มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็ง
หน้าแรก
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคร้ายใกล้ตัวที่ไม่อาจมองข้าม
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคร้ายใกล้ตัวที่ไม่อาจมองข้าม

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นอีกหนึ่งโรค มะเร็ง ที่อยู่ใกล้ตัวเรา และไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ควรใส่ใจและให้ความสำคัญ โดยการสังเกตตนเองอยู่เสมอ เมื่อพบเจอสิ่งผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือ

โรคที่มีเนื้องอกร้ายชนิดหนึ่งเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลืองหรือโครงสร้างต่อม ซึ่งระบบน้ำเหลืองก็เป็นระบบหนึ่งของภูมิคุ้มกัน ประกอบไปด้วย อวัยวะน้ำเหลือง ได้แก่ ม้าม และไขกระดูก ซึ่งภายในอวัยวะเหล่านี้จะเต็มไปด้วยน้ำเหลือง มีหน้าที่นำสารอาหารและเซลล์เม็ดเลือดขาวไปทั่วร่างกาย และเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านี้เกิดความผิดปกติ จึงทำให้เกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองขึ้นมา

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน โรคอันตรายเป็นได้ทุกวัย

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถเกิดได้ในทุกที่

เพราะต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น คอ รักแร้ ข้อพับแขน ข้อพับขา ช่องอกหรือช่องท้อง แต่ยังไงก็ตามเซลล์น้ำเหลืองก็ยังอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายด้วย ไม่ว่าจะเป็นลำไส้ หรือกระเพาะ จึงสามารถเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้หมดทุกที่

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการคาดการณ์เบื้องต้นพบว่ามีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

  1. ปัจจัยทางเคมี วัตถุทางเคมีที่อาจก่อให้เกิด มะเร็ง เช่น สารเคมีปราบศัตรูพืช น้ำยาย้อมผม เป็นต้น
  2. ปัจจัยทางภูมิคุ้มกัน ผู้ที่มีสมรรถภาพภูมิคุ้มกันโรคลดลง เช่น โรคเอดส์ การปลูกถ่ายอวัยวะ โรคไขข้ออักเสบ เป็นต้น
  3. ปัจจัยทางพันธุกรรม การเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้น มีความชัดเจนที่เกิดมาจากกรรมพันธุ์ทางครอบครัว เช่น พี่น้องอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตามลำดับ หรือเป็นพร้อมกัน
  4. สาเหตุจากไวรัส การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัส HIV เป็นต้น

ปัจจุบันมีการตรวจวินิจฉัยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ดีขึ้นมาก ส่งผลทำให้อัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น เนื่องจากการรักษาที่ดีขึ้น สำหรับวัยที่ตรวจพบมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามารถพบได้ในกลุ่มวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 20 ปีถึง 40 ปี ทั้งนี้ก็ยังมีการตรวจพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> Health Me Please |มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ในส่วนของอาการคือ

จะพบก้อนที่บริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ โดยก้อนเหล่านั้นจะไม่มีอาการเจ็บ ต่างจากการติดเชื้อที่จะมีอาการเจ็บที่ก้อนเนื้อ มีไข้ หนาวสั่น มีเหงื่อออกมากในกลางคืน เบื่ออาหาร น้ำหนักลดเร็ว อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก ต่อมทอนซิลโต ปวดศีรษะ ซึ่งอาการนี้มักพบบริเวณต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท แต่บางครั้งการคลำเจอก้อนก็อาจไม่ใช่ก้อนมะเร็งเสมอไป เพราะอาจเป็นเรื่องของการอักเสบจากการติดเชื้อ หรืออาจเป็นตัวโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง

โดยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาให้หายเด็ดขาดได้ ถ้าไม่ได้อยู่ในระยะแพร่กระจาย จึงควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอ หากคลำเจอก้อนเวลาอาบน้ำก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อการรักษาได้อย่างทันท่วงที

สำหรับระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

  •  ระยะที่ 1 พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพียงตำแหน่งเดียว เช่น บริเวณลำคอด้านซ้าย หรือบริเวณรักแร้ด้านขวา บริเวณใดบริเวณหนึ่ง
  •  ระยะที่ 2 พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่สองตำแหน่งขึ้นไป แต่จะต้องอยู่ด้านเดียวกันของกระบังลม เช่น บริเวณคอด้านซ้าย และคอด้านขวา หรือคอซ้ายกับรักแร้ซ้าย
  • ระยะที่ 3 พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้งส่วนบนและส่วนล่างของกระบังลม เช่น มีต่อมน้ำเหลืองโตที่รักแร้ร่วมกับที่ขาหนีบ
  • ระยะที่ 4 โรคจะกระจายออกนอกระบบน้ำเหลือง เช่น เกิดที่ไขกระดูก หรือเนื้อเยื่ออวัยวะอื่น เช่น ตับ ปอด สมอง กระดูก

วิธีการตรวจหา มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

แพทย์จะทำการซักประวัติคนไข้ และตรวจร่างกายเป็นลำดับ หรือตัดชิ้นเนื้อของต่อมน้ำเหลืองออกไปตรวจทางพิษวิทยา ส่วนการรักษาจะใช้วิธีการให้ยาเคมีบำบัด จำนวนครั้งในการให้ขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ดูแลในเคสนั้นๆ ซึ่งการรักษาโรคนี้จะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแลอยู่ หากตัวโรคมีความรุนแรงมากจะใช้วิธีการฉายแสงจากภายนอก หรือในคนไข้ที่มีข้อห้ามในเรื่องของการให้ยาก็จะได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้เช่นกัน โดยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะไม่ต้องผ่าตัด เนื่องจากเป็นโรคที่ตอบสนองต่อยาและแสงเคมีบำบัดมากๆ อยู่แล้ว

วิธีการดูแลตนเองสำหรับโรคนี้ คือ

พยายามทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาจจะเน้นอาหารที่มีพลังงานเยอะ เช่น ไข่ขาว หรืออาหารที่มีโปรตีนสูงก็ช่วยได้ เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ แต่ควรหลีกเลี่ยงพวกยาชุด ยาชุด ยาหม้อ ยาลูกกลอน และควรออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยให้สุขภาพดี

 

ข้อมูลจาก

อ. พญ.กีรติกานต์ บุญญาวรรณดี

หน่วยรังสีรักษา และมะเร็งวิทยา

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/

Website Rama mahidol : https://www.rama.mahidol.ac.th/

Facebook: https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5