นโยบายการวิจัย

มหาวิทยาลัยมหิดลมีปณิธาน เป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” มีวิสัยทัศน์ชัดเจนที่มุ่งมั่นจะเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก มีนโยบายส่งเสริมการวิจัยเพื่อสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการสาขาต่างๆ โดยดำเนินการดังนี้
  • ส่งเสริมการสรรหา สร้างและรักษานักวิจัยที่มีคุณภาพสูง ให้มีการพัฒนาศักยภาพ และทักษะในการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องและให้เกิดการพัฒนาผลผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพในวงวิชาการ
  • ส่งเสริมการสร้างสิ่งเอื้ออำนวยความสะดวกและทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศทางวิชาการ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยคุณภาพในทุกสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยมหิดล
  • สนับสนุนให้เกิดงานวิจัยแบบบูรณาการ โดยสร้างทีมนักวิจัยและกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดโครงการวิจัยร่วมระหว่างคณะ/สถาบัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอย่างสูงสุด
  • สนับสนุนการวิจัยที่สอดคล้องกับนโยบายการวิจัยของชาติ และความต้องการของแหล่งทุนทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน หรืออุตสาหกรรม โดยยึดมั่นในหลักการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอิสระทางวิชาการ
  • ส่งเสริมการสร้างระบบบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและกระตุ้นให้เกิดงานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมและทำไปใช้ ประโยชน์เชิงพาณิชย์
  • ให้การสนับสนุนทุนวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย
  • พัฒนาระบบการสื่อสารและการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานและนวัตกรรมการวิจัยสู่สาธารณชนให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์
  เพื่อให้การดำเนินการพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัยมีผลสำเร็จตามนโยบายการวิจัยมหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากเงินรายได้มหาวิทยาลัยให้ทุนแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ 7 ประเภท ดังนี้
  1. ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่
  2. ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นกลาง
  3. ทุนสนับสนุนนักวิจัยพี่เลี้ยง (Mentorship)
  4. ทุนส่งเสริมโครงการวิจัยร่วมทุน
  5. ทุนส่งเสริมโครงการวิจัยมุ่งเป้าหมาย
  6. ทุนอุดหนุนการตั้งกลุ่มวิจัย (Research Cluster)
  7. ทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก