อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อในเด็ก

 

 

การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อในเด็ก
 

         ผู้รับผิดชอบหลักสูตร :    หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

        คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

        ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ชนเมธ  เตชะแสนศิริ

        วัตถุประสงค์ และเนื้อหาหลักสูตร :  ตามหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

        เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ

        จากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย หลักสูตรใหม่ฉบับ พ.ศ. 2547

          ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี ให้การดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลาย และผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนของโรคได้มาก

โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะหรือเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสที่จะติดเชื้อต่างๆ ได้มากขึ้น

ดังนั้นการได้มาฝึกอบรมที่หน่วยโรคติดเชื้อ จะได้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้มากขึ้น นอกจากนั้นในช่วงของการฝึกอบรม

ยังเน้นให้ผู้รับการฝึกอบรมได้มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยและการเขียนบทความทางการแพทย์ด้วย

     1.  ผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมแล้ว และต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

            * เป็นผู้ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ ในสาขากุมารเวชศาสตร์ทั่วไปแล้ว

            * เป็นแพทย์ประจำบ้านปีสุดท้ายในสาขากุมารเวชศาสตร์ทั่วไป

            * เป็นผู้มีสิทธิ์สอบเพื่อหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ สาขากุมารเวชศาสตร์ทั่วไปในปีการศึกษานั้น

     2.   ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

            * ต้องเป็นผู้ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ ในสาขากุมารเวชศาสตร์ทั่วไปแล้ว

            * เป็นสมาชิกราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

            สามารถดาวน์โหลดใบสมัครจาก Website ที่   http://med.mahidol.ac.th/graded/raf/account/log_in

หลักสูตรการฝึกอบรมมีระยะเวลา 2 ปี

        วิธีการฝึกอบรม

        1.  ภาคทฤษฎี

            ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ศึกษาหาความรู้จากตำราและวารสาร

            ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้อภิปรายและฟังบรรยายเกี่ยวกับความรู้และเทคนิคทางกุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ

            ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เข้าร่วมกิจกรรมวิชาการต่อไปนี้

             -  Infectious disease round

             -  Clinical microbiology conference

             -  Case discussion

             -  Journal club

             -  Interhospital conference

             -  ประชุมวิทยาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

        2.  ภาคปฏิบัติ    ผู้เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติงานดังต่อไปนี้

             ปีที่ 1 :  ระยะเวลาฝึกอบรม 50 สัปดาห์

             1. งานด้านห้องปฏิบัติการ ระยะเวลา 2 เดือน ประกอบด้วยงานด้าน Bacteriology, Mycobacteriology, Mycology, Virology, Serology

                 และ Molecular biology โดยครอบคลุม

                1.1  การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 4 สัปดาห์

                1.2  Virology ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 2 สัปดาห์

                1.3  Mycobacteriology ที่โรงพยาบาลโรคทรวงอก กระทรวงสาธารณสุข  2 สัปดาห์

             2. งานดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ ร่วมกับอาจารย์หน่วยโรคติดเชื้อ ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เป็นเวลา 9 เดือน 

             3. วิชาเลือก 1 เดือน โดยเลือกฝึกด้านห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม หรือฝึกงานด้านโรคติดเชื้อที่สถาบันอื่น

             ปีที่ 2 :    ระยะเวลาฝึกอบรม 50 สัปดาห์

             1.  ฝึกอบรมระยะสั้นทางระบาดวิทยาในสถาบันที่มีหลักสูตรระบาดวิทยา

             2.  หลักสูตรระยะสั้นวิชากุมารเวชศาสตร์เขตร้อนที่ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล 1 เดือน

             3.  งานดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อร่วมกับอาจารย์หน่วยโรคติดเชื้อ ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เป็นเวลา 9 เดือน

             4.  วิชาเลือก 1 เดือน โดยเลือกฝึกด้านห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม หรือฝึกงานด้านโรคติดเชื้อที่สถาบันอื่น

         3.   งานวิจัย    

                  ผู้รับการฝึกอบรมต้องมีงานวิจัยไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง และส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ 1 เรื่องก่อนสิ้นสุดการฝึกอบรม

         4.  งานสอน

                  ผู้รับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาทางกุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ ช่วยสอนนักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้าน 

         โดยความเห็นชอบของอาจารย์ผู้ควบคุมหลักสูตร และช่วยในการจัดเก็บตัวอย่างผู้ป่วยที่น่าสนใจเข้า teaching file

                   การประเมินผล : ตามหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

          อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ จากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย หลักสูตรใหม่ฉบับใหม่ พ.ศ. 2547