Benzodiazepines

 

 

 Benzodiazepines

 

Benzodiazepines เป็นกลุ่มยานอนหลับ และยาคลายเครียดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีอาการข้าง เคียงน้อย ยากลุ่มนี้จะมี analog หลายตัวที่เป็น prototype คือ diazepam

กลไกการเกิดพิษและพิษจลนศาสตร์ 
benzodiazepines ออกฤทธิ์โดยการเสริมฤทธิ์ของ GABA ซึ่งจะมีผลยับยั้งการทำงานของ neuron ในระบบประสาทส่วนกลาง ยากลุ่มนี้ใช้ในทางคลินิกเป็นยานอนหลับและยาคลายเครียด ยาคลายกล้ามเนื้อและ ยารักษาโรคลมชัก และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคล้ายคลึงกัน แต่จะแตกต่างกันที่เภสัชจลนศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง half- life ของ การกำจัดยา ระยะเวลาที่ออกฤทธิ์ขึ้นอยู่กับ half-life ของการกำจัดยา โดยสามารถแบ่งกลุ่มยา เป็นยาที่ออกฤทธิ์สั้น ปานกลาง หรือยาว (ตารางที่ 1) ขนาดของยาที่ทำให้เป็นพิษก็แตก ต่างกันแล้วแต่ชนิดของ ยาและ บุคคลแต่ละคน โดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะมีอาการพิษจากยาเมื่อได้รับยานั้นๆ เข้าไปปริมาณเป็นหลายเท่า ของขนาดยาที่ใช้ในการรักษา

อาการทางคลินิก 
หลังจากที่ผู้ป่วยรับประทานยาเข้าไปแล้วจะมีอาการง่วงซึม อาการจะเริ่มต้นภายใน 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง ในระยะแรกอาจจะมีอาการตื่นเต้นร่วมด้วย หลังจากนั้นจะค่อยๆ ซึมลง พูดจาวกวน ขยับสะเปะสะปะ ถ้าเป็นมาก จะซึมจนหมดสติได้ และไม่มี localizing signs อื่นๆ ร่วมด้วย โดยทั่วๆไปแล้ว coma มักจะไม่มากและ ไม่กดการ หายใจ ผู้ป่วยที่หมดสติและมี cardiopulmonary arrest นั้นพบน้อย มักจะเกิดร่วมในผู้ป่วยที่ได้รับ ยาอื่นๆ ที่กดระบบประสาทส่วนกลางอีกหลายตัว เช่น tricyclic antidepressant หรือ alcohol ในกรณีที่ ผู้ป่วยได้รับการฉีดยาเช่น diazepam เข้าหลอดเลือดดำโดยตรง หรือระยะหลังมีรายงานผู้ป่วยถึง แก่ชีวิตหลาย ราย เนื่องจากหยุดหายใจโดยการได้รับยาเกินขนาด โดยเฉพาะจะเป็นยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้นเช่น triazolam และ midazolam เป็นต้น การเจาะหาระดับยา benzodiazepines ในเลือดนั้นอาจจะช่วย ในการวินิจฉัยโดย เฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาหลายตัว หรืออาจช่วยบอกความรุนแรง ของการเป็นพิษและช่วยติดตาม ผลการ รักษาได้

การรักษา 
การรักษาภาวะเป็นพิษจาก benzodiazepines คือให้การรักษาแบบประคับประคองผู้ป่วยทั่วไปโดยเฉพาะการ ดูแล การหายใจ ป้องกันอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น และพิจารณาลดการดูดซึมของยา 

ส่วนการเพิ่มการขับถ่ายยาออกจาก ร่างกายนั้น มีการศึกษาพบว่าการให้ activated charcoal 30 g ผสมน้ำรับ ประทาน ทุก 4-6 ชั่วโมงนั้น อาจจะช่วยเพิ่มการขจัดยาออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น ส่วนการให้น้ำเกลือทางหลอด เลือดดำเร็วๆ ร่วมกับการฉีดยาขับปัสสาวะ furosemide นั้น ไม่ได้ช่วยให้การขับยาออกจากร่างกายเร็วขึ้นเลย เนื่องจากยา benzodiazepines จะถูกขับออกจากร่างกายทางตับ 

นอกจากนั้นแล้วจะทำให้ผู้ป่วยต้องปัสสาวะบ่อยๆ จะเป็นการรบกวนผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสภาวะ stress อยู่แล้ว
การให้ยาต้านพิษ ยาต้านพิษโดยเฉพาะของ benzodiozepines คือยา flumazenil (Anexate 0.5 mg/5 ml) ยา flumazenil จะไปจับกับ benzodiazepine receptor โดยที่ไม่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเลย และจับ receptor แบบ competitive inhibition โดยเข้าไปแย่งที่ benzodiazepines และสามารถแก้ฤทธิ์ของ benzodiazepines ได้หมด และถ้าให้ยา flumazenil ในขนาดสูงๆ ก็ไม่มีอาการข้างเคียง ขนาดที่ให้ 0.1 mg ทางหลอดเลือดดำทุกๆ 1 นาทีจนคนไข้ตื่น โดยทั่วไปใช้ประมาณ 0.2 mg แต่บางรายอาจจะต้องให้มากถึง 1 mg ผู้ป่วยมักจะฟื้นภายใน 5 นาที

ข้อควรระวังคือ flumazenil มี half-life ประมาณ 1 ชั่วโมง ดังนั้นการให้ยา flumazenil ในผู้ป่วยที่ได้รับ benzodiazepines ที่มี half-life ยาวเช่น diazepamอาจจะเป็นปัญหาเพราะการให้ยาแต่แรกดูเหมือนว่า ผู้ป่วยจะตื่นเป็นปกติ แต่พอฤทธิ์ของ flumazenil หมด เนื่องจาก half-life สั้นกว่าdiazepam ทำให้คนไข้กลับ ไปมีอาการเป็นพิษอย่างเดิมอีก นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้รับ flumazenil อาจจะมีอาการ rebound anxiety ในรายที่เคยมีอาการชักมาก่อน โดยจะถูกกระตุ้นจนชักขึ้นมาอีกได้ flumazenil ยังมีประโยชน์ใน การช่วยวินิจฉัย สาเหตุของผู้ป่วยที่ coma ว่าเป็นจาก benzodiazepines หรือไม่ ถ้าเป็นจากพิษของยาbenzodiazepines หลัง ฉีดยา flumazenil ผู้ป่วยควรจะฟื้น ถ้ายังไม่ฟื้นอาจจะต้องคิดถึงสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิด coma ต่อไป

     

เอกสารอ้างอิง
  1. Tracger SM, Haug MT. Reduction of diazepam serum half life and reversal of coma by activated charcoal in a patient with several liver disease. Clin Toxicol 1986;24:329-37.