สาขาวิชาทางเดินอาหาร

 

 

สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร

 (Division of Gastroenterology)

 

             สาขาวิชาทางเดินอาหาร ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นหน่วยงานในภาควิชากุมารเวชศาสตร์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการศึกษาแพทย์ในรับปริญญาและหลังปริญญา ให้บริการวิชาการ  งานบริการทางคลินิกและการทำวิจัยในสาขาวิชาทางเดินอาหารในเด็กและวัยรุ่น

          1.  ศาสตราจารย์ พญ.สุพร  ตรีพงษ์กรุณา

               วุฒิการศึกษา     พ.บ., ว.ว. (กุมารเวชศาสตร์)  

                                         Certificate of Pediatric Gastroenterology and Hepatology

                                         อนุมัติบัตร สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว (แพทยสภา)

                                         อนุมัติบัตร สาขากุมารเวชศาสตร์ โรคทางเดินอาหารและตับ (แพทยสภา)

          2.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.ฉัตต์มณี  เลิศอุมผลวณิช

               วุฒิการศึกษา      พ.บ., ว.ว. (กุมารเวชศาสตร์)  

                                          ว.ว กุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหารและตับ

          3.  รองศาสตราจารย์ นพ.พรเทพ  ตั่นเผ่าพงษ์

               วุฒิการศึกษา     พ.บ., อ.ว. (กุมารเวชศาสตร์) 

                                        Diplomate of the American Board of Pediatrics

                                        Masters of Public Health (Epidemiology and Biostatistics) 

                                        Diplomate of the American Board of Pediatric Gastroenterology 

            1.  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ.วันดี วราวิทย์

                 วุฒิการศึกษา     พ.บ., ว.ว. กุมารเวชศาสตร์

                                           Diplomate of the American Board of Pediatrics

                                           Certificate in Pediatric Metabolism

 

           2.  รองศาสตราจารย์ พญ.พรพิมล  พัวประดิษฐ์

                วุฒิการศึกษา     พ.บ., ว.ว. กุมารเวชศาสตร์

                                          

           3.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.ปานียา   เพียรวิจิตร

                วุฒิการศึกษา    พ.บ., ว.ว. กุมารเวชศาสตร์

                                         Diplomate of the American Board of Pediatrics

                                         Diplomate of the American Board of Pediatric Gastroenterology      

           4.  อาจารย์ พญ.อมรพรรณ แก่นสาร

               วุฒิการศึกษา      พ.บ., ว.ว. (กุมารเวชศาสตร์)  

                                          ว.ว กุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหารและตับ

           5.  อาจารย์ พญ.ระรอง  เจริญเมือง

               วุฒิการศึกษา      พ.บ., ว.ว. (กุมารเวชศาสตร์)  

                                          ว.ว กุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหารและตับ

 

           1.  นางสาวณภาภัช     บุตรศรีภูมิ         พยาบาล
           2.  นางสาวสุนธารา     ปราบปราม        พยาบาล
           3.  นางสาวทัศนีย์        ดำรัตน์             ผู้ปฏิบัติงานบริหาร

หน้าที่ของสาขาวิชา

ด้านการบริการทั่วไป

     งานบริการผู้ป่วยนอก

-  คลินิกโรคทางเดินอาหาร ทุกวันอังคาร  เวลา 13.00-15.30 น.

-  คลินิกปลูกถ่ายตับ  ทุกวันพฤหัสบดี  เวลา 09.00-11.00 น.

  (โดยสามารถโทรนัดหมายได้ที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก 02-201-1234, 02-201-1241 เวลาราชการ)

 

     งานบริการผู้ป่วยใน

-  ดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคทางเดินอาหารและโรคตับ

-  ดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กปลูกถ่ายตับ

-  ให้คำปรึกษาและวินิจฉัยร่วม และให้การรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาโรคทางเดินอาหารและ

   โรคตับที่หอผู้ป่วยเด็ก

 

งานบริการด้านอื่นๆ

          1.  งานส่องกล้องทางเดินอาหารผู้ป่วยเด็ก  สาขาวิชาทางเดินอาหารได้ดำเนินการส่องกล้องทางเดินอาหารในผู้ป่วยเด็กมาเป็นเวลานานกว่า

10 ปี มีประสบการณ์การส่องกล้องทางเดินอาหารทั้งการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (upper endoscopy) และส่วนล่าง (colonoscopy) การส่อง

กล้องทางเดินอาหารช่วยในการวินิจฉัยโรคทางเดินอาหารได้อย่างแม่นยำ โดยมีข้อบ่งชี้ได้แก่ เด็กปวดท้องเรื้อรัง อาเจียนเรื้อรัง อุจจาระร่วงเรื้อรัง เลือด

ออกจากทางเดินอาหาร ฯลฯ และการส่องกล้องทางเดินอาหารยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาหลายโรคเช่น การฉีดยา (sclerotherapy) เข้าเส้นเลือด

โป่งที่หลอดอาหาร (esophageal varices) การรัดเส้นเลือดโป่งด้วยยาง (variceal banding) การตัดติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ (polypectomy) เป็นต้น

            สาขาวิชาทางเดินอาหาร ยังทำการเจาะใส่สายกระเพาะอาหาร (gastrostomy tube) โดยวิธีการส่องกล้องทางเดินอาหาร เรียกว่า percutaneous

endoscopic gastrostomy (PEG) ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องรับการผ่าตัด โดยขณะนี้มีผู้ป่วยได้รับการเจาะใส่สายกระเพาะอาหารโดยวิธี PEG แล้วมากกว่า 200

ราย หลังจากเริ่มให้บริการตั้งแต่พุทธศักราช 2544

          2.  การดูแลผู้ป่วยหลังใส่สายกระเพาะอาหาร (PEG)  สาขาวิชาทางเดินอาหารให้การดูแลต่อเนื่องหลังทำ PEG ในระยะยาว โดยมีพยาบาล

ประจำสาขาวิชาเป็นผู้สอน สาธิตและให้คำแนะนำการดูแลตนเองที่บ้านและยังจัดทำคู่มือ “การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยใส่สายกระเพาะอาหาร” เพื่อให้

ผู้ปกครองใช้ศึกษาเพิ่มเติมในการดูแลผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถรับบริการการเปลี่ยนสายกระเพาะอาหาร โดยมีสายชนิดต่าง ๆ ให้ผู้ปกครองเลือก

ได้ตามความเหมาะสมและความพึงพอใจ อีกทั้งยังบริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับสายฯ

          3.  การปลูกถ่ายตับเด็กจากพ่อแม่สู่ลูก  การปลูกถ่ายตับเป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยตับวายหรือตับแข็งระยะสุดท้าย ที่จะทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอด

และสามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพได้ เนื่องจากตับบริจาคจากผู้บริจาคสมองตายมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยโรคตับ ทำให้ผู้ป่วย

โรคตับแข็งเสียชีวิตระหว่างรอการปลูกถ่ายตับจำนวนมาก  ทางภาควิชากุมารเวชศาสตร์ได้ร่วมกับคณะกรรมการปลูกถ่ายตับ คณะแพทยศาสตร์โรง

พยาบาลรามาธิบดี จัดทำโครงการปลูกถ่ายตับเด็กจากพ่อแม่สู่ลูก โดยใช้ตับบริจาคจากผู้ที่มีชีวิต ได้แก่ พ่อแม่หรือญาติที่มีกลุ่มเลือดตรงกับเด็ก สามารถ

บริจาคตับส่วนหนึ่งให้แก่ผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตรอดและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งขณะนี้มีผู้ป่วยเด็กรับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในโครงการนี้รวม 87 ราย

และมีผู้ป่วยรอดชีวิตคิดเป็นอัตรารอดร้อยละ 91 (ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2557) โดยผู้ป่วยเด็กเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตตามปกติและไปโรงเรียนได้เมื่อถึงวัยเรียน

เพียงแต่ต้องกินยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการปฏิเสธตับในระยะยาว และมารับการตรวจเลือดประเมินการทำงานของตับและวัดระดับยากดภูมิคุ้มกันอย่าง

สม่ำเสมอ

ด้านการบริการวิชาการ

          1.  บริการวิชาการ ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ โดยเป็นวิทยากรรับเชิญ ในการอบรมระยะสั้นของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรง

พยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

            2.  แต่งหนังสือ / ตำราและสื่อการสอน เอกสารความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว

ด้านการศึกษา

            1.  การเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต

            2.  การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์

            3.  การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านอนุสาขาโรคระบบทางเดินอาหารและตับ สาขาวิชาทางเดินอาหารเปิดการฝึกอบรมวุฒิบัตรอนุสาขากุมาร

เวชศาสตร์ระบบทางเดินอาหาร โดยได้รับอนุมัติจากแพทยสภาและราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ให้เปิดการฝึกอบรมเป็นจำนวน 2

ตำแหน่งต่อชั้นปี ในระยะการฝึกอบรม 2 ปี โดยสามารติดต่อได้ที่  02-201-1498 และ 02-201-1446

ผลการดำเนินงานเด่นและภาคภูมิใจ  (ม.ค.2552 – พ.ค. 2557)

     งานบริการ

1.  ปลูกถ่ายตับเด็กจากพ่อแม่สู่ลูก โดยเป็นการทำงานร่วมกับสาขาวิชากุมารศัลยศาสตร์ และภาควิชาต่างๆ โดยทางคณะแพทยศาสตร์

     โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ดำเนินการปลูกถ่ายตับเด็กได้ผลเป็นที่น่าพอใจในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

     ได้เริ่มครอบคลุมหลักประกันสุขภาพในการปลูกถ่ายตับในเด็กตั้งแต่พุทธศักราช 2554 ในกลุ่มโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ

            2.  การจัดงาน 10 ปี รามาธิบดีปลูกถ่ายตับจากพ่อแม่สู่ลูก เมื่อ 4 มีนาคม 2555 เพื่อรำลึกถึง   

     ความสำเร็จของการปลูกถ่ายตับจากพ่อแม่หรือผู้บริจาคที่มีชีวิตให้แก่ลูกที่เป็นโรคตับ โดยในงานมีกิจกรรมการแสดงของผู้ป่วยที่

     ได้รับการปลูกถ่ายตับ รวมถึงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยเด็กเหล่านี้ในระยะยาว

            3.  จัดทำหนังสือ 10 ปี รามาธิบดีปลูกถ่ายตับจากพ่อแม่สู่ลูก จำนวน 500 เล่ม เพื่อให้ความรู้ในการดูแลปฏิบัติตนหลังปลูกถ่ายตับ

      4.   การให้บริการใส่ใส่สายกระเพาะอาหารโดยวิธีการส่องกล้อง (PEG) ซึ่งดำเนินการมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าว

           ได้ดำเนินการมาแล้วกว่า  200 ราย โดยได้รับผลการรักษาที่ดี

5.  ให้การดูแลสายให้อาหารทางหน้าท้อง ทั้งในคลินิกและให้บริการรับปรึกษาปัญหาทางโทรศัพท์ ทำให้สามารถลดการมาโรงพยาบาลของผู้ป่วย

      และผู้ปกครองโดยไม่จำเป็น

            6.  จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ แก่ แพทย์ พยาบาล ในการดูแลสายให้อาหารทางหน้าท้องในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556

ด้านการวิจัย (ม.ค.2552 – พ.ค. 2557)

      1.  Treepongkaruna S, Chongviriyaphan N, Suthutvoravut U, Charoenpipop D, Choubtum L, Wattanasirichaigoon D. Novel missense mutations of SAR1B gene in an infant with chylomicron retention disease.J Pediatr Gastroenterol Nutr. 2009;48:370-3.

      2.  Treepongkaruna S, Sirachainan N, Kanjanapongkul S, Winaichatsak A, Sirithorn S, Sumritsopak R, Chuansumrit A. Absence of platelet recovery following Helicobacter pylori eradication in childhood chronic idiopathic thrombocytopenic purpura: a multi-center randomized controlled trial. Pediatr Blood Cancer. 2009;53:72-7.

      3.  Treepongkaruna S, Gaensan A, Pienvichit P, Luksan O, Knisely AS, Sornmayura P, Jirsa M. Novel ABCB11 mutations in a Thai infant with progressive familial intrahepatic cholestasis. World J Gastroenterol. 2009;15:4339-42.

      4.  Treepongkaruna S, Thongpak N, Pakakasama S, Pienvichit P, Sirachainan N, Hongeng S. Acute pancreatitis in children with acute lymphoblastic leukemia after chemotherapy.J Pediatr Hematol Oncol. 2009;31:812-5.

      5.  Chuansumrit A, Teeraratkul S, Wanichkul S, Treepongkaruna S, Sirachainan N, Pakakasama S, Nuntnarumit P, Hongeng S; rFVIIa Study Group. Recombinant-activated factor VII for control and prevention of hemorrhage in nonhemophilic pediatric patients. Blood Coagul Fibrinolysis. 2010;21:354-62.

      6.  Jitraruch S, Treepongkaruna S, Teeraratkul S, Wattanasirichaigoon D, Leelaudomlipi S, Sornmayura P, Viengteerawat S, Sriphojanart S. Long-term outcome of living donor liver transplantation in a Thai boy with hereditary tyrosinemia type I: a case report. J Med Assoc Thai. 2011;94:1276-80.

     7.  Tanpowpong P, Katz AJ. Heterotopic gastric mucosa causing significant esophageal stricture in a 14-year old child. Dis Esophagus 2011; 24: E32-4.

     8.  Yoo H, Kang D, Katz AJ, Lauwers GY, Nishioka NS, Yagi Y, Tanpowpong P, Namati J, Bouma BE, Tearney GJ. Reflectance confocal microscopy for the diagnosis of eosinophilic esophagitis: a pilot study conducted on biopsy specimens. Gastrointest Endosc 2011; 74: 992-1000.

     9.  Tanpowpong P, Ingham TR, Lampshire PK, Kirchberg FF, Epton MJ, Crane J, Camargo CA Jr. Coeliac disease and gluten avoidance in New Zealand children. Arch Dis Child 2012; 97: 12-16.

   10.  Tanpowpong P, Broder-Fingert S, Katz AJ, Camargo CA Jr. Age-related patterns in clinical presentations and gluten-related issues among children and adolescents with celiac disease. Clin Translat Gastroenterol 2012; 3, e9; doi:10.1038/ctg.2012.4.

   11.  Tanpowpong P, Broder-Fingert S, Katz AJ, Camargo CA Jr. Predictors of gluten avoidance and implementation of a gluten-free diet in children and adolescents without confirmed celiac disease. J Pediatr 2012; 161: 471-5.

  12.  Tanpowpong P, Sabharwal S, Shah U. Fever, Jaundice and Liver Failure in an 18-year old Male. Clin Pediatr (Phila) 2012; 51: 699-702.

  13.  Tanpowpong P, Broder-Fingert S, Katz AJ, Camargo CA Jr. Predictors of duodenal bulb biopsy          performance in the evaluation of coeliac disease in children. J Clin Pathol 2012; 65: 791-4.

  14.  Ganguli K, Tanpowpong P, Katz AJ. Abdominal Pain After Hypovolemic Shock in a 5-year old Male. Clin Pediatr (Phila) 2012; 51: 1202-4.

  15.  Treepongkaruna S, Jitraruch S, Kodcharin P, Charoenpipop D, Suwannarat P, Pienvichit P, Kobayashi K, Wattanasirichaigoon D. Neonatal intrahepatic cholestasis caused by citrin deficiency: prevalence and SLC25A13 mutations among Thai infants. BMC Gastroenterol. 2012;12:141.

  16.  Tanpowpong P, Obuch JC, Jiang H, McCarty CE, Katz AJ, Leffler DA, Kelly CP, Weir DC, Leichtner AM, Camargo CA Jr. Multicenter Study on Season of Birth and Celiac Disease: Evidence for a New Theoretical Model of Pathogenesis. J Pediatr 2013; 162:501-4.

  17.  Tanpowpong P, Broder-Fingert S, Obuch JC, Rahni DO, Katz AJ, Leffler DA, Kelly CP, Camargo CA Jr. Multicenter Study on the Value of ICD-9-CM Code for Case Identification of Celiac Disease . Ann Epidemiol 2013; 23:136-42.

  18.  Tanpowpong P, Broder-Fingert S, Katz A, Camargo CA Jr. Characteristics of children with positive  celiac serology and normal villous morphology: Potential celiac disease. APMIS 2013; 121:266-71.

  19.  Ngoenmak T, Yimyam P, Treepongkaruna S. Reliability and validity of thai version ROME III questionnaire for children with functional gastrointestinal disorders. J Med Assoc Thai. 2013 Jul;96:790-3.

  20.  Johnson E, Broder-Finger S, Tanpowpong P, Bickel J, Lightdale J, Nelson CP.The use of the i2b2 tool to conduct a matched case-control clinical research study: advantages, disadvantages and methodologic considerations. BMC Med Res Methodol 2014, 14:16.

  21.  Tanpowpong P, Camargo CA Jr. Early life vitamin D deficiency and childhood-onset coeliac disease. Public Health Nutr 2014;17:823-6.

 

แผนการดำเนินงาน 

            ปรับปรุงงานข้อมูล ผู้ป่วยทางเดินอาหารและผู้ป่วยปลูกถ่ายตับเด็กให้ครบถ้วนรวมถึงพัฒนางานวิจัยในระดับประเทศและนานาชาติให้มากขึ้น

ด้านงานวิจัย (ที่กำลังดำเนินการอยู่)

            1.  ผู้ป่วยโรคตับและปลูกถ่ายตับ (liver diseases and liver transplantation)

            2.  ผู้ป่วยที่ได้รับการใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง (PEG)

            3.  ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease, GERD)

            4.  ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome, IBS)

            5.  ผู้ป่วยโรคอาเจียนเวียนซ้ำ (cyclic vomiting syndrome, CVS)

 

สำนักงาน (สถานที่ตั้ง)

             สาขาวิโรคทางเดินอาหาร สำนักงานแพทย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ชั้น 8 อาคาร 1

             คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

             270 ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400  

เบอร์โทรศัพท์/โทรสาร (ติดต่อ)

             โทรศัพท์ 02 201 1446   

             โทรสาร   02 201 1446