อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก

 

 

การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด
อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก

Fellowship Training in Pediatric Hematology-Oncology

 

            โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขาโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยาในเด็ก เป็นหลักสูตรฝึกอบรมระยะเวลา 2 ปี ซึ่งสาขาวิชาโลหิตวิทยา

และมะเร็งวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นสถานที่ฝึกอบรมที่ได้รับความนิยมจากแพทย์ผู้สนใจอย่างต่อเนื่อง

ผู้รับการฝึกอบรมจะได้รับประสบการณ์หลากหลาย ครอบคลุมทั้งการดูแลผู้ป่วยโรคเลือด โรคมะเร็งในเด็ก รวมถึงผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูก โดยการดูแล

และฝึกฝนจากอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ในสาขาวิชาฯ นอกจากนี้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้เรียนรู้การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ ที่ทันสมัย สามารถนำไป

ประยุกต์ใช้ได้เมื่อจบหลักสูตรในระยะเวลา 2 ปีนี้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้มีโอกาสเพิ่มพูนประสบการณ์ด้านงานวิจัยทางคลินิก ศึกษาดูงานคลังเลือด

และการดูแลผู้ป่วยโรคเลือดผู้ใหญ่ร่วมด้วย

          มีจำนวนอาจารย์แพทย์ที่มีความรู้ความสามารถในทุกด้านของโรคทางโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็กอย่างพอเพียง มีความสามารถในการทำวิจัยและ

มีชื่อเสียงในระดับประเทศแลนานาชาติ  นอกจากความรู้ทางวิชาการ ยังมุ่งเน้นเรื่องจริยธรรม คุณธรรม ความรับผิดชอบในการประกอบวิชาชีพ

รวมทั้งฝึกฝนความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่น

         เป็นผู้ได้รับหนังสืออนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตรสาขากุมารเวชศาสตร์ของแพทยสภาหรือเป็นผู้ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านใน

สาขากุมารเวชศาสตร์ในสถาบันฝึกอบรมที่แพทสภารับรองครบตามหลักสูตร

          แจ้งความจำนงได้ที่สำนักงานสาขาวิชาโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา โทรศัพท์หมายเลข 02-201-1748-9

          หรือสำนักงานภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โทรศัพท์หมายเลข 02-201-1498

         1.  ดาวน์โหลดใบสมัครจาก URL ต่อไปนี้ http://med.mahidol.ac.th/graded/raf/account/log_in

              ส่งมาที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

              270 ถ.พระราม 6  เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

         2.  เมื่อสาขาวิชาโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยาได้รับเอกสารการสมัครเรียบร้อยแล้ว เอกสารจะได้รับการตรวจสอบและพิจารณาเบื้องต้น

             โดยอาจารย์ผู้ดูแลแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

         3.  ผู้สมัครที่ผ่านการพิจารณา (selected candidate) ได้รับเชิญมาสัมภาษณ์กับอาจารย์ประจำสาขาวิชาฯ และตัวแทนอาจารย์สาขาวิชาอื่นๆ

              ของภาควิชากุมารเวชศาสตร์

         4.  คณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านต่อยอดจะตัดสินรับผู้สมัครโดยใช้ผลการสัมภาษณ์ประกอบกับข้อมูลที่ได้รับเอกสารการสมัคร

ภาพรวม

         ผู้รับการฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ทางคลินิกอย่างมีส่วนร่วม (active participation) และต่อเนื่อง ในคลินิกโรคเลือด (hematology clinic)

คลินิกโรคมะเร็งในเด็ก (oncology clinic) คลินิกโรคเลือดออกง่าย (bleeding clinic) และคลินิกผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไขกระดูก (bone marrow transplant

clinic) การรับปรึกษาทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ในเวลาและนอกเวลาราชการ การปฏิบัติงานทางห้องปฏิบัติการ อีกทั้งยังสามารถหาความรู้ด้วยตนเองและ

เป็นกลุ่มในแต่ละช่วงของการหมุนเวียนปฏิบัติงาน ผู้รับการฝึกอบรมจะได้ประสบการณ์ การตรวจวินิจฉัย รักษาและติดตามการดำเนินโรค

โรคทางโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็กทั้งที่พบบ่อยและที่ซับซ้อนร่วมกับให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองและแนะนำผู้ป่วยร่วมกับสหสาขาอื่น

นอกจากนี้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้ฝึกฝนทำหัตถการเจาะน้ำไขสันหลังจนชำนาญ

การฝึกปฏิบัติงานรวมเวลา 24 เดือน        

         สาขาวิชาโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา รพ.รามาธิบดีไม่น้อยกว่า    13    เดือน

         สาขาวิชาโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา สถาบันอื่น                         2    เดือน

         อายุรศาสตร์หน่วยโรคเลือด                                                      2    เดือน

         ปฏิบัติงานทางห้องปฏิบัติการ                                                    3    เดือน

         ปฏิบัติงานธนาคารเลือด                                                           2    เดือน

         สาขาวิชาพยาธิวิทยา                                                               1    เดือน

         สาขาวิชารังสีรักษา                                                                  1    เดือน

 งานวิจัย

     ผู้รับการฝึกอบรมจะได้เรียนรู้การทำวิจัย รวมทั้งมีงานวิจัยของตนเอง นำเสนอต่อคณะกรรมการฝึกอบรมเพื่อการสอบวุฒิบัตร และมีโอกาสนำเสนอเป็น

oral presentation หรือ oral poster presentation ในการประชุมระดับชาติ เช่น สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย หรือระดับนานาชาติ เช่น

Asian Society for Pediatrics Research (ASPR)

 

การปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านกุมารฯ  ปีที่ 2

          สาขาวิชาโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา (4 สัปดาห์)

          1.  ร่วมวางแผนการดูแลรักษา รับปรึกษาและบันทึกการดำเนินของโรค การรักษาใน hemato-onco chart ของผู้ป่วยโลหิตวิทยา

               ที่อยู่ในหอผู้ป่วยกุมารฯ ร่วมกับแพทย์ผู้ช่วยอาจารย์ และอาจารย์

          2.  เขียนบันทึกในเวชระเบียนผู้ป่วยเมื่อได้รับการปรึกษาลงในใบฟ้า (staff note) ทั้ง Hematology และ Oncology

               (ยกเว้นผู้ป่วยที่มารับยาเคมีบำบัดตามนัด) การเขียนในเวชระเบียนต้องเขียนเฉพาะเรื่องที่สำคัญไม่ซ้ำซ้อนกับ

                resident และตรวจเช็คว่า resident เขียนถูกต้องหรือไม่

          3.  สรุปการรักษา และการดำเนินของโรคของผู้ป่วยโลหิตวิทยาใน hemato chart เมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน

               (ผู้ป่วยที่มีปัญหาเลือดออกง่ายต้องสรุปจำนวน blood component ที่ได้รับในโรงพยาบาล)

          4.  ออกตรวจ และร่วมวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่ bleeding clinic ทุกวันอังคารสัปดาห์แรกของเดือน เวลา 9.00-12.00 น.

          5.  ออกตรวจ OPD Oncology วันพุธเวลา 9.00-12.00 น. (ทำหัตถการ-เจาะไขกระดูก เจาะน้ำไขสันหลังและให้ยาเคมีบำบัด)

               ออกตรวจ OPD Hematology วันพุธเวลา 9.00-12.00 น. ออกตรวจ OPD BMT วันพฤหัสบดีเวลา 9.00-12.00 น.

          6.  บันทึกผู้ป่วยที่รับปรึกษาของหน่วยโลหิตวิทยาในแต่ละเดือนลงในใบรับปรึกษา   (สีชมพู) ของทางสาขาวิชาฯ

          7.  นัดฝึกทักษะการทำงานทางห้องปฏิบัติการดังนี้

               7.1  การทำ coagulogram               ติดต่อคุณนาตยา

               7.2  การทำ DNA extraction            ติดต่อคุณลลิตา  

               7.3  การทำ prenatal diagnosis โรคธาลัสซีเมีย    ติดต่อคุณประกายวรรณ

                      แก่ทารกในครรภ์

          8.  นัดอาจารย์ในสาขาวิชาฯ เพื่อทำการสอนในหัวข้อที่ระบุ

               8.1  อ.อำไพวรรณ (discuss CAI จากคอมพิวเตอร์ในห้อง Lab)

               8.2  อ.สุรเดช (solid tumor หรืออื่นๆ แล้วแต่อาจารย์)

               8.3  อ.สามารถ (slide review, leukemia หรืออื่นๆ แล้วแต่อาจารย์)

               8.4  อ.นงนุช (slide review, thalassemia, thrombosis หรืออื่นๆ แล้วแต่อาจารย์)

               8.5  อ.อุษณรัสมิ์ / อ.เดือนธิดา (slide review หรืออื่นๆ แล้วแต่อาจารย์)

          9.  นัดเรียนกับพยาบาลประจำหน่วย

                -  คุณจงรัก หรือคุณสมถวิล เพื่อฝึกปฏิบัติเรื่อง Central line care & Chemotherapy (เรียนวันพุธเช้า 1 ครั้งที่ Onco clinic)

                -  คุณผกาวรรณ เพื่อเรียนเรื่อง Home treatment

         10.  เรียน PMR in hemophilia ในวันอังคารแรกของเดือนเรียนกับ อ.มลรัชฐา (เวชศาสตร์ฟื้นฟู) เวลา 13.00 น.

        11.  แพทย์ Elective ต้องมี topic คนละ 1 เรื่อง หรือพูดด้วยกันจับคู่ (กรณีมาเรียนมากกว่า 1 คน)  

        12.  ศึกษาด้วยตนเองโดยมี เอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3 เรื่อง ได้แก่ แบบฝึกหัด เรื่อง hemostatic disorders, การแปลผล hemoglobin typing

               และ thalassemia พร้อมคำเฉลย อยู่จากคอมพิวเตอร์ในห้อง Lab ของสาขาวิชาฯ 609 ชั้น 6 ตึกศูนย์การแพทย์สิริกิติ์

        13.  อ่านสไลด์ peripheral blood และ bone marrow ผู้ป่วยโรคโลหิตวิทยา และศึกษา slide study