พันธกิจ/วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์
ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มุ่งมั่นที่จะเป็นสถาบันทางการแพทย์ในสาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ชั้นนำของประเทศและมีคุณภาพในระดับแนวหน้าของเอเซีย
 
พันธกิจ
ภาควิชาออร์โธปิดิกส์มีพันธกิจร่วมกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีในการจัดการศึกษา เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาแพทยศาสตร์ และผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ ที่มีความสามารถในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการแพทย์มาเพื่อให้บริการทางการแพทย์และวิชาการ รวมทั้งรณรงค์และชี้นำสังคมด้านสุขภาพอนามัย เพื่อพัฒนาสาธารณสุขของประเทศ ทั้งนี้ภาควิชาออร์โธปิดิคส์ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาและฝึกอบรม รวมถึงสร้างสรรค์การวิจัยเพื่อ เป็นองค์ความรู้เป็นอันดับแรกและมุ่งเน้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริง ส่วนงานบริการทางการแพทย์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การบริการที่มีคุณภาพในระดับสากลและเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนนวัตกรรมอันจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา และการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ระบบบริการของประเทศ
 
โครงการที่ดำเนินการของภาควิชาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
เพื่อการพัฒนาของภาควิชาอย่างต่อเนื่อง ทางภาควิชาได้จัดตั้งโครงการ Gait Lab เพื่อ มุ่งบริการ และการวิจัยให้กับผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ ได้รับการตรวจรักษา เพื่อคุณภาพของงานการบริการ และงานวิจัยต่างๆของภาควิชา ทางด้านการศึกษาภาควิชาได้เป็นผู้นำ พัฒนาระบบ E-Learning เข้ามาใช้ในการสอนนักศึกษาแพทย์ จะเห็นได้ว่าทางภาควิชาออร์โธปิดิกส์รามาธิบดีมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ ด้านไม่ว่า งานบริการ งานวิจัย รวมถึงด้านการศึกษา
 

มิติที่ 1: วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / นโยบาย

 

วิธีการที่ได้มาของพันธกิจและวิสัยทัศน์
     เกิดจากการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันของคณะฯในปี พ.ศ. 2545 ว่า “เป็นคณะแพทยศาสตร์ชั้นนำของประเทศและมีคุณภาพระดับสากล”    และมีปรัชญาว่า “คุณภาพคือหัวใจในทุกพันธกิจ” และภาควิชาฯได้นำมากำหนดเป็นนโยบายและเป้าหมายเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
     
มิติที่ 2 : ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
2.1 พันธกิจด้านการฝึกอบรม
       ภาควิชาฯได้จัดระบบและกลไกในการดำเนินการด้านการศึกษาให้สอดคล้องกับพันธกิจและ
วิสัยทัศน์ของคณะฯ รวมทั้งให้มีมาตรฐานคุณภาพตามที่คณะฯกำหนดทั้งด้านมาตรฐาน หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษา ปัจจัยเกื้อหนุน เพื่อการเรียนรู้ของผู้ฝึกอบรม โดยแต่งตั้งประธานแต่ละหลักสูตรซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการแต่ละฝ่ายเป็นผู้รับผิดชอบ และควบคุมคุณภาพ ซึ่งได้กำหนดกลไกการประเมินคุณภาพทางด้านการจัดการศึกษาที่ภาควิชาฯรับผิดชอบ เป็นกระบวนการที่ดำเนินการเป็นประจำทุกปีอย่างสม่ำเสมอ และใช้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจเยี่ยมและประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกมาเป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อการปรับปรุงพัฒนาต่อไป (เอกสารหมายเลข RP_01 ประกอบด้วย โครงสร้างภาควิชา โครงการการบริหารหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน  คำสั่งแต่งตั้งมอบหมายหน้าที่ปฏิบัติงาน)
2.2 การตรวจเยี่ยมคุณภาพ
  2.2.1 ประกันคุณภาพการศึกษา
        - การตรวจเยี่ยมคุณภาพภายในด้านการศึกษา ระดับคณะฯ 1 ครั้ง/ ปี (RP_02(01))
        - เยี่ยมสำรวจคุณภาพด้านการบริหารภายในคณะฯ ระดับภาควิชา 1 ครั้ง /ปี (RP_02(02))  - การเยี่ยมสำรวจจากมหาวิทยาลัยมหิดล 1 ครั้ง /ปี (RP_02(03))
  2.2.2 การตรวจเยี่ยมภายนอก
        - รับการตรวจประเมินสถาบันการฝึกอบรมโดยอนุกรรมการการประเมินสถาบันของราชวิทยาลัยฯ 1 ครั้ง / 2 ปี (RP_02(04))
     
