บทความ ธ.ค._๑๗๑๒๐๖_0002
หน้าแรก
หัวใจเต้นระริก ภาวะอันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง
หัวใจเต้นระริก ภาวะอันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง

หัวใจเต้นระริก เป็นภาวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติชนิดหนึ่ง และเป็นการเต้นผิดปกติของหัวใจที่พบบ่อยที่สุด มีโอกาสเกิดสูงขึ้นตามอายุ และสัมพันธ์กับโรคหัวใจชนิดอื่น ความรุนแรงของภาวะหัวใจเต้นระริกไม่ถึงกับทำให้เสียชีวิตทันที แต่นำมาซึ่งภาวะรุนแรง ได้แก่ อ่อนเพลียเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิตในภายหลังได้

หัวใจเต้นระริกคือ

เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับหัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่าง หากเกิดขึ้นกับหัวใจห้องล่าง คนไข้จะเสียชีวิตทันทีหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าไหลตาย แต่ถ้าหากเกิดกับหัวใจห้องบน จะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วมากและไม่สัมพันธ์กัน ทำให้หัวใจไม่มีการบีบตัว เกิดลิ่มเลือดตกตะกอนอยู่ที่หัวใจห้องบนตามมา จากนั้นลิ่มเลือดอาจไปอุดตันส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ หากไปอุดตันที่สมองจะทำให้เกิดอัมพาต โดยภาวะหัวใจเต้นระริกยังเป็นสาเหตุของอัมพาตประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยอัมพาตทั้งหมด

สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจเต้นระริก

มีหลายประการ แต่ปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดคืออายุ รองลงมาคือโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอด ตามลำดับ รวมถึงโรคอื่น ๆ อีกหลากหลายโรคด้วยกัน

ในคนไข้ที่มีอายุมาก ที่เกิดภาวะหัวใจเต้นระริกมักมาพบแพทย์ด้วยโรคอัมพฤกษ์อัมพาต จึงตรวจพบภายหลังว่ามีสาเหตุมาจากภาวะดังกล่าว เนื่องจากไม่มีอาการแสดงว่าเกิดภาวะหัวใจเต้นระริกให้เห็นก่อนหน้านี้ ขณะที่คนไข้อายุน้อย หากมีภาวะดังกล่าวจะมีอาการแสดง ซึ่งแสดงออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ใจสั่นและเหนื่อยง่าย

ในคนไข้ที่มีความเสี่ยงควรตรวจดูชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจอย่างสม่ำเสมอ โดยการจับชีพจรหรือวัดอัตราการเต้นของหัวใจผ่านแอพพลิเคชั่น ฯลฯ โดยคนไข้ที่มีความเสี่ยงสูงคือผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน เส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น หากพบอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติควรรีบพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที

การรักษาภาวะหัวใจเต้นระริกในผู้สูงอายุ

มักเป็นการรักษาเพื่อป้องกันอัมพฤกษ์อัมพาต ขณะที่ผู้ป่วยอายุน้อยจะเป็นการรักษาเพื่อควบคุมไม่ให้หัวใจเต้นเร็วเกินไปหรือรักษาเพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ

การรักษาเพื่อป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์อัมพาต

คือให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อชะลอการแข็งตัวของเลือด ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดลิ่มเลือดได้ 90% ส่งผลให้การเกิดอัมพฤกษ์อัมพาตลดลง

การรักษาเพื่อควบคุมไม่ให้หัวใจเต้นเร็วเกินไปหรือรักษาเพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ

ทำโดยการให้ยา การจี้หัวใจ และผ่าตัด แต่ส่วนมากแพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุก่อนว่าคนไข้มีโรคประจำตัวอื่นที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นระริกหรือไม่ หากมีจะทำการรักษาที่โรคนั้น

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.ธัชพงศ์  งามอุโฆษ
สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ ““โรคหัวใจเต้นระริก”ภาวะอันตรายของผู้สูงวัย : พบหมอรามา ช่วง Meet The Expert” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

2

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

9

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
Infographic
05-04-2024

6