สารพิษจากรา

 

 สารพิษจากรา

 

           ในประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น มีภูมิอากาศเหมาะสมแก่การเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต นานา ชนิด ตั้งแต่จุลินทรีย์, เห็ด, รา, ตลอดจนพืชและสัตว์นานาพันธุ์ ซึ่งจุลินทรีย์, รา, และเห็ดเหล่านี้สามารถ สร้าง สารพิษชีวภาพที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ได้สารพิษชีวภาพคือสารที่เกิดจากกระบวนการทางสรีรวิทยาของสิ่งมีชีวิต ต่างๆเมื่อคนหรือสัตว์ได้รับสารดังกล่าวนี้เข้าไปในร่างกายแล้วก่อให้เกิดพยาธิสภาพทำให้เจ็บป่วยจนกระทั่งถึงแก่ชีวิตได้ 

สารพิษจากราพิษ ในภูมิอากาศที่เหมาะสม โดยเฉพาะที่อากาศอบอ้าวและมีความชื้นสูง เชื้อราจะเจริญงอกงามได้ดี และบางสายพันธุ์จะสร้างชีวสารบางอย่าง ซึ่งเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ เชื้อราส่วนมากเจริญงอกงามได้ดีบนอาหาร, เมล็ดธัญญพืช และผลิตผลทางการเกษตรที่ใช้เป็นอาหารของคนและปศุสัตว์ เช่น ข้าว, ข้าวโพด, ถั่งลิสง, พริก ดังนั้นประเทศกสิกรรมซึ่งอยู่ในเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทย จึงเอื้ออำนวยให้เชื้อราเจริญงอกงาม และสร้างสารชีวพิษ
ไ ด้มาก โดยเฉพาะถ้าเก็บเกี่ยวไม่ดี หรือเก็บรักษาไว้ในที่อับชื้นค้างปี เชื้อราแต่ละสายพันธุ์จะสร้างสารพิษต่างชนิดกัน สามารถจำแนกสารพิษจากราตามลักษณะทางพิษวิทยาออกเป็นกลุ่มดังนี้.- 

1. พิษต่อตับ ได้แก่ aflatoxins 

2. พิษต่อเซลล์และระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ trichothecenes 

3. พิษต่อระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ได้แก่ ergot alkaloids 

4. พิษต่อไต ได้แก่ ochratoxin A 

5. พิษต่อระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ zearalenone 

สารพิษจากรา ส่วนใหญ่มักเป็นอันตรายต่อระบบต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยเรื้อรัง และอาจไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผลดี มีราพิษเพียงบางชนิดเท่านั้น ที่ก่อให้เกิดอาการอย่างเฉียบพลัน และต้องได้รับสารพิษในปริมาณที่มากจนทำให้เกิดอาการได้เช่น ergot alkaloids, trichothecenes, satratoxins เป็นต้น ราพิษบางอย่างมีพิษร้ายแรง มีการนำมาใช้ทางการยุทธ ทำให้ผู้ที่ได้รับเป็นอันตราย และเจ็บป่วยรุนแรงจนถึงแก่กรรมได้ 

การรักษาผู้ป่วยที่เกิดอาการพิษเฉียบพลัน ดำเนินการเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับพิษ หรือยาเกินขนาดโดยทั่วไป ได้แก่ การรักษาประคับประคองให้ผู้ป่วยพ้นขีดอันตราย,การลดปริมาณสารพิษที่ร่างกายได้รับ โดยการทำให้อาเจียน หรือใช้สายยางสวนล้างกระเพาะอาหารและให้ activated charcoal ในปัจจุบันแทบ จะไม่มียาต้านพิษใดๆ ที่ใช้รักษาภาวะพิษจากราพิษอย่างได้ผลเลย จึงต้องทำการรักษา ไปตามลักษณะอาการที่เกิดขึ้นตามระบบต่างๆ 

1. พิษต่อตับ สารชีวพิษจากรา ซึ่งเป็นพิษต่อตับที่สำคัญ ได้แก่ aflatoxins สารนี้ถูกสังเคราะห์โดยเชื้อรา Aspergillus flavus, Aspergillus parasiticus ฯลฯ ซึ่งพบได้ง่ายทั่วไปในสิ่งแวดล้อโดยเฉพาะในอาหาร และผลิตผลทางการเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วลิสง กระเทียม พริกแห้ง กุ้งแห้ง สมุนไพร และอาหารที่ทำจากนม ราดังกล่าวเจริญงอกงามได้ดีในภาวะที่ความชื้นสูงและอากาศอบอุ่น สาร aflatoxins สามารถทนต่อความร้อนได้สูง 
ถึง 250oC ความร้อนจากขบวนการ หุงต้มหรือการอบนึ่งฆ่าเชื้อ อาจลดความเป็นพิษได้บ้าง แต่ไม่สามารถทำลายพิษได้ จึงเป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพของผู้บริโภค เมื่อคนได้รับสารพิษซึ่งปะปนมากับอาหารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายสารพิษจะ เข้าไป ทำปฏิกิริยาทางชีวเคมีกับ DNA ทำให้การสังเคราะห์ DNA และ RNA ถูกหยุดยั้ง รวมทั้งสารพิษอาจเข้าไป รวมตัวกับ endoplasmic reticulum ทำให้การสร้างโปรตีนถูกรบกวน และหยุดชะงักลงตลอดจนเป็นอันตรายต่อ สารทางพันธุกรรมด้วยสารชีวพิษนี้อาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้คือ 

1.1 โรคตับอักเสบเฉียบพลัน มีรายงานจากประเทศอินเดียเมื่อปีพ.ศ.2517 ว่าเด็กที่รับประทานข้าวโพดที่ขึ้นรา ป่วยด้วยโรคตับอักเสบเฉียบพลัน มีผู้ป่วยอย่างน้อย 397 ราย และถึงแก่กรรม 106 ราย ตรวจพบสาร aflatoxins ในข้าวโพดสูงถึง 6-15 mg/kg นอกจากนี้มีรายงานจากประเทศไต้หวัน, อูกานดาและเยอรมันจึงพอสรุปได้ว่าสารนี้เป็น พิษต่อตับโดยเฉพาะในเด็ก 

1.2 Reye's syndrome เป็นกลุ่มอาการของโรคที่มักเกิดขึ้นในเด็กวัยก่อนเรียน (3-8 ขวบ) มีอาการไข้ ปวดท้อง อาเจียน และชัก มักถึงแก่กรรมภายใน 24-72 ชั่วโมง จากการตรวจศพพบสมองบวม มีไขมันแทรกระหว่างเซลล์ของ อวัยวะ ต่างๆ และมีเลือดออกเป็นจุดเล็กๆ ภายในด้วย ในประเทศไทยมีรายงานโรค Udorn encephalopathy ซึ่งมีลักษณะคล้ายกลุ่มอาการ Reye's syndrome เกิดจากผู้ป่วยกินข้าวเหนียวค้างคืนที่ขึ้นราจากการตรวจเนื้อเยื่อ ตับของ เด็กที่ตายพบสาร aflatoxins สะสมอยู่มาก นอกจากนี้มีรายงานจากประเทศออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม มีผู้ตรวจ พบเชื้อไวรัสในเด็กบางคนที่ตายด้วยโรคนี้ จึงยังสรุปสาเหตุที่แท้จริงไม่ได ้ 