มิติที่ 3 : การบริหารจัดการ
3.1 ภาควิชาฯได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2545 – 2548 และ 2549 – 2552 โดย ตัวชี้วัด
  ความสำเร็จของแผนงานและเป้าหมายที่ต้องการสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของคณะฯ (RAMA)(เอกสารหมายเลขแฟ้ม RP_03   แผนยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดของภาควิชาฯ)
3.2 เพื่อให้การบริหารจัดการด้านการศึกษามีความเชื่อมโยงประสานงานกับพันธกิจด้านอื่นๆ อย่างใกล้ชิดจึงได้มีการ
  จัดประชุมภาควิชาฯระหว่างผู้บริหารภาควิชาฯและหน่วยงานทุกวันพฤหัสบดีที่ 4 ของแต่ละเดือนและมีการประชุมคณะอนุกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเดือนละครั้ง  (เอกสารหมายเลขแฟ้ม RP_04 ประชุมภาควิชาฯ , RP_05  รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน)
     
การบริหารจัดการในกระบวนการหลักเพื่อตอบสนองพันธกิจของคณะฯ
1. การจัดโครงสร้างของภาควิชาฯตามพันธกิจหลักของคณะฯ
2. การจัดทีมรับผิดชอบในแต่ละพันธกิจตามความสมัครใจและภาระงาน
3. การสร้าง Integration ในพันธกิจที่มีความสำคัญ
4. การจัดทำแผนปฏิบัติการระยะยาว (Operation plan) ของภาควิชาฯ 4 ปี (2549 – 2552)  และแผนที่สนับ
  สนุนยุทธศาสตร์ของคณะฯในเรื่องความเป็นเลิศ (Joint Surgery Execllent Center)
5. การจัดระบบรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้ในการตัดสินใจ (การศึกษา การบริการ การฝึกอบรม การวิจัย)
6. การติดตามผลการปฏิบัติงาน โดยทีมงาน (ด้านการศึกษา การฝึกอบรม บริการ วิจัย) และมอบให้ดำเนินการ
  พัฒนาได้ทันที (Empowermant, PDCA)
7. การประเมินบุคลากร : ใช้ข้อมูลจากการกำหนดเป้าหมายและภาระงานมาดำเนินการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน
8. การให้ค่าตอบแทนหรือรางวัล :  เกณฑ์พิจารณาจากผลงานที่ตกลงร่วมกัน บทบาทความรับผิดชอบ
9. นวัตกรรม (Innovation) : เน้นการต่อยอดจากองค์ความรู้เพิ่มเพื่อให้เกิดคุณค่า (value) มากขึ้น
  9.1 Ramathibodi Spinal System (รางวัล สกอ.ปี 2540)
  9.2 โปรแกรมคลังข้อสอบ (Dean Innovation Award ปี 2549)
  9.3 ระบบการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
     
มิติที่ 4  :  หลักสูตร
4.1 ภาควิชาฯได้จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  โดยใช้หลักสูตรของราชวิทยาลัยฯมาเป็นแบบอย่างในการปรับปรุงหลักสูตรของภาควิชาฯ มีการจัดแบ่งภาระหน้าที่ตามแต่ละชั้นปี และมีการจัดแบ่งเนื้อหาการเรียนการสอนตามแต่ละอนุสาขาที่ทางราชวิทยาลัยฯกำหนด และมีกระบวนการสัมมนาหลักสูตรเป็นประจำทุกปี
4.2 หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านของภาควิชาออร์โธปิดิกส์ได้จัดทำหลักสูตรและคู่มือการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน
  สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์  และกิจกรรมการเรียนรู้ของแต่ละอนุสาขาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร  (เอกสารหมายเลขแฟ้ม  RP_06 หนังสือคู่มือหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน) (แฟ้ม RP_10  สรุปผลแบบประเมินหลักสูตร)
     
มิติที่ 5  :  อาจารย์
5.1 การคัดเลือกหรือสรรหาอาจารย์
     ภาควิชามีระบบการคัดเลือกที่ชัดเจนโปร่งใส   โดยใช้ระบบ  “ฉันทานุมัติ”   เพื่อให้ได้ผู้ที่มีคุณสมบัติ
พร้อมทั้งทางด้านวิชาการ ทักษะการสอน / วิจัย และด้านคุณธรรม จริยธรรม  มีการกำหนดกระบวนการประเมินผลอาจารย์ที่เป็นธรรมและโปร่งใส ยกย่อง ชมเชย และส่งเสริมความก้าวหน้าและกำลังใจตามผลการปฏิบัติที่ดีของบุคคล  โดยผู้บังคับบัญชาจะกำหนดผลงานที่คาดหวังร่วมกับผู้ถูกประเมิน  ผลการปฏิบัติงานจะถูกแจ้งกลับสู่บุคลากรเพื่อปรับปรุงข้อบกพร่องและนำไปพิจารณาปรับขั้นเงินเดือนประจำปี ผู้ที่มีผลงานจะต้องเป็นไปตามความคาดหมาย หรือตัวชี้วัดของภาควิชาฯ ที่ได้กำหนดไว้      
(เอกสารหมายเลขแฟ้ม RP_07  ประกอบด้วย แบบมอบหมายงานหรือข้อตกลงการปฏิบัติงานและแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน)
5.2 การพัฒนาอาจารย์
  5.2.1 กำหนดตัวบ่งชี้วัดคุณภาพด้านอาจารย์ให้มีการส่งเสริมและมีกระบวนการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์
    ในด้านวิชาการ การวิจัย การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษารวมทั้งด้านคุณธรรมและจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง
  5.2.2 จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพอาจารย์ด้านบริการทางคลินิกตามความสำคัญของอนุสาขา
    (เอกสารหมายเลขแฟ้ม RP_03   แผนยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดของภาควิชาฯ)
  5.2.3 อบรมพัฒนาอาจารย์ด้านแพทยศาสตรศึกษา ประกอบด้วย Medical Education Workshop
    Clinical Teaching, Counseling, Student Assessment ให้กับอาจารย์ใหม่ของภาควิชาฯโดยจัดอบรมในลักษณะ  New Staff Workshop โดยใช้เวลา 9 วัน อบรมให้อาจารย์บรรจุใหม่เพื่อให้มีพื้นฐานด้านแพทยศาสตรศึกษา การทำวิจัย และส่งเสริมความเป็นครู ตลอดจน career path
  5.2.4 ส่งอาจารย์เข้าร่วมอบรมการออกข้อสอบกับโครงการของราชวิทยาลัยฯ
     
การเผยแพร่ความรู้ด้านวิจัย
     ภาควิชาฯส่งเสริมงานวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่นำไปสู่ การให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ การชี้นำสังคมด้านสุขภาพอนามัย ดังนี้
1. การจัดตั้งทีมงานรับผิดชอบงานวิจัยของภาควิชาฯ
2. การจัดระบบให้การสนับสนุน เช่น การหาทุน การจัดเจ้าหน้าที่ธุรการ
3. การปรับปรุงแผนการดำเนินงานด้านวิจัยอย่างต่อเนื่อง (เอกสารหมายเลขแฟ้ม  RP_08)
     
ผลงานที่เกิดขึ้น
1. อัตราส่วนของงานวิจัยต่อจำนวนอาจารย์
2. Impact factor
3. รางวัลที่ภาควิชาฯได้รับ ในปี 2550
  3.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ ได้รับรางวัลที่ 1  ดีเยี่ยม 5 ดาวทอง  นำเสนอ Oral
    Presentation เรื่อง “โครงการวิจัยการเฝ้าระวังการติดเชื้อในการผ่าตัดทางออร์โธปิดิคส์”  ในงาน Quality Conference ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  3.2 แพทย์หญิงชนิกา อังสนันท์สุข ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดผลงานวิจัยแพทย์ประจำบ้านของราช
    วิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกแห่งประเทศไทย  ประเภท Resident paper contest เรื่อง Meta-analysis of Cross Versus Lateral Pinning in Supracondylar Facture of the Humerus in children ปี 2550
  3.3 นายแพทย์จตุพล โสวิรัชน์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศในการประกวดผลงานวิจัยแพทย์ประจำบ้านของราช
    วิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย  ประเภท Poster Session  เรื่อง Postoperative anterior knee pain in bone – patellar tendon bone graft compare with semitendinosus tendon graff  of ACL
     
มิติที่ 6  :  กระบวนการฝึกอบรม
6.1 ระบบการฝึกอบรมแบ่งตามสายปฏิบัติงาน
  ชั้นปีที่ 1  : ปฏิบัติงานในภาควิชาออร์โธปิดิกส์ 1 – 2 เดือน
  ชั้นปีที่ 2, 3 และ 4  ปฏิบัติงานตามสาย A, B, C, D, E และ H  ระยะเวลา 7-8 สัปดาห์ 
  โดยแบ่งความรับผิดชอบในมิติต่างๆ ได้แก่
       การดูแลผู้ป่วยประจำสายที่ OPD  แผนกฉุกเฉิน ในห้องผ่าตัด การปรึกษาต่างแผนกและผู้ป่วยใน แบ่งความรับผิดชอบตามลำดับชั้นปี (เอกสารหมายเลข  RP_06  คู่มือหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน)
6.2 กิจกรรมทางวิชาการ จุดประสงค์และการประเมินรายกิจกรรมในคู่มือหลักสูตร (เอกสารหมายเลข RP_06, แฟ้ม
  RP_09 Activityแพทย์ประจำบ้าน)
  6.2.1 Bed side teaching  ทุกวันราชการตามสายปฏิบัติงาน เวลา 06.30 – 08.00 น.
  6.2.2 Morning Conference   มีกิจกรรมย่อยดังนี้
    1. Trauma film conference
        - ทุกวันจันทร์ เวลา 08.00 – 09.00 น. โดยใช้ภาษาอังกฤษ
        - ทุกวันอังคาร – ศุกร์  เวลา 08.00 – 08.15 น.
    2. Resident topic
        - วันอังคาร และวันศุกร์  บรรยายโดยอ้างอิงข้อมูลปัจจุบัน ใช้ EBM โดยแพทย์ประจำ
      บ้านทุกชั้นปี
    3. Lecture / Guest lecture
    - วันศุกร์และวันพฤหัสบดี บรรยายโดยวิทยากรภายใน และ ภายนอกคณะฯ หัวข้อ
      อ้างอิงตาม Course syllabus ของราชวิทยาลัยฯ จากการวางแผนรายปี
    4. Interesting case  จัด 1 ครั้ง/เดือน โดยแพทย์ประจำบ้านเสนอตัวอย่างผู้ป่วยพร้อมอภิปรายข้อมูลอ้างอิง
    5. Mortality  Morbidity conference จัด 1 ครั้ง/เดือน รวมสถิติที่ได้ปฏิบัติงาน ประจำเดือน ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือมีภาวะแทรกซ้อนมาอภิปราย
    6. Journal club  จัด 1 ครั้ง/เดือน นำเสนองานวิจัยพร้อมทั้งการวิจารณ์ภายในการควบคุมของอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกภาควิชาฯ
    7. Tele conference จัด 1 ครั้ง/เดือน อภิปรายผู้ป่วยตัวอย่างรวมกันผ่านสัญญาณดาวเทียมระหว่าง รพ.ศิริราช กับ รพ.รามาธิบดี
  6.2.3 Grand round, Interdepartment & Interhospital conference  
    วันพฤหัสบดี เวลา 13.00 – 15.00 น. จัดโดยราชวิทยาลัยฯ
วันอังคาร  เวลา 13.00 – 15.00 น. Patho – Radio – Orthopedic Conference
วันจันทร์สัปดาห์ที่ 1 และ 3 ของเดือน  เวลา 13.00 – 15.00 น. รพ.รามาธิบดีกับรพ.ราชวิถี 
หัวข้อ spine  และ arthroplasty โดยอาจารย์และแพทย์ประจำบ้านทั้งสองสถาบัน
6.3 การสอนหัตถการ
  6.3.1 การฝึกปฏิบัติทักษะการปฏิบัติงานประจำสถานที่
        - หอผู้ป่วยใน
    - คลินิกผู้ป่วยนอก
    - ภายในห้องผ่าตัด
    (ตามระยะเวลาที่กำหนดในขอบเขตงานแยกตามชั้นปี (เอกสารแฟ้ม RP_06  คู่มือหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน)
  6.3.2 ฝึกทักษะเพิ่มเติม
        - การสอนพันเฝือก 1 ครั้ง/ปี แพทย์ประจำบ้านทุกคน เข้าร่วม แยกทักษะการฝึกอบรมตามชั้นปี  (มีการสอนแสดง ดู VDO. และ Workshop พันเฝือกกับผู้ป่วยจำลอง)
    - การฝึกทักษะ microsurgery 3 ชั่วโมง / สัปดาห์ ขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่สาย H โดยอาจารย์ที่มีความชำนาญด้านทักษะนี้
    - การใช้ภาษาอังกฤษหลักสูตร writing เพื่อการเขียน manuscript ชั้นปีที่ 1
  6.3.3 การใช้แบบบันทึกประสบการณ์และผลงาน
         เริ่มมีการใช้แบบบันทึกประสบการณ์ในการฝึกอบรม โดยเฉพาะ กับสถาบันร่วม รพ.มหาราชนครราชสีมา เพื่อติดตามประสบการณ์ที่ยังขาดอยู่
6.4 เจตคติและทักษะด้านอื่นๆ
  ภาควิชาฯส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อปรับและเพิ่มพูนทักษะอื่นๆ ในขณะฝึกอบรมได้แก่
  6.4.1 การไหว้ครู และรดน้ำขอพรอาจารย์ผู้ใหญ่ในเทศกาลสงกรานต์
  6.4.2 การถ่ายภาพดิจิตอลทางออร์โธปิดิกส์
  6.4.3 เล่นกีฬาระหว่างสถาบันและกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาควิชา
  6.4.4 กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมไทยอื่นๆ เช่น ประเพณีลอยกระทง วันสำคัญทางศาสนา
  6.4.5 กิจกรรมดนตรี กีฬ่าสีภายในคณะฯ
  6.4.6 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการ
     
