อนุสาขากุมารเวชพันธุศาสตร์

 

 

การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคพันธุกรรม

Fellowship Training in Medical Genetics
 

         ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคพันธุกรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรฝึกอบรมเป็นเวลา 2 ปี ผู้รับการฝึกอบรมจะได้ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยเด็ก ได้เรียนรู้ครอบคลุมด้านต่างๆ  ทั้งทางด้านวิทยาศาสตรืพื้นฐานและปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรม  

         นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้เพิ่มพูนประสบการณ์ด้านงานวิจัยทางคลินิก เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหืด โรคภูมิแพ้และโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ และมีโอกาสศึกษาดูงานเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคพันธุกรรมและพันธุกรรมเมแทบอลิก ในด้านงานวิจัยผู้เรียนมีโอกาสขอทุนนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติได้

            1.  เป็นผู้ที่ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรในสาขากุมารเวชศาสตร์ทั่วงไปแล้ว  หรือเป็นผู้ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านในสาขากุมารเวชศาสตร์ในสถาบันฝึกอบรมที่แพทยสภารับรองครบตามหลักสูตรของแพทยสภา

            2.  เป็นผู้มีสิทธิสอบหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ สาขากุมารเวชศาสตร์ทั่วไปในปีการศึกษานั้นๆ

          แจ้งความจำนงได้ที่สำนักงานสาขาวิชาเวชพันธุศาสตร์ อาคาร 1 ชั้น 8 ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โทรศัพท์ 0 2201 2782 หรือสำนักงานภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โทรศัพ์ 0 2201 1498  

1.  ดาวน์โหลดใบสมัครจาก URL ต่อไปนี้   http://med.mahidol.ac.th/graded/raf/account/log_in

2.  ส่งมาที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  270 ถนนพระรามหก  เขตราชเทวี  กรุงเทพฯ 10400

3.  เมื่อสาขาวิชาเวชพันธุศาสตร์ ได้รับเอกสารการสมัครเรียบร้อยแล้ว เอกสารจะได้รับการตรวจสอบและพิจารณาเบื้องต้น

     โดยอาจารย์ผู้ดูแลแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

4.  ผู้สมัครที่ผ่านการพิจารณาขั้นต้น ได้รับเชิญมารับการสัมภาษณ์กับอาจารย์ประจำหน่วย และตัวแทนอาจารย์หน่วยอื่นๆ

     ของภาควิชากุมารเวชศาสตร์

5.  คณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านต่อยอดจะตัดสินรับผู้สมัครโดยใช้ผลการสัมภาษณ์ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากเอกสารการสมัคร

     โดยมีจำนวนแพทย์ประจำบ้านต่อยอดชั้นปีละ 3 คน

          มุ่งเน้นให้แพทย์ประจำบ้านต่อยอดมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคพันธุกรรมอย่างครอบคลุม และเสริมสร้างการค้นคว้าหาข้อมูลได้ด้วยตนเอง และพัฒนาความรู้ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เน้นการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ การคิดอย่างองค์รวมและการตระหนักถึงประสิทธิผลในการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง เข้าถึงการรักษาอย่างทันท่วงที และครอบครัวได้รับคำแนะนำทางพันธุศาสตร์ เพื่อป้องกันโรคเกิดซ้ำในครอบครัว

          การฝึกปฏิบัติงานรวมเวลา 24 เดือน

สรุปกิจกรรมระหว่างฝึกอบรม

จำนวนเดือน

Outpatient and Inpatient Rotation

 ไม่น้อยกว่า 14

Elective/Research

ไม่เกิน 6

Lab Rotation

3

Vacation

1

(2 สัปดาห์ต่อ 1 ภาคการศึกษา)

รวมทั้งสิ้น

24

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กิจกรรมทางวิชาการของสาขาวิชาฯ

วัน-เวลา

8.00-09.00

09.00-12.00

13.00-16.00

จันทร์

 

 

กิจกรรมของภาควิชาฯ

Ward Round

Wk: 1 & 3 Ward Round

Wk: 2 & 4 Review Chart

อังคาร

Ward Round

Wk: 1 & 3 Ward Round

Wk: 2 & 4 Metabolism Clinic

พุธ

Wk 1: Journal club/ Topic review

Wk: 1, 2, 4: Ward Round

Wk 2 & 4: Grand round

Wk 3: Interesting case

3rdwk: Genetic Lab Meeting

พฤหัส

Ward Round

Review Chart

ศุกร์

Genetic Clinic

Lab interpretation review

-Biochemical test 1 ครั้งต่อเดือน

-molecular test 1 ครั้งต่อเดือน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

      นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมกิจกรรมวิชาการอื่นๆ ดังนี้

1.  ฟังการบรรยาย  
     ก. การบรรยายปูพื้นฐานโดยอาจารย์ที่ฝึกอบรม
     ข. การบรรยายทั้งในและนอกสถาบันที่เกี่ยวเนื่องกับหลักสูตรฝึกอบรม 
     ค. รายวิชา SCID 324 Medical Genetics ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
     ง. รายวิชาหลักสูตรปริญญาเอก Translational Medicine ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
2.  การทำ Morbidity and mortality review conference เมื่อมีผู้ป่วย
3.  เข้าร่วมกิจกรรมวิชาการที่จัดโดยชมรมเวชพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ สมาคมพันธุศาสตร์
4.  Interhospital Genetics Conference จัดทุก 3-4 เดือน จะกำหนดวันล่วงหน้า
5.  การเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ หรือการประชุมวิชาการของราชวิทยาลัย หรือสมาคมวิชาชีพอื่นๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเวชพันธุศาสตร์ แพทย์ประจำบ้านต่อยอดฯ จะได้รับการสนับสนุนตามที่โอกาสอำนวย
6.  เตรียมการสอน เพื่อสอนนักศึกษาแพทย์หรือแพทย์ประจำบ้านตามที่ได้รับมอบหมายอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี