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นแดง เจ็บปวดและร้อนทั่วร่างกายอาการดังกล่าวจะบรรเทาลงหลังหยุดฉีดสารทึบรังสี
  2. อาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ หนาวสั่น มีไข้เหงื่อออกปวดศีรษะมึนงง อ่อนเพลีย ความดันโลหิตตํ่าหรือสูงกว่าปกติ อาการคัน ลมพิษ จาม ไอ จนถึงอาการสิ้นสติได้ ซึ่งอาการแพ้จนสิ้นสตินี้เกิดขึ้น ในปริมาณน้อยมาก

ปกติรังสีแพทย์ บุคลากรทางรังสี และพยาบาลที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีจะคอยดูแลท่านและระงับอาการแพ้สารทึบ รังสีขั้นต้นก่อน ที่จะเกิดอาการแพ้ขั้นรุนแรงต่อไปอย่างเต็มความสามารถ นอกจากนี้ยังได้มีการจัดเตรียมยาเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ช่วยชีวิตไว้ภายในห้องตรวจ เพื่อสะดวกในการหยิบใช้ได้ ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินอีกด้วย

 

ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ข่าวทั้งหมด