มิติที่ 7 :  การรับแพทย์ประจำบ้าน
     ภาควิชาออร์โธปิดิกส์เป็นผู้กำหนดระบบการคัดเลือกที่สอดคล้องกับนโยบายของคณะฯ และองค์กรวิชาชีพ และตามจำนวนเกณฑ์แพทยสภา 8 คน / ปี   มีการทบทวนและปรับปรุงระบบเกณฑ์การคัดเลือกเป็นประจำทุกปีโดยทีมคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน  เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาของหลักสูตรและมีความโปร่งใส  (เอกสารหมายเลขแฟ้ม  RP_11 การรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน)
     
มิติที่ 8 : การประเมินผล
มีการจัดระบบการประเมินผลการเรียนรู้ที่ได้มาตรฐาน ดังนี้
1. จัดประเมินตามหลักสูตรและวัตถุประสงค์ ทุกวัตถุประสงค์/ทักษะ
2. กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบ ทุกกิจกรรม
3. จัดตามตารางเวลาการจัดฝึกอบรม ทุกคน ทุกกิจกรรม
4. มีการประเมินทั้ง Formative & Summative Evaluation
5. นำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุง
  5.1 ผู้ถูกประเมิน
  5.2 วิธีการประเมิน
  5.3 การฝึกอบรม