วิจัยและวิชาการ

ระบบและกลไก : นโยบาย, แผนงาน, การวิเคราะห์

ระบบและกลไกในส่วนของ นโยบาย แผนงาน และการวิเคราะห์ ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วนคือ

  1. Man power / Specification
     
  2. System
     
  3. Fund / Instrument / Machine

     โดยทางภาควิชารังสีกำหนดจุดมุ่งหมายคือ

  • กำหนดการวิจัยเป็นพันธกิจอย่างชัดเจน
  • มีทีมผู้ช่วยหัวหน้าภาควิชา ฝ่ายวิจัยและวิชาการ
  1. ผู้ช่วยหัวหน้าภาคฯฝ่ายวิจัยและวิชาการคนที่ 1 ดูแลงานวิจัยและวิชาการโดยรวม ดูแลเรื่องการทำตำแหน่งวิชาการ เป็นกรรมการวิจัยและวิชาการของคณะฯ
  2. ผู้ช่วยหัวหน้าภาคฯฝ่ายวิจัยและวิชาการคนที่ 2  ดูแลงานวิชาการเป็นหลัก
  3. ผู้ช่วยหัวหน้าภาคฯฝ่ายวิจัยและวิชาการคนที่ 3  ดูแลงานวิจัยเป็นหลัก และอยู่ในทีมงานด้านวิจัยและระบาดวิทยาของภาค
  4. นักวิจัย 1 ตำแหน่ง ดูแลรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ทางสถิติ สนับสนุนงานวิจัยของภาควิชา และเป็นเลขาพันธกิจวิจัย
  • มีนโยบายสนับสนุนอาจารย์แพทย์ที่มีความมุ่งมั่นในการทำงานด้านวิจัย โดยให้สิทธิลดงานด้านบริการตามสัดส่วนของงานวิจัยที่เพิ่ม รวมถึงสนับสนุนทางการเงินบางส่วนในการตีพิมพ์ผลงานวิจัย
  • มีการจัดบุคลากรหน่วยสนับสนุน โดยมีนักวิจัยเป็นผู้ช่วยในการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ทางสถิติในการสนับสนุนงานวิจัยของภาควิชารวมทั้งให้นักวิจัย เป็นเลขาพันธกิจวิจัยเพื่อติดตามและประสานงานกับอาจารย์แพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด
  • กำหนด Performance Agreement ด้านวิจัย ระหว่างภาควิชากับคณะฯ และภาควิชา กับอาจารย์ทุกคน
  • มีการผลักดันให้เกิดผลงานวิจัยของภาควิชา โดยการสนับสนุนด้านทุนวิจัยจากแหล่งต่าง ๆ  รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย (โดยการขออนุมัติลดหย่อนค่าบริการจากคณะ)
  • มีการติดตามงานวิจัยของภาควิชาทุก 6 เดือน และนำมาเป็นส่วนในการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ทำงานวิจัย เช่น การพิจารณาค่าตอบแทน Top up ส่วนที่ 2 ตามผลงานที่ดำเนินการและตีพิมพ์แล้ว
  • สนับสนุนให้มีงานวิจัยในระดับประเทศและระดับสากล  และเป็นประโยชน์ต่อการสาธารณสุขของประเทศ

    การวิเคราะห์จุดอ่อน – จุดแข็งของภาควิชารังวสีวิทยา

จุดแข็ง 1. เครื่องมือทันสมัย มีศักยภาพในการผลิตงานวิจัย
              2. ระบบ PACS ที่มีประสิทธิภาพ สามารถเก็บข้อมูลภาพและข้อมูลการอ่าน  นำมาศึกษาวิเคราะห์ภายหลังได้

จุดอ่อน 1. จำนวนอาจารย์มีน้อย -> บุคลากรด้านการวิจัยมีน้อย
               2. เวลาทำงานวิจัยมีน้อย -> งานบริการมีปริมาณมาก สืบเนื่องจากเครื่องมือที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

ระบบและกลไก : การบริหารจัดการ

  • แบ่งงานวิจัยเป็น 3 ส่วน
  1. งานวิจัยของแพทย์ประจำบ้าน / แพทย์ประจำบ้านต่อยอด /นักศึกษา ป. โท ฟิสิกส์การแพทย์
  2. งานวิจัยของอาจารย์
  3. ผลงานวิจัยบุคลากรสายสนับสนุน (R to R) (นักฟิสิกส์การแพทย์ สำนักงานภาควิชา พยาบาล นักรังสีการแพทย์ ส่วนงานสารสนเทศ)

ระบบและกลไก : การบริหารจัดการ, ติดตาม, เผยแพร่

     งานวิจัยของแพทย์ประจำบ้าน / แพทย์ประจำบ้านต่อยอด มีมาตรฐานดังนี้

  1. มีจำนวนอาจารย์ที่ปรึกษาต่อจำนวน R/F อย่างน้อย  1:1
  2. R/F ต้องทำงานวิจัยอย่างน้อยคนละ 1 เรื่องต่อ 1 หลักสูตร
  3. R ต้อง present proposal ในเดือนธันวาคมของชั้นปีที่ 2 เพื่อให้ทีมอาจารย์ผู้ดูแลงานวิจัยได้ตรวจสอบแก้ไขระเบียบวิธีวิจัยตั้งแต่แรก
  4. R/Fขออนุมัติทำการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมฯ
     
  5. R ต้อง present result ในเดือนธันวาคมของชั้นปีที่ 3
     
  6. R/F ทุกคนต้องเสนอ Oral presentation แก่กรรมการราชวิทยาลัยรังสีแพทย์ฯในเดือนมีนาคมปีที่จะจบการศึกษา
  7. R/F ทุกคนทำ Virtual presentation ในงานประชุมวิชาการของคณะฯ
     

     งานวิจัยของอาจารย์ปฏิบัติตาม KPI ของคณะฯตามที่หัวหน้าภาคฯรับมา  โดยอาจารย์สามารถมีงานวิจัยได้โดย

  1. เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอด
  2. ร่วมงานวิจัยของภาคฯอื่น/สถาบันอื่น
  3. สร้างงานวิจัยโดยการขอทุนหรือทำงานวิจัยแบบ R-to-R
  4. นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการทั้งในและต่างประเทศ
  5. ส่งผลงานตีพิมพ์
  6. สร้างงานวิจัยในสายงานการศึกษา
  7. ร่วมสร้างงานและ/หรือเป็นที่ปรึกษาแก่งานวิจัยในสายงานธุรการ

ผลงานวิจัย :  การนำไปใช้แก้ปัญหา

  • นำผลงานวิจัยไปปรับใช้กับงานบริการ เพื่อแก้ปัญหางานบริการที่มีอยู่เดิม และทำให้งานบริการดีขึ้น
  • ผลิตตำรา/หนังสือโดยอ้างอิงงานวิจัย เพื่อเผยแพร่ความรู้  ให้นำไปใช้แก้ปัญหาได้ในวงกว้าง

ระบบและกลไก : นโยบาย, การดำเนินการ

  • กำหนดนโยบายผลักดันให้ภาคฯเป็นผู้นำด้านการบริการวิชาการ
  1. จัดประชุมวิชาการเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
  2. รับบุคลากรศึกษาดูงาน ทุกระดับ
  3. บุคลากรของภาคฯออกไปเป็นวิทยากรภายนอก ในหลายระดับ (โดยกระทบต่องานบริการของภาควิชาให้น้อยที่สุด)
  4. ส่งเสริมบุคลากรของภาคฯในการทำตำแหน่งวิชาการ

การรับฟังความคิดเห็น

  • มีแบบสำรวจความคิดเห็นและประเมินโดยผู้รับบริการทางวิชาการ
  • นำข้อมูลจากแบบประเมินมาปรับปรุง พัฒนาการให้บริการ
  • จัดการประชุมวิชาการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ  และให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
  • มีฐานข้อมูลผู้รับบริการทางวิชาการ

การพัฒนาบุคลากร/ผลิตภัณฑ์

  • พัฒนาบุคลากรและผลิตภัณฑ์สอดคล้องกับกลยุทธ์ของคณะฯ
  1. วางแผนการประชุมวิชาการอย่างต่อเนื่อง
  2. มีส่วนร่วมในงานสถานีโทรทัศน์ภายใน (Rama Channel)
     
  3. บูรณาการการบริการวิชาการกับพันธกิจอื่นๆ
  4. พัฒนาบุคลากรเป็นผู้ให้บริการทางวิชาการที่มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ ได้รับการยอมรับในวงวิชาการ
  • สนับสนุนการขอตำแหน่งวิชาการ