สาขาวิชาพัฒนาการเด็ก

 

สาขาวิชาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก
 (Division of Developmental and Behavioral Pediatrics)

               สาขาวิชาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก  ภาควิชากุมารเวชศาสตร์  โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้จัดตั้งให้มีสาขาวิชาพัฒนาการเด็กขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลัก

เพื่อให้การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการแก่ผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการและปัญหาพฤติกรรมตลอดจนให้การส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการแก่

เด็กป่วยทั่วไปและเด็กซึ่งมารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี ในด้านการเรียนการสอน สาขาวิชาพัฒนาการเด็กรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชา

การเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กให้แก่นักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์  และในเวลาต่อมามีแพทย์สาขาอื่น ๆ หมุนเวียนมารับการฝึกอบรม

เพิ่มพูนทักษะจำนวนมากขึ้น ได้แก่ แพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชเด็ก แพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมทั้งจากภายในและ

นอกสถาบันจนกระทั่งปี พ.ศ.2535  ได้เริ่มเปิดหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ผู้ช่วยอาจารย์เพื่อผลิตกุมารแพทย์เฉพาะทางอนุสาขากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม

ที่มีคุณภาพเพื่อออกไปปฏิบัติงานตามสถาบันระดับอุดมศึกษาและโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในงานด้านบริการและวิจัย หน่วยพัฒนาการเด็กได้จัดให้มีงาน

บริการผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม ให้การดูแลรักษาร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในลักษณะสหสาขาวิชา โดยเน้นให้มีการพัฒนาคุณภาพงานและส่งเสริมให้มีการวิจัย

เพื่อเกิดความรู้ในด้านวิชาการและนำไปสู่การสนับสนุนงานบริการและการเรียนการสอนที่ดียิ่งขึ้น

1.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  พญ.รวิวรรณ  รุ่งไพรวัลย์ (หัวหน้าสาขาวิชาฯ)
     วุฒิการศึกษา          พ.บ., ว.ว. (กุมารเวชศาสตร์)
                               อ.ว.กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
                               Cert. In Developmental-Behavioral Pediatrics

2.  รองศาสตราจารย์  พญ.จริยา จุฑาภิสิทธิ์
     วุฒิการศึกษา        พ.บ., ว.ว. (กุมารเวชศาสตร์)
                             ว.ว.กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
                             MMedSci. in Clinical Psychiatry (UK)
                             Cert. in 3Di developmental dimensional and 
                             diagnostic autism interview training course (UK)

3.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.วิลาวัณย์  เชิดเกียรติกำจาย   
     วุฒิการศึกษา         พ.บ., ว.ว. (กุมารเวชศาสตร์)                              
                              ว.ว.กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม                                 
                              Cert. In Developmental-Behavioral Pediatrics Cert. In Leadership Education in Neurodevelopmental Disabilities (LEND)

1. รองศาสตราจารย์ พญ.นิชรา  เรืองดารกานนท์    
    วุฒิการศึกษา       พ.บ. , ว.ว. (กุมารเวชศาสตร์)
                           อ.ว.กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
                           Cert. In Developmental-Behavioral Pediatrics
2. อาจารย์ นพ.ทัศนต  สมบุญธรรม
    วุฒิการศึกษา       พ.บ. , ว.ว. (กุมารเวชศาสตร์)
                           อ.ว.กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
                           M.Sc. (Maternal and Child Health)
                           Cert. In Developmental-Behavioral Pediatrics

1.  คุณอัฐฌาน์ เศรษฐนันท์ มาแทน    พยาบาล
2.  คุณอุดร  จิตต์เจริญ                    พยาบาล (part time)
3.  คุณสุรินทร์ดา อาสาราช สาเขตร์    นักจิตวิทยา
4.  คุณบุณฑริกา  เทพสุภา               เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
5.  คุณสวรส  ไตรทรัพย์                  ผู้ปฏิบัติงานบริหาร

1.  ด้านงานบริการผู้ป่วย
         ให้บริการในการดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการแก่ผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ และปัญหาพฤติกรรม 
         ตารางเวลาการออกตรวจ 
          1.1  คลินิกพัฒนาการเด็ก วันจันทร์ (ออกตรวจโดยแพทย์)
                 -  เวลา 8.30-12.00 น. (คนไข้เก่า) 
                    -  เวลา 13.00-16.00 น. (คนไข้ใหม่) 
          1.2.  คลินิกพัฒนาการเด็ก วันพุธ (ปรับพฤติกรรม โดยพยาบาล) 
                  -  เวลา 9.00-12.00 น.                    
                  คลินิกพัฒนาการเด็ก วันพุธ (ฝึกกระตุ้นพัฒนาการ โดยพยาบาล) 
                  -  เวลา 9.00-15.00 น.
          1.3  คลินิกพัฒนาการเด็ก วันพฤหัสบดี (ออกตรวจโดยแพทย์)
                 -  เวลา 8.30-12.00 น. (คนไข้เก่า)
         1.4  คลินิกพัฒนาการเด็ก วันศุกร์ (กระตุ้นพัฒนาการกลุ่มเด็กเล็ก โดยแพทย์)
                   -  เวลา 8.30-12.00 น. (คนไข้เก่า)
         1.5    ให้บริการตรวจวัดระดับสติปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แพทย์เป็นผู้ส่ง (ทดสอบโดยนักจิตวิทยา)

2.  ด้านงานวิชาการ
            2.1  การสอน
                   จัดการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กให้แก่นักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์  และแพทย์สาขาอื่น ๆ ได้แก่ แพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชเด็ก  แพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ที่หมุนเวียนมารับการฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก
            2.2  การฝึกอบรม
                   สาขาพัฒนาการเด็กได้รับอนุมัติโดยแพทยสภาฯ และราชวิยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยให้เปิดการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์สาขาพัฒนาการเด็ก เป็นจำนวน 2 ตำแหน่งต่อชั้นปี โดยการสมัครจะต้องสมัครเพื่อการสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการสัมภาษณ์จากภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และสาขาวิชาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก กุมารแพทย์ที่ประสงค์จะสมัครเข้ารับการอบรมสามารถติดต่อได้ที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 02-201-1498
            2.3  การบริการวิชาการแก่ประชาชน หน่วยงานต่างๆ และสังคม
                  ให้การบริการวิชาการในเนื้อหาวิชาการพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กแก่ประชาชน หน่วยงานต่างๆ และสังคมเป็นระยะๆ
3.  ด้านงานวิจัย
             1.  การศึกษากลุ่มโรค Autism Spectrum Disorder (ASD)
             2.  การศึกษา preacademic skills (การอ่าน การเขียน และการคำนวน) รวมถึง  โรค Learning disability
             3.  พัฒนาแบบสอบถามเพื่อส่งเสริมการคัดกรองพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้าในเด็กไทย (Ramathibodi Language development screening questionnaire, RLD)
             4.  พัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีปัญหาการอ่าน หรือ learning disability (ชุดรามาพร้อมอ่าน) เพื่อประเมินทักษะเบื้องต้นในการอ่าน
             5.  พัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของเกมส์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็ก Autism Spectrum Disorder
ผลงานที่ได้รับรางวัลหรือเป็นที่ภาคภูมิใจ
            1.  เป็นสถาบันที่บุกเบิกนำแบบสอบถามต่างๆมาแปลเป็นภาษาไทยเพื่อปรับใช้ในเด็กไทย และทั้งหมดนี้มีงานวิจัยรับรองประสิทธิภาพในการนำไปใช้ แบบสอบถามเหล่านี้ ได้แก่
                  -  แบบคัดกรองโรค Autism Spectrum Disorder หรือ Modified Checklist for Autism in Toddlers (M-CHAT)
                  -  แบบสอบถามสำหรับคัดกรองเด็กที่มีพัฒนาการทางภาษาสื่อสารที่บกพร่อง หรือ Children’s communication checklist (CCC)
                  -  เครื่องมือมาตรฐานเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค Autism Spectrum Disorder หรือ Developmental, Dimensional and Diagnostic Interview (3Di)
            2.  คิดค้นสื่อคอมพิวเตอร์ “รามาพร้อมอ่าน (Rama Pre-Read: RPR)” ซึ่งเป็นแบบทดสอบทักษะทางการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัย และยังสามารถใช้สำหรับฝึกฝนทักษะทางการอ่านด้วย
            3.  คิดค้นแบบทดสอบ Ramathibodi Language Development screening questionnaire (RLD) เพื่อใช้คัดกรองเด็กที่มีพัฒนาการทางภาษาบกพร่องที่อายุ 18 เดือน

สำนักงาน(สถานที่ตั้ง)
            สาขาวิชาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก (ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ชั้น 3 ห้อง 303)
            ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
            เลขที่ 270   ถนนพระราม 6 
            แขวงทุ่งพญาไท  เขตราชเทวี   กรุงเทพฯ   10400

เบอร์โทรศัพท์/โทรสาร

            โทรศัพท์      02 201 1772 - 3  ในวันทำการจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 16.00 น.
            โทรสาร       02 201 2266