1.3 โรคมะเร็งตับ มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปริมาณสาร aflatoxins ที่ได้รับจากอาหารประจำวัน มีความสัมพันธ์กับ
อุบัต ิการณ์ของ โรคมะเร็งตับ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีเชื้อราซึ่งสร้างสาร aflatoxins เจริญงอกงามในอาหาร และผลิต ผล การเกษตรเช่น เคนยา สวาซิแลนด์ โมแซมบิก และไทย เป็นต้น อย่างไรก็ตามในบริเวณดังกล่าวมีอุบัติการณ์ของการ
ติด เชื้อ ไวรัสตับอักเสบบีสูงด้วย จึงยังไม่อาจสรุปได้ว่าสาร aflatoxins เป็นสาเหตุที่แท้จริงหรือไม่ แต่อาจเป็นสาเหตุ ร่วม กับเชื้อไวรัสในการก่อมะเร็งตับได้ นอกจากนี้มีสารชีวพิษอื่นที่ทดลองใน สัตว์แล้ว พบว่าเป็น พิษต่อตับ และสามารถ ก่อมะเร็งตับได้ ที่สำคัญคือ luteoskyrin และ cyclochlorotine 

2. พิษต่อระบบเซลล์และภูมิคุ้มกัน สารชีวพิษที่สร้างโดยเชื้อรา ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายเซลล์ที่กำลังแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว อาทิเซลล์ในไขกระดูก เซลล์บุเยื่อเมือกของทางเดินอาหาร ฯลฯ สารชีวพิษนี้ได้แก่ trichothecenes ซึ่งสร้างจากเชื้อรา ที่ขึ้นได้ในอุณหภูมิต่ำ เช่นเชื้อราในสกุล Fusarium, Acremonium, Trichothecium เป็นต้น แม้ว่าเชื้อรา ดังกล่าวนี้จะไม่ค่อยพบในประเทศไทย แต่ได้มีการนำสารชีวพิษจากเชื้อรา ดังกล่าวมาใช้ในทาง การยุทธและวินาศกรรม ที่เรียกว่า "ฝนเหลือง" ตลอดจนอาจใช้เป็นยารักษาโรคมะเร็ง จึงควรที่จะได้ศึกษาความเป็นพิษของสารนี้ไว้โดยสังเขป 
Trichothecium ประกอบด้วยสารชีวพิษมากกว่า 30 ชนิด ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีทั้งทางเดินอาหาร การหายใจ และทางผิวหนัง ก่อให้เกิดโรคในคนและสัตว์ได้กว้างขวาง สารพิษที่สำคัญได้แก่ epoxy trichothecenes, satratoxins, stachybotryotoxins, fusarenon x และ nivalenol 

2.1 Epoxy trichothecene (T-2 toxin) ทำให้เกิดโรค alimentary toxic aleukia (ATA) ก่อปัญหาในประเทศที่มีอากาศหนาวหิมะลง อาการพิษได้แก่ 
ระยะแรก เมล็ดพืชที่ขึ้นรา อาการจะเริ่มในเวลาไม่กี่นาทีถึงเพียงไม่กี่ชั่วโมง รู้สึกแสบร้อนในปาก ลิ้น ลำคอ เพดาน หลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร, ลิ้นรู้สึกพองโตขึ้นและแข็ง, เยื่อบุในปากแดงจัด, กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ทำให้ ปวดท้อง อาเจียน และท้องร่วง ผู้ป่วยส่วนมากจะมีน้ำลายไหลมาก ปวดศีรษะ มึนงง อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และชีพจรเร็ว ระยะที่สอง เป็นระยะปลอดอาการ ระยะที่สาม มีจุดเลือดออกที่ผิวหนังตามลำตัว มีเลือดกำเดา และเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ ระยะที่สี่ เป็นระยะพักฟื้น 

2.2 Satratoxins และ stachybotryotoxins สารชีวพิษชนิดนี้เกิดจากเชื้อ Stachybotrys alternans หรือ S.satra ซึ่งชอบขึ้นในอาหารที่มีเซลลูโลส เช่น ฟาง เศษพืช ผัก เศษผ้า เศษกระดาษ ฯลฯ คนได้รับสารพิษ นี้จากการรับประทานเข้าไปโดยตรง หรือคนที่ทำงานในไร่นาที่มีเชื้อรา และสารพิษปนเปื้อนแล้วสูดดมเข้าไป หรือเข้าทางผิวหนัง ทำให้มีอาการผิวหนังอักเสบเป็นผื่น เยื่อบุอักเสบ ปวดแสบปวดร้อนในปาก มีเลือดกำเดาออก ไอ เจ็บหน้าอก มีไข้ ตรวจนับเม็ดเลือดพบเม็ดเลือดขาวต่ำ ตรวจทางพยาธิวิทยาพบเลือดออกที่อวัยวะภายใน โดยเฉพาะที่เยื่อบุทางเดินอาหาร 

2.3 Fusarenon X และ nivalenol เกิดจากเชื้อรา Fusarium graminearum และ F. nivale ซึ่งขึ้นในข้าว ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี สารนี้เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อที่กำลังเจริญ เช่นเซลล์เม็ดเลือด เซลล์เยื่อบุลำไส้ และเซลล์สืบพันธุ์ เมื่อประ มาณ 50 ปีก่อน มีการเกิดโรคระบาดจากการรับประทานข้าวสาลีที่ขึ้นราในญี่ปุ่น ทำให้มีผู้ป่วยถึง 158 คน มีอาการอ่อน เพลีย อาเจียน และท้องร่วง การรักษาประกอบด้วยการรักษาประคับประคองอย่างเต็มที่ ในระยะแรกอาจ ให้ดื่มนมเพื่อ ลดอาการระคายเคืองให้ activated charcoal และเฝ้าติดตามตรวจนับเม็ดเลือด ให้เลือดและส่วนประกอบ ของเลือด ทดแทนเมื่อจำเป็น เมื่อผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวต่ำลงควรแยกผู้ป่วยให้ห่างจากผู้ป่วยติดเชื้อ และให้การดูแลรักษา เช่นเดียว กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อง่ายโดยทั่วไป 

3. พิษต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ สารชีวพิษจากเชื้อราที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้แก่ ergot alkaloids สารนี้เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วในประเทศจีน หญิงจีนเวลาใกล้คลอด นิยมรับประทานข้าวสาลีที่ขึ้นรา เพื่อเร่งการคลอด มีบันทึกการเกิดพิษจากเชื้อรานี้มากกว่า 2,000 ปี เคยทำให้เกิดโรคระบาดในฝรั่งเศส ทำให้ผู้ป่วย มีแผลเน่า เปื่อยที่ผิวหนังบริเวณขา ทำให้ขาลีบดำ และถึงแก่กรรม ปัจจุบันมีการนำมาใช้ประโยชน์ในทาง สูตินรีเวช กรรม และรักษาโรคไมเกรนErgot alkaloids เป็นอนุพันธุ์ ของ lysergic acid สร้างจากเชื้อราสกุล Claviceps ประกอบด้วยชีวสาร 2 ชนิดคือ amino acid alkaloids และ amine alkaloids สารนี้ถูกดูดซึมจากทางเดิน อาหารได้ไม่ดีเท่าใดนัก ออกฤทธิ์ต่อประสาททั้งส่วนกลางและส่วนปลาย ในระบบประสาทกลางมีผลsympathetic กระตุ้นและเสริมฤทธิ์ serotonin ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทประเภทยับยั้งในระบบประสาทส่วนปลายออกฤทธิ์ partial alpha-agonist หรือเป็น antagonist ที่ adrenergic, dopaminergic และ tryptaminergic receptors นอกจากนี้ยังมีผลโดยตรงทำให้หลอดเลือดแดงเล็กหดเกร็งจากผลการออกฤทธิ์ดังกล่าวถ้าได้รับสาร พิษจำนวนมาก จะเกิดอาการเฉียบพลันได้แก่ ปวดศีรษะ อาเจียน ท้องร่วง ชีพจรช้า หายใจขัด ความดันโลหิตต่ำหรือสูงและชัก บางรายที่ได้รับพิษเรื้อรังจะมีอาการอาเจียน ท้องร่วง ปวดศีรษะ สั่น ใบหน้ากระตุก และชัก อาการในส่วนรอบ นอกจะ รู้สึกชาที่แขนขา เจ็บหน้าอก เนื้อบริเวณปลายแขนขาตาย เลือด แข็งตัวง่าย และหลอดไตถูกทำลาย (จากหลอดเลือด ไตหดเกร็ง)การรักษาขึ้น อยู่ กับความรุนแรง ของอาการเกิดพิษ ในรายที่หลอดเลือด หดเกร็ง รุนแรงต้อง ให้ยาขยาย หลอดเลือดเช่น nitroprusside หรือ nitroglycerine นอกจาก นี้ควรให้รับประทาน prazosin 1 mg วันละ 3 ครั้ง, และ captopril 50 mg วันละ 3 ครั้ง ถ้าผู้ป่วยชักให้ diazepamเข้าหลอดเลือด ดำช้าๆ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีรายงานการเกิดพิษจากสารนี้ในธรรมชาติน้อยมาก การเกิด พิษส่วนใหญ่เกิด จากการใช้ยานี้รักษาโรค และให้เกินขนาดจนเกิดพิษ 

4. พิษต่อไต สารชีวพิษจากเชื้อราที่ทำลายเซลล์ไต ด้แก่ ochratoxin ซึ่งสร้างโดยเชื้อรา Aspergillus ochraceus และเชื้อราในสกุล Penicillium บางชนิด ซึ่งขึ้นในข้าวสาลี และข้าวโพด ทำให้เยื่อบุหลอดไตฝ่อ มีพังผืดบริเวณ cortex และ glomerulus ทำให้โปรตีนรั่วออกทางปัสสาวะ อาการที่เกิดขึ้นจะค่อยเป็นค่อยไป มีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร บางรายปวดหลังมากคล้ายมีนิ่วที่ไต ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด ไตวายเรื้อรัง และหดเล็กลง จนถึงแก่กรรมในที่สุด นอกจากนี้มีสารชีวพิษจากเชื้อราอื่น ที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพ ที่ไตคล้ายกับสาร ดังกล่าวได้แก่ rubratoxins และ citrinin 

5. พิษต่อระบบสืบพันธุ์ สารชีวพิษที่สร้างจากเชื้อราพวก Fusarium ซึ่งขึ้นบนข้าวบาเล่ย์ ข้าวโพด และข้าวสาลี ซึ่งออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนได้แก่ สาร zearalenone ทำให้เกิดผลกระทบต่อปศุสัตว์พวกหมู ทำให้อวัยะเพศ บวมและเต้านมโต ในขณะตั้งท้องทำให้ลูกตาย หรือทุพพลภาพในโครงกระดูก ยังไม่มีรายงานการ เกิดพิษ จากสาร
นี้ใน มนุษย์ จะเห็นได้ว่า ราสามารถสร้างชีวสารที่เป็นพิษต่อคนและสัตว์ได้กว้างขวาง ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ทำให้เจ็บป่วยและกระทบต่อเศรษฐกิจ สิ่งสำคัญคือควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ขึ้นรา หรือเก่าเก็บ, ปรับปรุงวิธีการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา การขนส่ง ตลอดจนกระบวนการอื่นๆ ที่อาจทำให้เมล็ดธัญญพืชแตกหัก และทำให้มีโอกาสขึ้นราน้อยที่สุด

 

เอกสารอ้างอิง 

  1. ธงธวัช อนุครรหานนท์. Human mycotoxicoses. รายงานการประชุมปฏิบัติการ "สารพิษจาก เชื้อราในประเทศไทย" มหาวิทยาลัยมหิดล และกระทรวงสาธารณสุข 13-14 มกราคม 2526.
  2. สมชัย บวรกิตติ. ยุทธการ "ฝนเหลือง". สารศิริราช 1982;34:319-320.
  3. สมชัย บวรกิตติ, วีกิจ วีรานุวัติ. "โรคสารพิษเชื้อราทริโมธีศีน". สารศิริราช 1982;34:309-312.
  4. ศมนีย์ ศุขรุ่งเรือง. Examination of the yellow samples collected from Thailand border close to Cambodia. สารศิริราช 1982;34: 643-647.