1
หน้าแรก
ฝุ่นละอองตัวจิ๋ว พิษร้ายระดับหัวหน้าใหญ่
ฝุ่นละอองตัวจิ๋ว พิษร้ายระดับหัวหน้าใหญ่

ฝุ่นละอองขนาดใหญ่

มีขนาดมากกว่า 10 ไมครอน ฝุ่นละอองขนาดใหญ่นี้ จะติดอยู่บริเวณโพรงจมูกและปากเท่านั้น ซึ่งมีจำนวนกว่า 99% ของฝุ่นละอองทั้งหมด

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก

มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 5 ไมครอนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 10 ไมครอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้จะสามารถเข้าสู่หลอดลม (Trachea) และแขนงหลอดลม (Bronchus) ได้

ฝุ่นละอองขนาดเล็กจิ๋ว

มีขนาดตั้งแต่ 2.5 ไมครอนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ไมครอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กจิ๋วนี้จะสามารถเข้าสู่หลอดลมฝอย (Bronchioles) และถุงลม (Alveoli) ได้

ฝุ่นละอองขนาดเล็กกระจิ๋วหลิว

มีขนาดเล็กกว่า 0.02 ไมครอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกระจิ๋วหลิวนี้จะสามารถเข้าไปสู่กระแสโลหิตผ่านเส้นเลือดฝอยในปอดเข้าสู่ร่างกายได้

ฝุ่นละอองทำให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง ?

  • ไอ, จาม, มีน้ำมูก, เจ็บคอ, มีเสมหะ
  • ภูมิแพ้, ไซนัส, หายใจลำบาก, เจ็บหน้าอก
  • หลอดลมอักเสบ, หายใจมีเสียงดังอึด ๆ (Wheeze)
  • ปอดอักเสบเกิดพังผืด, โรคถุงลมโป่งพอง
  • โรคมะเร็งระบบทางเดินหายใจ

กลุ่มเสี่ยง

  • ผู้สูงอายุ
  • เด็กเล็ก
  • ผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์
  • ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับปอด และระบบทางเดินหายใจ
  • สถานที่ที่มีหมอกควันสูงและปัญหามลพิษ

การป้องกัน

  • สวมหน้ากากอนามัย
  • หลีกเลี่ยงการออกนอกอาคารหรือที่อยู่อาศัยหากไม่จําเป็น
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ
  • ล้างมือและล้างหน้าบ่อย ๆ
  • รักษาความสะอาดของที่อยู่อาศัย
  • เมื่อมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์
  • ผู้ป่วยโรคหอบหืดหรือโรคหัวใจ ให้พกยาติดตัวตลอดเวลา

หน้ากากอนามัยชนิด N95 กันฝุ่นเล็ก ๆ ได้ถึง 0.3 ไมครอน อายุการใช้งาน 3 สัปดาห์ เพื่อประสิทธิภาพควรเปลี่ยนใหม่ทุกวัน

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.ธเนศ แก่นสาร
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง