หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน
เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม 
สาขาตจวิทยา
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562

1.. ชื่อหลักสูตร

  • (ภาษาไทย) หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • (ภาษาอังกฤษ) Residency Training in Dermatology, Division of Dermatology, Ramathibodi Hospital

2. ชื่อวุฒิบัตร

  • ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาเวชกรรมสาขาตจวิทยา    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) วว. สาขาตจวิทยา
  • ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) Diploma of the Thai Board of Dermatology ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) Diploma, Thai Board of Dermatology
  • คำแสดงวุฒิการฝึกอบรมท้ายชื่อ (ภาษาไทย) วว. ตจวิทยา
  • คำแสดงวุฒิการฝึกอบรมท้ายชื่อ (ภาษาอังกฤษ) Diplomate, Thai Board of Dermatology หรือ Dip., Thai Board of Dermatology

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

       สาขาวิชาโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
4. พันธกิจของแผนฝึกอบรม/หลักสูตรฝึก
สาขาวิชาตจวิทยา ได้กาหนดพันธกิจด้านการศึกษาของหลักสูตรดังนี้
“ผลิตตจแพทย์ที่ดี มีคุณภาพ มีความเป็นสากล และมีความสามารถด้านการวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ”
1. ผลิตตจแพทย์ที่มีคุณภาพ ให้มีความสามารถในการเรียนรู้เพื่อให้มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง มีเจตนารมณ์และเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ความเป็นมืออาชีพ การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม การปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพ ความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ
2. ให้มีความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขด้านผิวหนังของประเทศ
3. ให้มีความสามารถในการให้บริการทางการแพทย์และบริการวิชาการที่มีมาตรฐานระดับสากล โดยคำนึงถึงความต้องการด้านสุขภาพทางผิวหนังของชุมชนและสังคม การบริหารจัดการ กระบวนการคุณภาพและความปลอดภัย ตลอดจนความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย มีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อผู้ร่วมงาน และองค์กร ทั้งในวิชาชีพของตนเองและวิชาชีพอื่น มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัย โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวมด้วย
5. ผลลัพธ์ของแผนฝึกอบรม/หลักสูตร
แพทย์ที่จบการฝึกอบรมเป็นตจแพทย์ต้องมีคุณสมบัติ และความรู้ความสามารถขั้นต่ำตามที่สาขาวิชาฯ ได้กำหนดผลลัพธ์การฝึกอบรมที่พึงประสงค์ (Intended learning outcomes) ซึ่งครอบคลุมสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน อิงตามเกณฑ์สากลของ Accreditation Council for Graduate Medical Education (ACGME) และเกณฑ์หลักสูตรกลางสาขาตจวิทยา ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้
5.1 การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care)
5.1.1. สามารถซักประวัติ ตรวจร่างกาย ได้ครบถ้วนและถูกต้อง
5.1.2 มีทักษะในการแปลผลทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับทางผิวหนัง
5.1.3 สามารถให้การวินิจฉัย การวางแผนการรักษาโดยใช้ยา (Medical) หรือหัตถการ (Procedures) และให้ความรู้แก่ผู้มีปัญหาผิวหนัง
5.1.4 สามารถให้ความรู้เพื่อเพิ่มความสามารถในการป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพทางผิวหนัง
5.1.5 สามารถบันทึกเวชระเบียนได้อย่างสมบูรณ์และสม่ำเสมอ
5.2 ความรู้ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วย (Medical knowledge and Skills)
5.2.1 มีความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Basic sciences) ทางผิวหนัง
5.2.2 มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และเชี่ยวชาญในสาขาตจวิทยา
5.2.3 สามารถวิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์
5.3 การเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการพัฒนาตนเอง (Practice-based learning)
5.3.1 มีงานวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข
5.3.2 สามารถเรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ
5.3.3 สามารถใช้ยาและทรัพยากรอย่างสมเหตุผล
5.3.4 มีความสามารถทางทักษะด้านอื่นๆ เช่น ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ ใช้โปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Software literacy) เป็นต้น
5.4 ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and communication Skills)
5.4.1 มีทักษะการนำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
5.4.2 สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะให้บุคลากรทางการแพทย์
5.4.3 มีทักษะการสื่อสารให้ข้อมูลแก่ญาติและผู้ป่วย ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีเมตตา เคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5.4.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับเพื่อนร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ
5.4.5 มีทักษะการเป็นที่ปรึกษา และให้คำแนะนำแก่แพทย์ต่างแผนก และบุคลากรอื่น
5.5 ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
5.5.1 มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงานเพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน
5.5.2 มีความสนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (Continuous professional development)
5.5.3 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย และ คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
5.6 การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based practice)
5.6.1 มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพและระบบยาของประเทศ
5.6.2 มีความรู้และมีส่วนร่วมในพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
5.6.3 มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย
5.6.4 มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสิทธิผู้ป่วย
5.6.5 สามารถใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสมและสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการ บริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
6. แผนฝึกอบรม/หลักสูตร
มีคณะกรรมการการศึกษาหลังปริญญาดูแล กำกับ ประเมินแผนการฝึกอบรม/หลักสูตรให้ดำเนินไปตามเป้าประสงค์ที่วางไว้
6.1. วิธีการให้การฝึกอบรม
การจัดการฝึกอบรมตลอดระยะเวลาฝึกอบรม 4 ปี การศึกษานั้นให้จัดการฝึกอบรมดังนี้
ปีที่ 1 ผ่านการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ชั้นปีที่ 1 (ตามหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา 2560)
ปีที่ 2 - 4 ฝึกอบรมในสาขาตจวิทยาจำนวน 3 ปี สำหรับการฝึกอบรมในสาขาตจวิทยา ต้องได้รับการฝึกอบรมในหัวข้อดังต่อไปนี้
6.1.1 สมรรถนะการดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient care)
การดูแลรักษาผู้ป่วยนอก
- แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 ปฏิบัติงานในภาควิชาอายุรศาสตร์ ดูแลผู้ป่วยนอกในแผนกอายุรศาสตร์อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เช่นเดียวกับแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ชั้นปีที่ 1
- แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2-4 ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยนอกทางตจวิทยาอย่างน้อยรวม 750 ชั่วโมงต่อการฝึกอบรมตลอดหลักสูตรโดย
o แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2 -3 ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยนอกอย่างน้อย 300 ชั่วโมงต่อปี
o แพทย์ประจำบ้านปีที่ 4 ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยนอกอย่างน้อย 150 ชั่วโมงต่อปี
- จัดการเรียนการสอนเฉพาะทางโรคต่างๆ เช่น leprosy, sexually transmitted diseases, photodermatology, immunodermatology, dermatopathology, contact dermatitis, genetic diseases, pediatric dermatology, laser and cosmetic dermatology
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
การดูแลรักษาผู้ป่วยใน
- แพทย์ประจำบ้านตจวิทยาปีที่ 1 ปฏิบัติงานในภาควิชาอายุรศาสตร์ดูแลผู้ป่วยในในแผนกอายุรศาสตร์ รวมทั้งห้องฉุกเฉินและหอผู้ป่วยวิกฤติในความควบคุมของอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรมเช่นเดียวกับแพทย์ประจำบ้าน
อายุรศาสตร์ชั้นปีที่ 1
- แพทย์ประจำบ้านบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยในได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
6.1.2 ความรู้ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วย (Medical knowledge and Skills)
- แพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานประยุกต์ (Correlated basic medical science)
- แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2-4 เรียนรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานประยุกต์ (Correlated basic dermatological science) ที่จัดโดยสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
- แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2-4 เรียนและปฏิบัติงานในสาขาวิชาเฉพาะทางต่าง ๆ ของตจวิทยา
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี เข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ เช่น grand round, clinicopathological conference, journal club, research forum และ การประชุมวิชาการ เป็นต้น
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับหัตถการ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษต่าง ๆ ที่ใช้ในตจวิทยา
6.1.3 การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-based Learning)
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีมีประสบการณ์การเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมสหวิชาชีพ
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี ปฎิบัติงานสอนนักศึกษาแพทย์ และ แพทย์ประจำบ้านรุ่นน้อง
