You are here

งานเวชระเบียน

เกี่ยวกับงานเวชระเบียน

 
      คำว่า "เวชระเบียน" กำเนิดที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยการเสนอของนายแพทย์ศิริพัฒน์ วัฒนเกษตร อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญงานด้านสถิติ ซึ่งได้แปลคำว่า "Medical Record" ว่า "เวชระเบียน" ตามพจนานุกรมคำ "Medical" ตรงกับศัพท์ภาษาบาลีว่า "เวช" แปลว่า "แพทย์" ส่วนคำว่า "Record" ตรงกับศัพท์เขมรว่า "ทะเบียน" แปลว่า "บันทึก" เมื่อนำ 2 คำมารวมกัน คือ เวช + ทะเบียน เป็นเวชทะเบียนแล้วออกเสียงไม่สะดวก จึงใช้คำว่า "เวชระเบียน" ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันคือ "บันทึกของแพทย์"
 
      ดังนั้นคำว่า "เวชระเบียน" จึงเริ่มใช้เป็นแห่งแรกที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นที่รับรองให้ใช้โดยคณะกรรมการของคณะฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา และแพร่หลายออกไปนอกคณะฯ กว้างขวางยิ่งขึ้นจนกระทั่งเป็นที่รู้จักและใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน และคงจะใช้คำนี้ตลอดไปเนื่องจากเป็นคำที่ถูกต้อง เหมาะสมกับต้นศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นสากลนิยม
 
 
 
ความสำคัญของเวชระเบียน...
     เวชระเบียนเป็นสาขาหนึ่งทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์ เป็นสาขาที่มีความเข้าใจแตกต่างกันพอสมควร เพราะโดยความหมายแล้ว ก็เป็นระเบียนทางการแพทย์ ซึ่งมีความหมายกว้างเหลือเกิน อะไรก็ตามที่มีการบันทึกในทางการแพทย์ก็เป็นเวชระเบียนทั้งหมด งานที่ติดตามมาหลังจากมีการบันทึกจึงเป็นงานที่สำคัญยิ่งในระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะการติดตามการรักษา การดูมาตราฐานการรักษา การดูประสิทธิภาพการรักษาจึงสามารถดูได้จากเวชระเบียนทั้งสิน ด้วยความสำคัญในลักษณะนี้ เวชระเบียนจึงเป็นหัวใจของงานการแพทย์โดยปริยาย
     เวชระเบียน (Medical Record) คือ หัวใจของงานทางการแพทย์ ภายในเล่มเวชระเบียน แต่ละเล่มมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ประกอบด้วยบันทึกรายงานทั้งหมดของแพทย์ที่ตรวจรักษาผู้ป่วย พยาบาลที่ให้การพยาบาลตามคำสั่งแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการทดลองต่าง ๆ ให้แก้ผู้ป่วยตามคำสั่งแพทย์ รวมถึงเอกสารที่บันทึกข้อมูลที่สำคัญและสิ่งที่ได้ปฏิบัติงานไป เป็นข้อมูลเพื่อนำมาคิดค่าสถิติต่าง ๆ เป็นเอกสารประกอบการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานของรัฐ หรือบริษัทประกันชีวิต เป็นพยานเอกสารในทางกฎหมาย...
 
ความเป็นมา...
     โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้เปิดดำเนินการให้บริการผู้ป่วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 แรกเริ่มเปิดบริการงานเวชระเบียนใช้ชื่อ หน่วยเวชระเบียน โดยมีสถานที่ตั้งอยู่ปีกขวาด้านหน้าของโรงพยาบาล อาคาร 1 ชั้น 1 และชั้น 2 ต่อมาปี พ.ศ. 2533 ได้ขยายสถานที่ทำการเพิ่มขึ้นไป อยู่ที่อาคาร 2 ชั้นใต้ดินและชั้น 1 และในปีพ.ศ. 2530 ได้รับอนุมัติจากคณะฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น งานเวชระเบียน
    ตั้งแต่ พ.ศ. 2511 - 2517 คณะฯ ได้ติดต่อคุณชยะพร  เมืองแมน ซึ่งมีความรู้ในเรื่อง Medical Record Administration จากประเทศสหรัฐอเมริกา มาเป็นหัวหน้าหน่วยเวชระเบียน และเป็นผู้วางแผนการจัดโครงสร้างคนแรกของของงานเวชระเบียนตามนโยบายหลักของคณะฯ ที่ต้องการให้ผู้ป่วยหนึ่งคน มีเลขประจำตัวผู้ป่วยเพียงชุดเดียว และจัดเก็บใบรายงานผู้ป่วยนอก และใบรายงานผู้ป่วยในอยู่ในเล่มเวชระเบียนเดียวกัน
 
 
พันธกิจ...
     งานเวชระเบียน เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนภารกิจของคณะฯ ด้านการให้บริการเวชระเบียนแก่ผู้ป่วยในการรักษาพยาบาล และสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ ด้านการศึกษาค้นคว้าและวิจัย โดยใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมเป็นระบบ และเป็นแหล่งข้อมูลทางการแพทย์ที่สำคัญ รวมถึงพัฒนาระบบการให้บริการทีทันสมัยตามความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ระดับสากล โดยมีเป้าหมายให้ผู้รับบริการได้รับเวชระเบียนที่ถูกต้อง สมบูรณ์ รวดเร็ว และทันเวลา นอกจากนี้ ยังมีวิสัยทัศน์ในการให้บริการระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถเชื่อมโยงระบบเครือข่ายสารสนเทศได้ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ของคณะฯ ที่จะเป็นคณะแพทยศาสตร์ชั้นนำในภูมิภาคเอเซีย และเป็นประทีปส่งทางด้านสุขภาพของเทศ
     ปัจจุบันงานเวชระเบียนมีภาระงานในการจัดทำเวชระเบียนสำหรับผู้ป่วยทุกราย ในการรักษาพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งมีข้อมูลและรายละเอียดประวัติผู้ป่วยเพียงพอ เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่ดีระหว่างทีมงานผู้ให้บริการ รวมทั้งมีระบบการรักษาความลับของข้อมูลผู้ป่วย และทำลายเล่ม เวชระเบียนเมื่อถึงเกณฑ์ทำลาย
 
 
ที่มา : คู่มือระบบเวชระเบียน
 
 

ติดต่อเวชระเบียน

  • หน่วยลงทะเบียน อาคาร 1 ชั้น 1 โทร 02-201-1238  

ผู้ป่วยใหม่คลินิกในเวลาราชการ

 - วันจันทร์ - ศุกร์  : 06.00 - 15.00 น.

ผู้ป่วยใหม่คลินิกนอกเวลาราชการ

 - วันจันทร์ - ศุกร์ : 15.00 - 20.00 น.

 - วันเสาร์ : 07.00 - 16.00 น.

 - วันอาทิตย์ : 07.00 - 12.00 น.

  • หน่วยลงทะเบียน อาคารอุบัติเหตุและเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ชั้น 1 โทร 02-201-1724

ทั้งผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยเก่า

 - ให้ติดต่อที่หน่วยลงทะเบียนฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชั่วโมง

  • หน่วยลงทะเบียน ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ ชั้น 1 โทร 02-200-4013 , 4015

ผู้ป่วยใหม่คลินิกในเวลาราชการ 

  - วันจันทร์ - ศุกร์  : 06.00 - 15.00 น.

ผู้ป่วยใหม่คลินิกนอกเวลาราชการ 

 - วันจันทร์ - ศุกร์ :15.00 - 20.00 น.

 - วันเสาร์ - วันอาทิตย์ : 07.00 - 16.00 น.

  • โครงการเบิกจ่ายตรง โทร 02-201-1120

 

โครงการเบิกจ่ายตรง กรมบัญชีกลาง
ผู้ที่มีสิทธิ/เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียน/สถานที่รับลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ/คำแนะนำสำหรับผู้ที่ไม่มีชื่อในฐานข้อมูล

ผู้มีสิทธิ

ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการระบบจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล คือ ผู้ป่วยที่มีสถานะเป็น

-  ข้าราชการ
-  ลูกจ้างประจำ
-  ผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญ  ที่มีสิทธิได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
-  บุคคลในครอบครัวของบุคคลดังกล่าวข้างต้น (บิดา มารดา คู่สมรส และบุตร 3 คน) 

 

เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียนเข้าสู่ระบบจ่ายตรงสำหรับผู้ป่วยนอก

1.  บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
2.  บัตรประจำตัวผู้ป่วย (กรณียังไม่เคยมีบัตรโรงพยาบาล ติดต่อขอลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยใหม่ได้ที่ หน่วยลงทะเบียน หน่วยลงทะเบียน อาคาร 1 ชั้น 1 หรือศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ งานเวชระเบียน ชั้น 1 ทุกวันราชการ ตั้งแต่เวลา 07.00-15.00 น.)
3.  สำหรับครอบครัวของผู้มีสิทธิ์ที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี  ใช้สูติบัตร/ทะเบียนบ้าน/บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)

 

สถานที่รับลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ

1.  หน่วยลงทะเบียน งานเวชระเบียน อาคาร 1 ชั้น 1 ช่องหมายเลข 8 โทร. 0-2201-1120, 1238
           - วันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา  07.00 - 15.00 น.
           - วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา  07.00 - 16.00 น. 

2.  ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ หน่วยลงทะเบียน งานเวชระเบียน ชั้น 1 ช่องหมายเลข 9 โทร 0-2200-4013-15
           - วันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา  07.00 - 15.00 น.
           - วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา  07.00 - 16.00 น. 

*** (หยุดทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันอาทิตย์) ***

 

ขั้นตอนการลงทะเบียนสแกนลายนิ้วมือเข้าร่วมโครงการเบิกจ่ายตรงฯ

1.  ผู้ป่วยแจ้งความประสงค์ในการสมัครเข้าร่วมโครงการเบิกจ่ายตรง  พร้อมยื่นบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) และบัตรโรงพยาบาล
2.  เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิทธิจากฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ ของกรมบัญชีกลาง / กรุงเทพมหานคร / องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น / สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

-  พบชื่อ - เจ้าหน้าที่พิมพ์ใบสมัคร
ไม่พบชื่อ - ผู้ป่วยต้องกลับไปติดต่อนายทะเบียนของส่วนราชการที่ต้นสังกัดอยู่  เพื่อปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ ของกรมบัญชีกลาง / กรุงเทพมหานคร / องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น / สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หลังจากมีชื่อในฐานข้อมูลฯ แล้ว จึงจะสามารถทำการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้

3.  เจ้าหน้าที่เรียกชื่อผู้ป่วยรับใบสมัคร  เพื่อกรอกข้อมูล หมายเลขเบอร์โทรศัพท์  พร้อมลงลายมือชื่อผู้สมัคร  และผู้รับยาแทน (ถ้ามี) ลงในใบสมัคร  และนำใบสมัครไปชำระเงินค่าลงทะเบียน 50 บาท  ที่การเงิน
4.  ผู้ป่วยคืนใบสมัครให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบความครบถ้วน ถูกต้องของข้อมูล และบันทึกข้อมูลลงในระบบ ก่อนเรียกชื่อผู้ป่วย  เพื่อสแกนลายนิ้วมือให้ผู้ป่วยและผู้รับยาแทน (ถ้ามี)
5.  ผู้ป่วยและผู้รับยาแทน (ถ้ามี) สแกนลายนิ้วมือ เมื่อเจ้าหน้าที่เรียกชื่อ
6.  ผู้ป่วยรับบัตรโรงพยาบาลและบัตรประจำตัวประชาชนคืนจากเจ้าหน้าที่ พร้อมรับฟังคำแนะนำการใช้สิทธิจากเจ้าหน้าที่
7.  ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงได้หลังจากลงทะเบียนสแกนลายนิ้วมือแล้วประมาณ 20 วัน

 

คำแนะนำสำหรับผู้ที่ไม่มีชื่อในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐของกรมบัญชีกลาง / กรุงเทพมหานคร / องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น / สำนักคณะกรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1.  ติดต่อนายทะเบียนของส่วนราชการที่ตนสังกัดอยู่  เพื่อทำการปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลให้สมบูรณ์ ถูกต้อง
2.  กรณีผู้ป่วยเป็นผู้อาศัยสิทธิจะต้องแจ้งผู้มีสิทธิให้ไปติดต่อนายทะเบียนของส่วนราชการที่ตนสังกัดอยู่  เพื่อดำเนินการตามข้อ 1
3.  หลังจากมีชื่อในฐานข้อมูลฯ ถูกต้องแล้ว  จึงจะสามารถลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการเบิกจ่ายตรงฯ  ในสถานพยาบาลของทางราชการได้ทุกแห่ง
4.  กรมบัญชีกลางจะปรับปรุงข้อมูลที่สมบูรณ์แล้วทุก 15 วัน (วันที่ 4 และ 18 ของเดือน)

 

ข้อควรทราบ

           1.  ผู้มีสิทธิสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยนอกได้มากกว่า 1 โรงพยาบาล  โดยไม่จำกัดโรงพยาบาลที่จะสมัคร
           2.  ข้าราชการที่ไปทำงาน Part-Time ทำให้มีสิทธิประกันสังคมด้วย  จะเกิดสิทธิซ้ำซ้อน  ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการเบิกจ่ายตรงฯ ได้  ส่วนบุคคลในครอบครัวยังสามารถใช้สิทธิเบิกค่ารักษาจากทางราชการได้โดยไม่ถูกระงับสิทธิ
           3.  กรณีผู้ป่วยในที่มีฐานข้อมูลสมบูรณ์แล้ว  ผู้มีสิทธิ์ไม่ต้องขอหนังสือจากต้นสังกัด สามารถติดต่อหน่วยลงทะเบียนผู้ป่วยใน ชั้น 1 อาคาร 1

 

คำแนะในการใช้สิทธิ

           1 กรณีที่ผู้ป่วยมาติดต่อด้วยตัวเอง
                - แสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้
                - ยื่นบัตรประจำตัวผู้ป่วยที่ทางโรงพยาบาลรามาธิบดีออกให้
           2. กรณีให้ผู้อื่นมารับยาแทน
                - แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ ของผู้รับยาแทน
                - แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายของผู้ป่วยที่ทางราชการออกให้ พร้อมบัตรประจำตัวผู้ป่วยที่โรงพยาบาลออกให้
                - ผู้มารับยาแทน เขียนชื่อ-นามสกุล ตัวบรรจงในใบสั่งยาเมื่อมีการรับยา

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

งานเวชระเบียน โทร. 0-2201-1120, 0-2200-4013-15 ทุกวันราชการระหว่างเวลา 07.00-15.00 น.
กลุ่มงานสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (กสพ.) กรมบัญชีกลาง  โทร. 0-2127-7000 ต่อ 4100 www.cgd.go.th
กรุงเทพมหานคร โทร. 0-2224-4681 หรือ 0-2221-2141-69 ต่อ 1663

 

 

ติดต่อขอถ่ายประวัติการรักษาพยาบาล
ขอถ่ายประวัติการรักษา/สถานที่ให้บริการ/เวลา
 

ารขอถ่ายเอกสารข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาล

 

คณะฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การถ่ายเอกสารข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาลในเวชระเบียนผู้ป่วยไว้ดังนี้

1.  กรณีผู้ป่วยมาขอถ่ายเอกสารข้อมูลประวัติในเวชระเบียนผู็ป่วยด้วยตนเอง

  • ขอถ่ายเอกสารในขณะที่แพทย์ทำการตรวจรักษาผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยขออนุญาตถ่ายเอกสารต่อแพทย์ผู้ทำการรักษา หากแพทย์ผู้ทำการรักษาเห็นว่าผู้ขออนุญาตเป็นเจ้าของข้อมูล ให้แพทย์สั่งอนุญาตให้ถ่ายเอกสาร ให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้ถือเวชระเบียนผู้ป่วย เพื่อนำไปถ่ายเอกสารที่งานเวชระเบียน เฉพาะของแพทย์ผู้อนุญาตเท่านั้น
  • ขอถ่ายเอกสารในเวลาอื่นที่ไม่ใช่ขณะที่แพทย์ทำการตรวจรักษาผู้ป่วย ให้ยื่นคำร้องขอต่องานบริหารโรงพยาบาลรามาธิบดี และงานผู้ป่วยสัมพันธ์อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ โดยแนบบัตรประจำตัวผู้ป่วยและบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ พร้อมสำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้อง

2.  กรณีที่ผู้ป่วยมิได้มาขอถ่ายเอกสารข้อมูลประวัติในเวชระเบียนผู้ป่วยด้วยตนเอง โดยมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนให้ยื่นคำขอต่องานบริหารโรงพยาบาลรามาธิบดีหรืองานผู้ป่วยสัมพันธ์อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ โดยแนบเอกสาร ดังต่อไปนี้

  • หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของข้อมูล
  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ของผู้ดำนินการแทน พร้อมสำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้อง

3.  กรณีเจ้าของข้อมูลถึงแก่กรรม ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิในการขอถ่ายเอกสารข้อมูลประวัติในเวชระเบียนผู้ป่วยได้ ไม่ว่าผู้มีสิทธิขอถ่ายเอกสารคนอื่นๆ จะมีความเห็นเช่นใด

  • บุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรม
  • คู่สมรส
  • บิดา หรือมารดา
  • ผู้สืบสันดาน
  • พี่น้องร่วมบิดา - มารดา

ให้ผู้มีสิทธิขอเอกสารตามแล้วแต่กรณี ยื่นคำร้องขำอนุญาตถ่ายเอกสารต่อผู้อำนวยการโรงพยาบาล โดยให้แนบใบมรณะบัตรของเจ้าของข้อมูล พร้อมสำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้องและเอกสารดังต่อไปนี้ พร้อมกับคำร้อง

-  กรณีผู้ขอถ่ายเอกสารเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของข้อมูล ให้แนบบัตรประชาชนของบุตร และทะเบียนบ้านของบุตร พร้อมสำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้อง

-  กรณีผู้ขอถ่ายเอกสารเป็นคู่สมรส ให้แนบทะเบียนสมรสและบัตรประชาชนของคู่สมรส พร้อมสำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้อง

-  กรณีผู้ขอถ่ายเอกสารเป็นบิดาหรือมารดาของเจ้าของข้อมูลให้แนบบัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดา และทะเบียนบ้านของเจ้าของข้อมูลพร้อมสำเนาถูกต้อง

-  กรณีผู้ขอถ่ายเอกสารเป็นผู้สืบสันดานของเจ้าของข้อมูล ให้แนบบัตรประจำตัวประชาชนของผู้สืบสันดาน ทะเบียนบ้านของผู้สืบสันดาน และทะเบียนบ้านของบุพการีของผู้สืบสันดานสืบเนื่องขึ้นไปโดยไม่ขาดสายจนถึง สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรของเจ้าของข้อมูล

-  กรณีผู้ขอถ่ายเอกสารเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของเจ้าของข้อมูล ให้แนบบัตรประชาชน และทะเบียนบ้านของพี่น้องร่วมบิดามารดา และทะเบียนบ้านของเจ้าของข้อมูล พร้อมสำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้อง

4.  ในกรณีอันจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของเจ้าของข้อมูล เช่น การนำข้อมูลไปใช้ในการรักษาต่อในสถานพยาบาลอื่นและมิใช่เป็นกรณีตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ให้ยื่นคำร้องขออนุญาตถ่ายเอกสารต่อผู้อำนวยการโรงพยาบาล โดยแนบคำรับรองของแพทย์ผู้ทำการรักษาต่อด้วย

5. ผู้ขอถ่ายเอกสารจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถ่ายเอกสารข้อมูลประวัติในเวชระเบียนในอัตราที่กำหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เรื่อง การเรียกค่าธรรมเนียมการขอสำเนา หรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารทางราชการ

6. การขอสำเนาประวัติเร่งด่วนช่วงเวลา 08.00 - 24.00 น. โดยผ่านอนุมัติจากหน่วยส่งต่อ (Referral Unit) และเวลา 24.00-08.00 น. ผ่านการอนุมัติจากหน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เพื่อขอประวัติการรักษาด่วนกับโรงพยาบาลรามาธิบดีโดยใช้แบบฟอร์มการตรวจสอบในการให้ประวัติการรักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน เมื่อเรียบร้อยแล้ว Scan แบบฟอร์มดังกล่าวที่บันทึกการขอประวัติเข้าระบบเพื่อเป็นหลักฐานการขอข้อมูล ฟอร์มส่งให้งานบริหารโรงพยาบาลต่อไป

- กรณีขอถ่ายเอกสารข้อมูลประวัติในเวชระเบียนซึ่งมีคำรับรองถูกต้อง ให้คิดค่าธรรมเนียมการรับรองในอัตราตามประกาศของคณะฯ - ผู้รับบริการที่ประสงค์จะขอประวัติการรักษาพยาบาลไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่น ติดต่อที่งานบริหารโรงพยาบาลรามาธิบดีอาคารเรียนรวม ชั้น 2 - งานผู้ป่วยสัมพันธ์ชั้น 1 ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ วันจันทร์ - ศุกร์ : เวลา 07.00 - 15.00 น. โทร. 02-200-4021 พร้อมหลักฐานประกอบการแก้ไขที่ถูกต้องชัดเจนสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-200-4013-5, 02-200-3022

 

 

 
เกณฑ์พิจารณารับรองสิทธิ
การพิจารณารับรองสิทธิราคาคนไทยในผู้ป่วยชาวต่างชาติ

 

หลักเกณฑ์การพิจารณารับรองสิทธิราคาคนไทยในผู้ป่วยชาวต่างชาติ (Non-Resident) ที่ตรวจรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

เอกสารที่เกี่ยวข้องดั้งนี้

1.  ทะเบียนสมรส

    1.1  ทะเบียนสมรส (ฉบับจริง) กรณีจดทะเบียนสมรสกับคนไทย (ในประเทศไทย)
    1.2  ทะเบียนสมรส (ฉบับจริง) กรณีจดทะเบียนที่ต่างประเทศต้องมีฉบับแปล และรับรองการแปลโดยสถานกงสุลของประเทศนั้นๆ 

2.  มีรายชื่อในทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงิน (เล่มจริงเท่านั้น) (รายชื่อในทะเบียนบ้านสีเหลืองไม่สามารถใช้สิทธิได้)
3.  หลักฐานการเสียภาษีในประเทศไทย (ฉบับจริง) (สลิปหลักฐานการจ่ายภาษี และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีในปีที่เป็นปัจจุบัน)
4.  มีสิทธิประกันสังคม, สิทธิประกันสุขภาพ หรือสิทธิราชการ กรณีสมรสกับคนไทยที่สถานะภาพเป็นราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ (ทุกประเภทสิทธิ ต้องผ่านการตรวจสอบจากหน้าเวปไซค์แต่ละประเภทเพื่อให้ทราบสิทธิที่เป็นปัจจุบัน)

4.1  กรณีผู้ป่วยผู้รับบริการต้องการ ใช้สิทธิราชการ ตามสิทธิคู่สมรส
       4.1.1  สแกนลายนิ้วมือ เพื่อทำสิทธิ จ่ายตรง ที่งานเวชระเบียน เคาเตอร์หมายเลข 6 อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ และหน่วยลงทะเบียนบัตรใหม่ อาคารหลัก ตั้งแต่เวลา 07.00 - 15.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
       4.1.2  กรณีผู้รับบริการไม่ต้องการทำสิทธิจ่ายตรง ชำระค่ารักษาพยาบาลเอง และให้คู่สมรสนำใบเสร็จตั้งเบิกในระบบเดิม

4.2  กรณีผู้รับบริการต้องการใช้สิทธิประกันสังคมที่ตนเองมีสิทธิ
       4.2.1  กรณีผู้รับบริการมี สิทธิประกันสังคม สังกัดโรงพยาบาลรามาธิบดี สามารถใช้ สิทธิการรักษาพยาบาลได้ 
       4.2.2  กรณีผู้รับบริการมีสิทธิประกันสังคมโรงพยาบาลอื่น (นอกเขต) และต้องการใช้สิทธิการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ต้องมีเอกสารส่งตัวโดยรับผิดชอบจากโรงพยาบาลต้นสังกัด ส่งเอกสารส่งตัวและเอกสารระบุตัวตนของผู้รับบริการ พร้อมแนะนำติดต่อเจ้าหน้าที่หน่วยสิทธิประโยชน์ฯ เพื่อปรับเปลี่ยนและระบุประเภทการใช้สิทธิในระบบฯ เป็นกรณี
                4.2.2.1  รับรองสิทธิ กรณี (ผู้ป่วยประกันสังคม ส่งต่อ (นอกเขต))
                4.2.2.2  รับรองราคาคนไทย  (เงินสด v.) กรณีผู้รับบริการชำระค่ารักษาพยาบาลเอง

4.3  กรณีผู้รับบริการมีสิทธิประกันสุขภาพในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งระบุชื่อสถานพยาบาลในบัตรประกันสุขภาพแบ่งเป็น 2 กรณี
       4.3.1  ต้องการใช้สิทธิ ผู้รับบริการฯ ต้องมีเอกสารส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัด โดยรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น (เจ้าหน้าที่เวชระเบียนระบุสิทธิ Non-Residen V. ในระบบฯ เบื้องต้น ส่งเอกสารและผู้รับบริการ ติดต่อหน่วยสิทธิประโยชน์ฯ)
       4.3.2  ไม่ต้องการใช้สิทธิ (เจ้าหน้าที่เวชระเบียนระบุสิทธิ Non-Residen V. ในระบบฯ) ผู้รับบริการชำระค่ารักษาพยาบาลเอง

5.  กรณีผู้รับบริการเกิดที่ประเทศไทย (คลอด) แบ่งเป็น 2 กรณี

5.1  กรณีบิดา - มารดา คนใดคนหนึ่งมีสัญชาติไทยแต่บุตรยังไม่ได้เลือกสัญชาติผู้รับบริการฯ สามารถใช้สิทธิการรักษาพยาบาลเป็นราคาคนไทยได้ (เจ้าหน้าที่เวชระเบียนไม่ได้ระบุสิทธิ)
5.2  กรณีบิดา - มารดา ทั้ง 2 คน ไม่ได้ถือสัญชาติไทย ผู้รับบริการฯ ไม่สามารถใช้สิทธิการรักษาพยาบาลเป็นราคาคนไทยได้ (เจ้าหน้าที่เวชระเบียนระบุสิทธิ Non-Residen V. ในระบบฯ)

หมายเหตุ

1. กรณีผู้ป่วยนอก หากเกิดการรับรองกรณี (เงินสด V. ราคาคนไทย ในระบบแล้วผู้รับบริการสามารถใช้สิทธิได้ตลอดไป)
2. กรณีผู้ป่วยใน จากการสรุปข้อปฏิบัติในที่ประชุม ณ. อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ให้ ตรวจสอบสถานะการใช้สิทธิฯ ทุกครั้งที่เป็นกรณีผู้ป่วยใน
3. การพิจารณาสิทธิทุกประเภทต้องมีเอกสารระบุตัวตนทุกครั้ง เช่น พาสปอร์ต เป็นต้น

 หน่วยสิทธิประโยชน์ผู้รับบริการ งานบริหารการรักษาพยาบาล
 อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ โทร. 02-200-4016-7 เวลา 06.00 - 16.00 น.
อาคารหลัก โทร. 02-201-1362-3 เวลา 06.00 - 23.00 น.

 

ข้อควรทราบ

  • ผู้มีสิทธิ์สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยนอกได้มากกว่า 1 โรงพยาบาล โดยไม่จำกัดโรงพยาบาลที่จะสมัคร
  • ข้าราชการที่ไปทำงาน Part-time ทำให้มีสิทธิประกันสังคมด้วย จะเกิดสิทธิซ้ำซ้อน ไม่สามาถเข้าร่วมโครงการเบิกจ่ายตรงได้ ส่วนบุคคลในครอบครัว
    ยังสามารถใช้สิทธิ์เบิกค่ารักษาจากทางราชการได้โดยไม่ถูกระงับสิทธิ์
  • กรณีผู้ป่วยในที่มีฐานข้อมูลสมบูรณ์แล้ว ผู้มีสิทธิ์ไม่ต้องขอหนังสือจากต้นสังกัด สามารถติดต่อได้ที่หน่วยรับผู้ป่วยใน อาคาร 1 ชั้น 2

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 

  • ทุกวันเวลาราชการ วันจันทร์ - ศุกร์ : เวลา 07.00 - 15.00 น.  
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี อาคาร 1 ชั้น 1 โทรศัพท์ 02-201-1120
  •  ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ ชั้น 1 โทรศัพท์ 02-200-4013 , 4015
  •  ธุรการ งานเวชระเบียน 02-200-3022, 4020

 

  ติดต่องานเวชระเบียน

  • งานเวชระเบียน อาคาร 1 ชั้น 1 โทร 02-201-1238 , 1120

    - จันทร์ - ศุกร์ : 06.00 - 23.00 น. | เสาร์ - อาทิตย์ : 07.00 - 23.00 น. | วันหยุดนักขัตฤกษ์ : 07.00 - 23.00 น.

  • งานเวชระเบียน ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ ชั้น 1 โทร 02-200-4013 , 4015

    - จันทร์ - ศุกร์ : 06:00 - 20.00 น. | เสาร์ - อาทิตย์ : 07.00 - 16.00 น. | วันหยุดนักขัตฤกษ์ : 07.00 - 16.00 น.