โรคดึงผม
หน้าแรก
“โรคดึงผม” โรคทางจิตเวชที่คนเป็นอาจไม่รู้ตัว
“โรคดึงผม” โรคทางจิตเวชที่คนเป็นอาจไม่รู้ตัว

ปัจจุบันสภาพคนในสังคมมีความเครียดเพิ่มมากขึ้น ด้วยปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อสภาวะจิตใจ ทำให้มีอาการทางจิตเวชโดยไม่รู้ตัว วันนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องของ “โรคดึงผม” ที่หลายคนอาจไม่รู้ว่านี่ก็เป็นอีกหนึ่งอาการทางจิตเวชที่ต้องได้รับการรักษา เนื่องจากโรคดังกล่าวส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพและสภาวะจิตใจ

โรคดึงผม อาจเกิดขึ้นโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว

โดยส่วนมากพบว่าผู้ป่วยมักมีอาการร่วมกันทั้ง 2 แบบ ซึ่งอาจจะรู้ตัวมากกว่าไม่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัวมากกว่ารู้ตัวแล้วแต่กรณีไป โดยการกระทำขณะที่รู้ตัวผู้ป่วยอาจจะรู้สึกไม่สบายหนังศีรษะ คัน หรือรู้สึกยุกยิก ๆ รวมไปถึงรู้สึกว่าเส้นผมไม่ตรงไม่เรียบทำให้อยากดึงออก เมื่อดึงออกแล้วจะรู้สึกสบายใจขึ้น รู้สึกโล่งขึ้น ขณะที่การดึงผมโดยไม่รู้ตัว มักจะดึงระหว่างทำกิจกรรมอื่น ๆ อยู่ เช่น ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ ทำงาน เป็นต้น เป็นการกระทำแบบเผลอที่ไม่รู้ตัวและไม่ได้ตั้งใจ

สำหรับอาการดึงผมปัจจุบันพบผู้ป่วยในอัตรา 4% ของคนทั่วไป

สามารถพบได้ในทุกเพศและทุกวัย ในวัยเด็กอาจจะไม่รุนแรงและค่อย ๆ รุนแรงขึ้นเมื่ออยู่ในช่วงวัยรุ่น สำหรับวัยผู้ใหญ่มักมีอาการเรื้อรังยาวนานแต่เพิ่งมารักษา และจะรักษาได้ไม่ดีเท่ากับวัยเด็กและวัยรุ่น

บางกรณีมีการรับประทานเส้นผมเข้าไปด้วยก็จะส่งผลให้มีการสะสมในลำไส้ เกิดการอุดตันและส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยปัญหาหลัก ๆ ที่เกิดจากการดึงผมคือเสียบุคลิกภาพ ทั้งพฤติกรรมที่เป็นอยู่ และจากปัญหาศีรษะล้าน

ปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคดึงผม

อาจมีโรคทางจิตเวชบางอย่าง เช่น วิตกกังวลประเภทย้ำคิดย้ำทำ หรือการเป็นโรคซึมเศร้า รวมถึงพันธุกรรมก็เป็นปัจจัยหนึ่ง อาจมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคดึงผมเหมือนกัน หรือแม้กระทั่งความผิดปกติทางสมองและสารเคมีในสมอง สมาธิสั้น มีความเครียด หรือมีปัญหาทางด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นต้น

วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนอื่นต้องให้ผู้ป่วยรู้ตัวก่อนว่าเป็นโรคชอบดึงผม โดยเฉพาะในกรณีที่ดึงโดยไม่รู้ตัว เพื่อให้ผู้ป่วยควบคุมพฤติกรรมของตัวเอง แต่อย่าใช้วิธีการดุว่าหรือตำหนิแรง ๆ ให้ใช้วิธีเตือนให้เหมาะสม เพราะถ้าหากใช้อารมณ์ในการตำหนิ ผู้ป่วยอาจจะยิ่งดึงผมมากขึ้นก็ได้

วิธีการรักษา

ให้ผู้ป่วยหรือคนรอบข้างลองสังเกตพฤติกรรมก่อนว่าเวลาดึงผม ผู้ที่เป็นมักดึงผมตัวเองเวลาไหน เวลาเหงา เศร้า เบื่อ หรือเครียด เป็นต้น หรือชอบดึงผมในสถานการณ์ใด เช่น ขณะนั่งดูโทรทัศน์ ขณะนอนอยู่ในห้อง ฯลฯ เมื่อผู้ป่วยรู้ตัวแล้วก็จะควบคุมตัวเองได้ง่ายขึ้น สำหรับวิธีการรักษานอกเหนือจากนี้ก็คือการให้ยา โดยผู้ป่วยต้องไปปรึกษาแพทย์ก่อนเมื่อเริ่มรู้ตัวว่าตนเองมีอาการเหล่านี้

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.แสงศุลี ธรรมไกรสร ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
และอ. นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “”โรคดึงผม”อาการทางจิตที่คุณหรือคนใกล้ชิดอาจทำโดยไม่รู้ตัว!! : พบหมอรามา ช่วงBig Story” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง เลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หรือ ความดันเลือด สูง
ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจนทำให้หลายคนไม่รับรู้ถึง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นควรศึกษาความรู้เพื่อเลี่ยงการเกิดโรคนี้ในอนาคต
บทความสุขภาพ
27-03-2024

5

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า
รอยยิ้ม บนใบหน้าที่เป็นการแสดงความรู้สึกที่มีความสุข แต่ภายในจิตใจกลับทุกข์ไม่มีความสุข อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็นภาวะ Smiling Depression
บทความสุขภาพ
21-03-2024

9

พยาธิในปอด อาการ รักษา โรคพยาธิใบไม้ในปอด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกตามสุขอนามัย สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เสี่ยงกับการเป็น โรคพยาธิใบไม้ในปอด ได้
บทความสุขภาพ
20-03-2024

2

ไข้หวัดใหญ่อาการ รักษา ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A
“ไข้หวัดใหญ่” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่เกิดการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
บทความสุขภาพ
20-03-2024

8