โครงการพัฒนาศักยภาพประชากรไทย


โครงการพัฒนาศักยภาพประชากรไทย
 


          โครงการพัฒนาศักยภาพประชากรไทย เป็นโครงการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของประชากรไทยทุกกลุ่มอายุ เนื่องจากประชากรเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ การมีประชากรที่มีคุณภาพเป็นความปรารถนาสูงสุดของทุกประเทศ ปัญหาสุขภาพถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพของประชากรซึ่งเกิดได้ในทุกช่วงวัยของคน ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพประชากรไทยจึงต้องเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิต่อเนื่องไปจนถึงวัยชราอย่างครบวงจร โดยอาศัยองค์ความรู้ทางการแพทย์และหลักการสร้างเสริมสุขภาพที่ถูกต้องและทันสมัย รวมถึงสภาพสังคมที่เกี่ยวข้อง นำมาพัฒนาเป็นต้นแบบในการพัฒนาศักยภาพประชากรไทยอย่างเป็นองค์รวม และเผยแพร่ต่อไปให้กับหน่วยงาน สถาบัน ที่มีหน้าที่หลักในการพัฒนาประชากร ดำเนินการขยายผลไปสู่ระดับชุมชน สังคมและประเทศ

จุดมุ่งหมายของโครงการ คือ
  ๑. ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีทั้งทางด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต โดยมี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อายุขัยเฉลี่ยของประชากรไทยยาวนานขึ้น และปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพลดลง
  ๒. ประชาชนมีแหล่งความรู้ที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  ๓. ชุมชนมีความเข้มแข็ง และส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี โดยประชาชนและชุมชนเกิดความตระหนักเห็นความสำคัญของการพัฒนาสุขภาพอนามัย ตลอดจนพฤติกรรมที่เหมาะสม ชุมชนท้องถิ่นตระหนักและร่วมกันลดปัจจัยเสี่ยง ส่งเสริมปัจจัยเอื้อ และมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการผลักดันนโยบายสู่การปฏิบัติ
  ๔. หน่วยงานในประเทศมีต้นแบบในการพัฒนาศักยภาพประชากรที่เป็นมาตรฐานและเป็นประโยชน์

          สถาบันภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน มีส่วนร่วมและเป็นเครือข่ายในการสร้างวิถีชีวิตเพื่อการมีสุขภาพดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ปัจจุบันมีแผนการดำเนินงานแบ่งออก เป็น ๒ กลุ่ม คือ
๑. กลุ่มเด็กและวัยรุ่น คือ กลุ่มบุคคลที่มีช่วงอายุตั้งแต่ก่อนปฏิสนธิ จนถึง ๑๘ ปี มีกิจกรรมดังนี้

1 การพัฒนาเครือข่ายการป้องกันโรคพันธุกรรมเกิดซ้ำ  ศ.พญ.ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล 

2 การฝากครรภ์รูปแบบใหม่รามาธิบดี

รศ.นพ.พัญญู พันธ์บูรณะ

3 การส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างครบวงจร   

  3.1 การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กผ่านการอ่านในชุมชนนำร่องภาคเหนือ 

ผศ.ดร.ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล

  3.2 การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กผ่านการอ่านในกรุงเทพมหานครและชุมชน
       นำร่องภาคอีสาน 

รศ.พญ.นิชรา เรืองดารกานนท์ 
  3.3 นิทานสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย  รศ.พญ.นิชรา เรืองดารกานนท์ 
4 การพัฒนาทักษะและส่งต่อเด็กพิเศษก่อนวัยเรียนสู่ชั้นเรียน : ประสิทธิภาพของการจัดทำ
   โครงการต้นแบบด้านการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร
 สำหรับเด็กกลุ่มอาการออทิสติก
   ระดับปฐมภูมิก่อนวัยเรียน
 
อ.ดร.ปรียาสิริ มานะสันต์ 
5 อนามัยโรงเรียนและการคัดกรองสุขภาพเด็กวัยเรียนอย่างเป็นองค์รวม อ.พญ.สุธาทิพย์ เอมเปรมศิลป์ 
  5.1 การตรวจคัดกรองสุขภาพนักเรียนอย่างเป็นองค์รวม  อ.พญ.สุธาทิพย์ เอมเปรมศิลป์ 
  5.2 การนำร่องเพื่อใช้ต้นแบบการตรวจคัดกรองสุขภาพและภาวะโลหิตจางเด็กวัยเรียนในชุมชน  อ.พญ.สุธาทิพย์ เอมเปรมศิลป์ 
  5.3 การคัดกรองและช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาการเรียน  ผศ.นพ.มนัท สูงประสิทธิ 
6 พัฒนาทักษะชีวิตและทักษะสุขภาพเด็กวัยเรียน :  เครือข่ายโรงเรียนต้นแบบพัฒนาทักษะชีวิต
   และทักษะสุขภาพเด็กวัยเรียน
 
ศ.ดร.รุจา ภู่ไพบูลย์ 
7 การดูแลวัยรุ่นอย่างเป็นองค์รวม  อ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูล
  7.1 การดูแลแม่วัยรุ่นอย่างเป็นองค์รวม  อ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูล 
  7.2 ความหลากหลายทางเพศกับผลของการยอมรับของครอบครัวและสังคม  อ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูล
8 พัฒนาการตรวจวิเคราะห์ระดับไอโอดีนในน้ำนม  พ.ญ.อรพร ดำรงวงศ์ศิริ 

๒. กลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คือ กลุ่มที่มีช่วงอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขึ้นไป มีกิจกรรมดังนี้

9 การพัฒนาศักยภาพและรูปแบบการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการของผู้ใหญ่

รศ.ดร.นพวรรณ เปียซื่อ 

10 การพัฒนาความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้ใหญ่ 

ผศ.ดร.พัชรินทร์ นินทจันทน์ 

11 การจัดการและการลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ   

    11.1 การจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางพันธุกรรมของ xenobiotic metabolism
    genes และ environmental exposure ในบุคลากร 

ดร.จินตนา ศิริวราศัย 

12 การพัฒนารูปแบบช่วยเหลือและสร้างเสริมสุขภาพญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 

 

รศ.ดร.ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม 
13 การดูแลผู้สูงอายุอย่างครบวงจรและต่อเนื่อง   

    13.1 การสำรวจและติดตามต่อเนื่องสมรรถภาพสมอง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อม
    สมรรถภาพสมองในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุไทย

อ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน 

   13.2 การฝึกสมองในผู้ที่มีความจำบกพร่องเล็กน้อย โดยใช้ Cognitive stimulation and
   cognitive training program

ผศ.พญ.ดาวชมพู นาคะวิโร 
   13.3 ความชุกของภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยไทย ที่เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์  อ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน
   13.4 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลและการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน  ผศ.ดร.สุปรีดา มั่นคง 
14 การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอของผู้สูงอายุที่เป็นนักวิ่งระยะไกล  ผศ.ดร.พรทิพย์ มาลาธรรม 
15 รูปแบบการให้ความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อการดูแลตนเองในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนลงพุง  ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร  
16 การนำแนวทางการป้องกันการหกล้มและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนสู่การปฏิบัติ  อ.พญ.จิตติมา บุญเกิด
17 การศึกษาและติดตามภาวะสุขภาพและสมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุและการส่งเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย  ผศ.ดร.สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ 
18 การดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองเบ็ดเสร็จจุดเดียว  ผศ.พญ.ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา 
19 การทดสอบโปรแกรมและคู่มือการดูแลช่องปากด้วยตนเองของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด  อ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูล