Neurointerventional Radiology

 

 

 

หน่วย รังสีร่วมรักษาระบบประสาท คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้เปิดให้บริการตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา โดยมีเป้าหมายที่จะให้บริการด้านการแพทย์ ด้านโรคหลอดเลือดสมองและไขสันหลังที่มีมาตรฐานระดับสากล และเป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในระดับภูมิภาค รวมทั้งผลิตผลงานวิจัยในระดับภูมิภาคและระดับสากล โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ด้านดังนี้

  1. ด้านการศึกษา

    1.1  ระดับนักศึกษาแพทย์ (Under grad medical student training program) ให้การศึกษาสำหรับนักศึกษาแพทย์รามาธิบดีชั้น ปี 4, 5 และ 6 ตามหลักสูตร พ.บ. รามาธิบดี ปีละ 120-140 คน รวมทั้งนักศึกษา Elective ทั้งจากรามาธิบดีและจากต่างสถาบัน รวมปีละ 110 คน

    1.2  ระดับหลังปริญญา (Post grad residency training program) ให้การศึกษา หน่วยรังสีร่วมรักษาระบบประสาท ตามหลักสูตรวุฒิบัติรังสีวิทยา ของราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย สำหรับแพทย์ประจำบ้านของรามาธิบดี ปีละ 20 คน เป็นระยะเวลารุ่นละ 3 ปี รวมทั้งแพทย์ประจำบ้านจากหน่วยงานอื่นๆ Elective ปีละ 8-10 คน จากทั่วประเทศ

    1.3  ระดับแพทย์เฉพาะทาง (Fellowship training program) ให้การศึกษา หน่วยรังสีร่วมรักษาระบบประสาท ตามหลักสูตรวุฒิบัติ รังสีวิทยาอนุสาขารังสีร่วมรักษาระบบประสาท ของราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย สำหรับแพทย์ประจำบ้านต่อยอดของโรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นระยะเวลารุ่นละ 2 ปี ปีละ 2 คน

    1.4  ระดับปริญญาโท (MSc program in Neurovascular disease) ให้การศึกษา ตามหลักสูตร ปริญญาโทนานาชาติ สาขา Neurovascular disease ซึ่งเป็นหลักสูตรร่วมกันของ Paris sud university and Mahidol University เป็นระยะเวลารุ่นละ 2 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนได้ปิดหลักสูตรลงในปี พ.ศ. 2552 และได้เปลี่ยนหลักสูตรจากเวลานั้น เป็นหลักสูตร Diploma course in Neurovascular disease หรืออีกชื่อคือ PLANET course เพื่อให้เกียรติแก่ประธานในหลักสูตรเดิม คือ Professor Pierre Lasjaunias จาก Paris sud University ซึ่งเสียชีวิตลงในช่วงกลางปี พ.ศ. 2551 โดยหลักสูตรใหม่นี้เป็นความร่วมมือกันของ Tufts University (USA) and University of Toronto (Canada) and Ramathibodi hospital รวมจำนวนนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากทั้งสองหลักสูตร กว่า 30 ประเทศทั่วโลก มากกว่า 300 คน
     

  2. ด้านงานวิจัย

    -  Cervical spine dural arteriovenous fistula presenting with congestive myelopathy of the conus. J Neurosurg Spine. 2009 Oct;11(4):427-31.
    -  Dural arteriovenous shunts: a new classification of craniospinal epidural venous anatomical bases and clinical correlations. Stroke. 2008 Oct;39(10):2783-94. Epub 2008 Jul 17.
    -  Abducens-oculomotor synkinesis associated with internuclear ophthalmoplegia and acquired abducens nerve palsy. J Pediatr Ophthalmol Strabismus. 2006 Jul-Aug;43(4):246-9.
    -  Hydrocephalus in unruptured brain arteriovenous malformations: pathomechanical considerations, therapeutic implications, and clinical course. J Neurosurg. 2009 Mar;110(3):500-7.
    -  Multiple symptomatic cerebral arteriovenous malformations in a patient with HIV. AJNR Am J Neuroradiol. 2009 Jun;30(6):1273-4. Epub 2009 Feb 26.
    -  Pathomechanisms of symptomatic developmental venous anomalies. Stroke. 2008 Dec;39(12):3201-15. Epub 2008 Nov 6.
    -  Sclerosing therapy for orbital lymphangioma using sodium tetradecyl sulfate. Jpn J Ophthalmol. 2008 Jul-Aug;52(4):298-304. Epub 2008 Sep 5.
    -  Trigeminal fistula treated by combined transvenous and transarterial embolisation. Acta Neurochir (Wien). 2008 Jun;150(6):583-8. Epub 2008 Apr 25. Review.
    -  PHACES syndrome: a review of eight previously unreported cases with late arterial occlusions. Neuroradiology. 2004 Mar;46(3):227-33. Epub 2004 Jan 31.
    -  Pitfall of electron beam computed tomography angiography in diagnosis of subclavian steal syndrome. J Neuroimaging. 2002 Jan;12(1):80-3.
     

  3. ด้านงานบริการ

          หน่วย รังสีร่วมรักษาระบบประสาทได้บริการการรักษาแก่ผู้ป่วยโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 500 ราย โดยจำแนกเป็นการให้การวินิจฉัยประมาณปีละ 200 ราย และทำการรักษาปีละประมาณ 300 ราย ในด้านการรักษานั้นจำแนกเป็นการรักษาโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (aneurysm) 40 ราย ถ่างขยายหลอดเลือด (angioplasty-stent) ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดสมองหรือหลอดเลือดแดงคอตีบ 4 ราย รักษาโรคหลอดเลือดเชื่อมต่อกันอย่างผิดปกติแต่กำเนิด (arteriovenous malformation) 70 ราย โรคหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำเชื่อมกันอย่างผิดปกติ (dural arteriovenous fistula and dural arteriovenous malformation) 80 ราย โรครูรั่วหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำบริเวณฐานกระโหลกจากอุบัติเหตุ (traumatic carotid cavernous sinus fistula) 40 ราย โรคหลอดเลือดไขสันหลัง (spinal cord arteriovenous malformation) 20 ราย อุดหลอดเลือดก่อนทำการผ่าตัด (Pre-operative embolization) 26 ราย เสริมความแข็งแรงและลดอาการปวดหลัง (vertebroplasty) 5 ราย การรักษาโรคอื่นๆ ได้แก่ epitaxis, spine biopsy ตัวอย่างการให้บริการรักษา เช่น