9มะเร็งช่องปาก
หน้าแรก
"มะเร็งช่องปาก" เกิดขึ้นได้อย่างไร
"มะเร็งช่องปาก" เกิดขึ้นได้อย่างไร

มะเร็งช่องปากเป็นอีกหนึ่งโรคที่อันตรายถึงชีวิต และมีปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันสำหรับคนบางกลุ่ม เกิดในผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง และจะพบมากในกลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

มะเร็งในช่องปากคือ

มะเร็งที่เกิดขึ้นที่ริมฝีปาก มักจะเกิดที่ริมฝีปากล่าง ซึ่งอวัยวะในช่องปากอาจเกิดโรคมะเร็งได้ในทุกตำแหน่ง ได้แก่ ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นใต้ลิ้น ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล

จากการศึกษาพบว่าปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค

ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มแอลกฮอล์ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งในช่องปากมากกว่าคนปกติถึงประมาณ 15 เท่า รวมถึงการกินหรือเคี้ยวหมากพลู ซึ่งมีสารก่อมะเร็งปะปนอยู่ จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้

การะระคายเคืองในช่องปากก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ

เช่น ฟันแตก ขอบฟันคม ทำให้เกิดการกระแทกอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้เนื้อเยื่อในช่องปากเป็นแผล เมื่อเกิดซ้ำอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นแผลเรื้อรัง เนื้อเยื่อบริเวณนั้นอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งได้ วิธีสังเกตการเกิดโรค หากมีรอยโรคสีขาวหรือสีแดงในปาก อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งในช่องปากได้ โดยการเกิดโรคนี้จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย

มะเร็งในช่องปากมีการแพร่กระจายได้ 3 ทาง คือ

การแพร่ไปยังอวัยวะข้างเคียง การแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองที่คอ และการแพร่กระจายไปยังกระแสเลือด ที่พบบ่อยคือการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่คอ แต่ที่พบในกระแสเลือดมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่เกิดในคนที่เป็นมากหรือรุนแรง

มะเร็งที่อยู่ด้านหน้าของช่องปากจะเกิดขึ้นช้ากว่ามะเร็งที่อยู่ด้านหลัง

เช่น มะเร็งริมฝีปากจะเกิดช้ากว่ามะเร็งโคนลิ้น สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด การฉายแสงรังสีหรือเคมีบำบัด มะเร็งในช่องปากอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ โดยมีอัตราการรอดชีวิต 5 ปีถึง 50% การพบเจอมะเร็งในระยะแรกจึงส่งผลดีต่อการรักษา ทางที่ดีควรดูแลรักษาช่องปากให้มากขึ้น ในเรื่องของการทำความสะอาด แปรงฟัน และหมั่นพบทันตแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อดูแลรักษาโรคในช่องปากตั้งแต่เริ่มต้น

 

ข้อมูลจาก
ทพญ.ธนพร ทองจูด
ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล งานทันตกรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Rama Focus | ทำความรู้จัก มะเร็งช่องปาก” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5