อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม

 

 

การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด
อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม

Fellowship Training in Pediatric Rheumatology

 

          โรคในกลุ่มภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง (autoimmune diseases) เช่น โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก (juvenile   idiopathic arthritis) โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue diseases) และโรคหลอดเลือดอักเสบ (systemic vasculitis) เป็นโรคที่มีการอักเสบของร่างกายหลายระบบด้วยกัน ปัจจุบันพบโรคกลุ่มต่างๆเหล่านี้มากขึ้นและเป็นโรคที่วินิจฉัยและรักษายาก มีความซับซ้อนต้องอาศัยความรู้และความชำนาญเฉพาะทาง ตลอดจนการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมและการดูแลรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary teamwork) เนื่องจากเป็นอนุสาขาที่มีการขาดแคลน โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่มจึงมี 2 หลักสูตรด้วยกัน ได้แก่

1.    โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
(หลักสูตร 2 ปี) ได้จัดตามหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อเป็นแพทย์เฉพาะทางในอนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม ของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญ (อ.ฝ.ส.) ของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และแพทยสภา ฉบับปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการอนุมัติจากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งกำหนดให้ฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรจากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
2.    โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
(หลักสูตร 1 ปี) ได้รับการอนุมัติจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งกำหนดให้ฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี หลักสูตรนี้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเป็นกุมารแพทย์โรคไต หรือกุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันเท่านั้น เนื่องจากเป็นหลักสูตรระยะสั้น สำหรับกุมารแพทย์ที่มีความจำเป็นต้องดูแลรักษาผู้ป่วยโรคข้อและรูมาติสซั่มในเบื้องต้น
*ทั้งนี้กุมารแพทย์โรคไต หรือโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันสามารถเลือกฝึกอบรมหลักสูตร 2 ปีได้
เช่นเดียวกัน
    ผู้รับการฝึกอบรมจะได้ฝึกฝนและเพิ่มพูนประสบการณ์ในการวินิจฉัย การรักษาและดูแลผู้ป่วยโรคข้อและรูมาติสซั่มแบบองค์รวม ตลอดจนคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยเด็กกลุ่มดังกล่าวให้แก่ครอบครัว เนื้อหาของหลักสูตร ได้แก่ โรคข้ออักเสบจากสาเหตุต่างๆ (childhood arthritis) โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue diseases) โรคหลอดเลือดอักเสบ (systemic vasculitis) และโรคปวดข้อที่ไม่ได้เกิดจากการอักเสบ (mechanical pain, pain syndrome) เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ฝึกอบรมยังได้ฝึกทักษะการดูดน้ำจากข้อ (arthrocentesis) ฉีดยาเข้าข้อ (intra-articular corticosteroid injection) และการตรวจ nail fold capillaries ร่วมด้วย
 

        เป็นผู้ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรสาขากุมารเวชศาสตร์ของแพทยสภาหรือเป็นผู้ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านในสาขากุมารเวชศาสตร์ในสถาบันฝึกอบรมที่แพทยสภารับรองครบตามหลักสูตร หากเป็นหลักสูตร 1 ปี ต้องได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรอนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคไต หรือโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันร่วมด้วย

แจ้งความจำนงได้ที่หน่วยโรคข้อและรูมาติสซั่ม โทรศัพท์หมายเลข 02-201-1494 หรือสำนักงานภาควิชากุมารเวชศาสตร์                                   โทรศัพท์หมายเลข 02-201-1488, 02-201-1498
1.    ดาวน์โหลดใบสมัครจาก URL ต่อไปนี้ 
http://med.mahidol.ac.th/graded/raf/account/log_in
2.    ส่งมาที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
       270 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
3.    เมื่อหน่วยโรคข้อและรูมาติสซั่มได้รับเอกสารการสมัครเรียบร้อยแล้ว เอกสารจะได้รับการตรวจสอบและพิจารณาเบื้องต้นโดยอาจารย์ผู้ดูแลแพทย์                ประจำบ้านต่อยอด
4.    ผู้สมัครที่ผ่านการพิจารณาขั้นต้น ได้รับเชิญให้มารับการสัมภาษณ์กับอาจารย์ประจำหน่วยและคณะกรรมการสัมภาษณ์จากภาควิชากุมารเวชศาสตร์
5.    คณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านต่อยอดจะตัดสินรับผู้สมัครโดยใช้ผลการสัมภาษณ์ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากเอกสารการสมัคร

 

ผู้รับการฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ทางคลินิกในการรับปรึกษาทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก โดยจะได้เรียนรู้จากผู้ป่วยที่มีปัญหาทางโรคข้อและรูมาติสซั่ม โดยออกตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก 2 คาบต่อสัปดาห์ และรับปรึกษาเป็นระยะเวลา 15 วันต่อเดือน นอกจากนี้ผู้ฝึกอบรมจะได้ฝึกทำหัตถการด้านการดูดน้ำในข้อ (arthrocentesis) ฉีดยาเข้าข้อ (intra-articular  corticosteroid injection) และการตรวจ nail fold capiilaries
    ผู้รับการฝึกอบรมยังได้มีส่วนร่วมในการประชุมวิชาการร่วมกับแผนกอายุกรรมโรคข้อและรูมาติสซั่ม รังสีวินิจฉัย และการประชุมวิชาการระหว่างโรงพยาบาล (interhospital conference) นอกจากได้เพิ่มพูนความรู้แล้ว ยังได้ฝึกการสอนวิชาโรคข้อและรูมาติสซั่มในที่ประชุมวิชาการดังกล่าวอีกด้วย ผู้รับการฝึกอบรมยังได้มีส่วนร่วมในการสอนวิชาการแก่นักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์ และเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว ประชาชนทั่วไป ในงานค่ายโรคข้อ JIA ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
นอกจากนี้ผู้รับการฝึกอบรมยังได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะในการทำงานวิจัยและเสนอโครงการวิจัยเกี่ยวกับโรข้อและรูมาติสซั่มแก่อาจารย์ในภาควิชากุมารเวชศาสตร์อีกด้วย

    การฝึกปฏิบัติงานสำหรับหลักสูตร 2 ปี รวมเวลาทั้งหมด 24 เดือน  และมีวิชาเลือก 4 เดือน ได้แก่ ศัลยศาสตร์โรคกระดูกและข้อ รังสีวินิจฉัย กุมารเวชศาสตร์โรคไต อายุรกรรมโรคข้อและรูมาติสซั่ม เวชศาสตร์ฟื้นฟู ห้องปฏิบัติการอิมมูโนวิทยา รวมถึงกุมารเวชศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม ณ สถาบันฝึกอบรมอื่น โดยมีตารางกิจกรรมประจำสัปดาห์ดังนี้