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี ต้องทำงานวิจัยและมีทักษะในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น การเขียนขอทุนงานวิจัย การทำงานวิจัยโดยเป็นผู้วิจัยหลัก และมีความรู้ของการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เช่น SPSS, Excel เป็นต้น
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี บันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
- แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2-4 ให้การประเมินและวางแผนการรักษาแก่ผู้ป่วยต่างแผนกได้ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
- แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2-4 รักษาผู้ป่วยบนหลักการของการใช้ยาและทรัพยากรอย่างสมเหตุสมผล
6.1.4 ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills)
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี สามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ผู้ป่วยและญาติ
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี มีทักษะปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารที่ดีกับผู้ร่วมงาน รวมถึงแพทย์ต่างแผนกที่มาปรึกษาเคส
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี ปฏิบัติงานสอนนักศึกษาแพทย์ และแพทย์ประจำบ้านรุ่นน้อง
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี นำเสนอข้อมูลผู้ป่วยและอภิปรายปัญหาในกิจกรรมวิชาการ เช่น grand round, clinicopathological conference เป็นต้น
6.1.5 ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี เข้าร่วมกิจกรรมการให้ความรู้ทางด้านบูรณาการทางการแพทย์
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี พัฒนาให้มีเจตคติที่ดีระหว่างการปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยรวมถึงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง จริยธรรมทางการแพทย์
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี ต้องทำงานวิจัยโดยเป็นผู้วิจัยหลัก
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี เรียนรู้เพื่อให้มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
6.1.6 การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based practice)
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี มีประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับระบบคุณภาพของโรงพยาบาล ระบบความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมทั้งสิทธิผู้ป่วย
- แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี มีประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดูแลรักษา หลักการบริหารจัดการ ระบบสุขภาพและระบบยาของประเทศ
การจัดการฝึกอบรมตลอด 4 ปี การศึกษานั้นให้จัดการฝึกอบรม ดังนี้
- จัดการฝึกอบรมปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยนอกทางตจวิทยาอย่างน้อยรวม 750 ชั่วโมงต่อการฝึกอบรมตลอดหลักสูตรจัดการฝึกอบรมปฏิบัติงานในสาขาเฉพาะทางด้านต่างๆ เช่น leprosy, sexually transmitted diseases, photodermatology, immunodermatology, dermatopathology, contact dermatitis, genetic disease, pediatric dermatology, laser and cosmetic dermatology เป็นต้น
- สาขาวิชาโรคผิวหนัง รพ. รามาธิบดีจัดให้มีวิชาเลือกได้ไม่เกิน 3 เดือนตลอดหลักสูตร โดยให้เลือกไปปฏิบัติงานตามที่สถาบันฝึกอบรมเห็นสมควรและได้รับการรับรองจากแพทยสภา
- จัดให้มีประสบการณ์การเรียนรู้ entrustable professional activities (EPA) ตามที่กำหนด
- จัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- จัดการฝึกอบรมภายใต้สภาวะการทำงานที่เหมาะสม ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
6.2 เนื้อหาของการฝึกอบรม/หลักสูตรต้องครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
6.2.1 ความรู้พื้นฐาน
6.2.2 โรคหรือภาวะต่าง ๆ
6.2.3 การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและการแปลผล
6.2.4 หัตถการต่าง ๆ
6.2.5 การทำวิจัย โดยฝึกอบรมระเบียบวิธีวิจัย (Research methodology) ความเชื่อถือได้และจุดอ่อนของการศึกษาแบบต่างๆ การวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การประเมินความคุ้มค่า
6.2.6 ความรู้ด้านบูรณาการ
6.3 การทำงานวิจัย
แพทย์ประจำ บ้านต้องทำ งานวิจัย อย่างน้อย 1 เรื่อง ได้แก่ retrospective, prospective, cross sectional, systematic review หรือ meta-analysis ในระหว่างการปฏิบัติงาน 3 ปี โดยเป็นผู้วิจัยหลักหรือผู้นิพนธ์หลัก งานวิจัยดังกล่าว ต้องประกอบด้วยหัวข้อหลักดังนี้
(1) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
(2) วิธีการวิจัย
(3) ผลการวิจัย
(4) การวิจารณ์ผลการวิจัย
(5) บทคัดย่อ

 

จุดประสงค์ : เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมเพื่อเป็นผู้มีความรู้ความชานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาตจวิทยาแล้ว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถปฏิบัติงานด้านสาขาตจวิทยาได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพในโรงพยาบาล สถาบันการศึกษา หรือสถาบันอื่น

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน 2562 (มคว.2)