รายวิชาเลือก ๔ รมวส ๕๓๔ (RAAS 534) การบำบัดความปวด (Pain Management)

 

วิสัญญีวิทยาประยุกต์ ๔
 
๑. ชื่อหลักสูตร     แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  
 
๒. รหัสรายวิชา   รมวส ๕๓๔  (RAAS 534)
ชื่อรายวิชา   วิสัญญีวิทยาประยุกต์ ๔ (การบำบัดความปวด)  
Applied Anesthesiology 4 (Pain Management)
 
๓. จำนวนหน่วยกิต ภาคปฏิบัติ ๒ หน่วยกิต  
 
๔. เงื่อนไขของรายวิชา
รายวิชาที่ต้องผ่านก่อน รมวส ๕๐๕  วิสัญญีวิทยาพื้นฐาน
จำนวนนักศึกษาที่เปิดสอน ครั้งละไม่เกิน ๖ คน 
 
๕. ประเภทวิชา วิชาเลือกทางคลินิก 
 
๖. ภาคการศึกษาที่เปิดสอน และปีการศึกษาที่เริ่มเปิดสอน  
เริ่มสอนในปีการศึกษา ๒๕๔๗  โดย
เปิดสอนสำหรับนักศึกษาปี ๕ ภาคปลาย ครั้งละ ๒ สัปดาห์ จำนวน ๓ ครั้ง (สัปดาห์ที่ ๔๓-๔๘)
เปิดสอนสำหรับนักศึกษาปี ๖ ครั้งละ ๒ สัปดาห์ จำนวน ๒๑ ครั้ง (สัปดาห์ที่ ๑-๔๒) 
 
๗. คำอธิบายรายวิชา 
 นิยามของความปวด  กลไกของความปวด  วิธีประเมินความปวด  ชนิดของความปวดที่พบทางคลินิกและหลักการรักษา   วิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการบำบัดความปวด  การใช้ยาแก้ปวด  วิธีบำบัดความปวดที่ไม่ใช้ยา  การฉีดยาชาสกัดกั้นการส่งผ่านความรู้สึกของเส้นประสาทส่วนปลาย  การให้ยาระงับปวดที่ควบคุมโดยผู้ป่วยเอง  การบำบัดความปวดโดยฉีดยาแก้ปวดกลุ่มฝิ่นเข้าในช่องไขสันหลังหรือช่องรอบไขสันหลัง  ภาวะแทรกซ้อนของการบำบัดความปวด  การบำบัดความปวดหลังผ่าตัด  การบำบัดความปวดในผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยปวดเรื้อรัง
 
๘. วัตถุประสงค์ของวิชา 
 
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษาแพทย์สามารถ
๘.๑ อธิบายความหมายและผลที่เกิดจากความปวดต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ดูแล และสังคม 
๘.๒ วินิจฉัยชนิดของความปวดและวางจุดประสงค์ในการรักษาได้ถูกต้อง ทั้งความปวดเฉียบพลัน เรื้อรัง และมะเร็ง 
๘.๓ เลือกวิธีการบำบัดความปวด, ยาแก้ปวด, ขนาดของยาและความถี่ของการให้ยา ได้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม 
๘.๔      อธิบายเภสัชวิทยาของยาแก้ปวดและยาเสริม  ฤทธิ์ข้างเคียง  รวมทั้งวิธีป้องกันและรักษาได้
๘.๕      สั่งการรักษาผู้ป่วยปวดเฉียบพลันที่ไม่ซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม
๘.๖      ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติหรือผู้ดูแลได้ตามความเหมาะสม
๘.๗      บอกได้ว่าเมื่อไม่สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยที่ปวดซับซ้อนและรักษายากได้ จะส่งต่อให้ใคร ที่ใด ได้บ้าง