สถิติผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

 

มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรงในระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งพบเป็นอันดับหนึ่งในผู้ป่วยชายของโรงพยาบาลรามาธิบดี จากรายงานประจำปี ซึ่งจัดทำโดยหน่วยทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่าในปี พ.ศ. 2557 สถิติจำนวนผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 1 ในผู้ป่วยชาย รองลงมาคือโรคมะเร็งปอด มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี ตามลำดับ รายละเอียดในตารางที่ 1

หน่วยทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาลรามาธิบดีเล็งเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์ทางการแพทย์ พยาบาล นักศึกษาและประชาชนผู้ที่สนใจ จึงได้รวบรวมรายงานสถิติผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรามาธิบดี และสถิติโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในประเทศไทย รายละเอียดในตารางที่ 1, 2 และ 3

 

 

ตารางที่ 110 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชายที่ได้รับการวินิจฉัยในโรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ.2557)

ชนิดมะเร็ง ICD-1O จำนวนผู้ป่วย
โรคมะเร็ง (คน)
เปอร์เซ็นต์
1. มะเร็งต่อมลูกหมาก C61 170 12.7
2.มะเร็งปอด C34 136 10.2
3. มะเร็งตับและท่อน้ำดีในตับ C22 127 9.5
4. มะเร็งระบบเม็ดเลือดและระบบสร้างเม็ดเลือด C42 94 7.0
5. มะเร็งลำไส้ใหญ่ C18 65 4.8
6. มะเร็งผิวหนัง C44 64 4.8
7. มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ C67 59 4.4
8. มะเร็งหลังโพรงจมูก C11 57 4.3
9. มะเร็งลำไส้ตรง C20 55 3.9
10. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง C77 53 34.3
11. อื่นๆ   459 34.3
รวม   1,339 100.0

 

 

 

รูปที่ 110 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชายที่ได้รับการวินิจฉัยในโรงพยาบาลรามาธิบดี ( พ.ศ. 2557)

 

 

ที่มา : รายงานสถิติโรคมะเร็งประจำปี หน่วยทะเบียนมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี ( พ.ศ. 2557)
 

 

      

ตารางที่ 2สัดส่วนผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับการวินิจฉัยโรงพยาบาลรามาธิบดี ( พ.ศ. 2553-2557)

ปีที่ได้รับการวินิจฉัย ผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิด
ในเพศชาย (คน)
ผู้ป่วยมะเร็ง
ต่อมลูกหมาก (คน)
เปอร์เซ็นต์
2553 1617 162 10.0
2554 1218 117 9.6
2555 1501 174 11.6
2556 1161 102 8.8
2557 1339 170 12.7

 

ที่มา : รายงานสถิติโรคมะเร็งประจำปี หน่วยทะเบียนมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี (พ.ศ 2553-2557)
 

 

      

ตารางที่ 3จำนวนและอุบัติการของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในประเทศไทย 

ปีที่รายงาน จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ทุกชนิดในเพศชาย
จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ต่อมลูกหมาก

อุบัติการณ์ต่อประชากร100,000 คน

2544-2546 121,986 4,305 5.5
2547-2549 145,788 5,502 6.4
2550-2552 50,961 2,400 7.7
2553-2555 54,586 2,762 7.1

ที่มา : รายงานสถิติโรคมะเร็งประจำปี หน่วยทะเบียนมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี (พ.ศ 2553-2557)
 

 

รูปที่ 2อุบัติการณ์ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในประเทศไทย

ที่มา : หนังสือสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทย (Cancer In Thailand) ฉบับที่ 5 -8   จัดทำโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

      

แม้ว่าโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะพบบ่อยขึ้น แต่หากตรวจพบเจอในระยะเริ่มแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นผู้ที่พบอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะบ่อย หรือน้ำอสุจิเป็นเลือด ควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมและถูกต้องต่อไป

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม มะเร็งต่อมลูกหมาก โดย รศ.นท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล

 

ผู้รวบรวมข้อมูล
นายธนพล ทนคำดี  
หน่วยทะเบียนมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี