หลักสูตรระดับปริญญา

 

หลักสูตรเวชศาสตร์ชุมชนสำหรับนักศึกษาแพทย์

ชั้นปีที่ 3 :                  

รมวช ๓๐๓ เวชศาสตร์ชุมชน ๑ RACM 303 Community Medicine I 

๕ (๓-๔-๘) หน่วยกิต (บรรยาย ๓ ชม. ปฏิบัติ ๔ ชม. เรียนรู้-ค้นคว้าด้วยตนเอง ๘ ชม./สัปดาห์  

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในเรื่องระบบสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ระบบบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ บทบาทแพทย์ต่อผู้ป่วยและสังคม ศักยภาพของชุมชนในการพึ่งตนเองกับสุขภาพ ระบาดวิทยาเบื้องต้น มี ทักษะการเข้าชุมชน ตลอดจนได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนในมิติต่างๆ รวมทั้งด้านพฤติกรรมสุขภาพ โดยการไปใช้ชีวิต ร่วมกับชาวบ้านในหมู่บ้าน/ชุมชน การสัมผัสสภาพที่เป็นจริงจะนําไปสู่การเข้าใจและการมีเจตคติที่มีต่อชุมชน ซึ่งจะ เป็นพื้นฐานที่สําคัญสําหรับการเรียนรู้เวชศาสตร์ชุมชนในชั้นปีที่ ๔  ปีที่ ๕ และ ปีที่ ๖ ต่อไป

ชั้นปีที่ 5 :                                      

รมวช ๕๐๑ เวชศาสตร์ชุมชน ๒ RACM 501 Community Medicine II

๔ (๒-๖-๖) หน่วยกิต (ทฤษฎี ๒ ชั่วโมง-ปฏิบัติ ๖ ชั่วโมง-ค้นคว้า ๖ ชั่วโมง/สัปดาห์)

เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์การใช้ชีวิต และการทำงานในระบบสุขภาพระดับอำเภอ โดยร่วมปฏิบัติงานทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้งการสร้างสุขภาพร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่ เสมือนเป็นสมาชิกของทีมสุขภาพระดับอำเภอ โดยสามารถประยุกต์ความรู้พื้นฐานหลายสาขา ได้แก่ ระบบสุขภาพและปัจจัยกำหนดสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพ ระบาดวิทยา เศรษฐศาสตร์คลินิกและเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การวิจัยระบบสุขภาพ และการจัดการระบบบริการสุขภาพ เพื่อให้เห็นคุณค่าการเป็นแพทย์ชุมชนและสามารถเสนอแนะการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยเฉพาะระดับปฐมภูมิ

ชั้นปีที่ 6 :

รมคร ๖๑๕ เวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน RAID 615 Family and Community Medicine

๔ (๑ ๖ ๕) ( บรรยาย ๑ ชม ปฏิบัติ ๖ ชม.-ค้นคว้าด้วยตนเอง ๕ ชม./สัปดาห์ )

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนรายวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน (รมคร ๖๑๕) แล้ว นักศึกษาสามารถประยุกต์พื้นฐานความรู้ด้านคลินิก ระบาดวิทยา ระบบบริการสุขภาพ วิทยาการการจัดการวิจัยพัฒนาในระบบบริการสุขภาพระดับอาเภอในด้านการระบุปัญหาหรือข้อจากัดของระบบบริการสุขภาพ วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและเสนอทางเลือกการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