เจาะประเด็น : ความขาวกับกลูตาไธโอน

เจาะประเด็น : ความขาวกับกลูตาไธโอน
Volume: 
ฉบับที่ 1 เดือน มีนาคม 2555
Column: 
Beauty Full
Writer Name: 
รศ.พญ.เพ็ญพรรณ วัฒนไกร หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์

เจาะประเด็น : ความขาวกับกลูตาไธโอน

ปัจจุบันวัยรุ่นจํานวนมากทั้งชายหญิงหันไปนิยมฉีดสารเพื่อทําให้ผิวขาว หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ กลูตาไธโอน (Glutathione) กันอย่างแพร่หลาย จากการสํารวจพบว่าวัยรุ่นที่นิยมฉีดผิวมีอายุโดยเฉลี่ยเริ่มต้นที่ 14 ปี ทั้งในกลุ่ม ผู้หญิง ผู้ชายและเพศที่สาม ด้วยกระแสความนิยมจากสื่อต่างๆ ที่พยายามสอดแทรกภาพลักษณ์และวัฒนธรรมให้คนจํานวนมากเชื่อว่าการมีผิวขาวใสจะทําาให้ตนดูดี ส่งผลให้กระแสความนิยมในการฉีดกลูตาไธโอนเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่มักหลงเชื่อคําโฆษณาและขาดการหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้ วันนี้เราจะมาตอบทุกประเด็นทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับสารเพื่อผิวขาวหรือกลูตาไธโอนโดย รศ. พญ.เพ็ญพรรณ วัฒนไกร แพทย์ประจําหน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ถึงผลดีและผลเสียแก่ร่างกายเพื่อเป็นการทําความรู้จักกับสารเพิ่มความขาวก่อนตัดสินใจเข้ารับการฉีด

เจาะประเด็น : ความขาวกับกลูตาไธโอน

Q: กลูตาไธโอนคืออะไร?

A: กลูตาไธโอนคือสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายเราสามารถสร้างขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งเราสามารถพบกลูตาไธโอนได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย กลูตาไธโอนมีหน้าที่ขับสารพิษออกจากร่างกาย ต่อต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย  และทําหน้าที่สร้างและซ่อมแซม DNA

Q: กลูตาไธโอนช่วยให้ผิวขาวได้จริงหรือไม่?

A: โดยปกติร่างกายของคนเราจะสร้างเซลล์เม็ดสีเมลานินอยู่ 2 ชนิด คือ เมลานินหรือเซลล์เม็ดสีผิวคล้ำและฟีโอเมลานินหรือเม็ดสีผิวขาว เมื่อร่างกายของเราได้รับกลูตาไธโอนในปริมาณมากก็ส่งผลให้การสร้างเมลานินน้อยลง และมีการสร้างฟีโอเมลานินเพิ่มขึ้นซึ่งจะทําให้ผิวพรรณดูขาวขึ้น อย่างไรก็ตามกลูต้าไธโอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพันธุกรรมของเซลล์เม็ดสีได้และเมื่อเวลาผ่านไปผิวก็จะกลับมาคล้ำเหมือนเดิม

เจาะประเด็น : ความขาวกับกลูตาไธโอน

Q: ผลข้างเคียงจากการฉีดกลูตาไธโอน?

A: การฉีดยาใดๆ ก็ตามเข้าไปในร่างกายสามารถก่อให้เกิดการแพ้และติดเชื้อได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการช็อก ความดันต่ำ หายใจไม่ออก และเสียชีวิตได้ ประกอบกับปัจจุบันสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยายังไม่มีการขึ้นทะเบียนสารกลูตาไธโอน ในกรณีนี้แสดงให้เห็นว่ายังไม่มีการรับรองด้านความปลอดภัยของการฉีดกลูตาไธโอน นอกจากนี้ยังไม่มีการอนุญาตให้ใช้สารชนิดนี้ในรูปแบบฉีดอีกด้วย

Q: กลูตาไธโอนส่งผลให้ตาบอดและเกิดโรคมะเร็ง?

A: เมื่อร่างกายได้รับสารกลูตาไธโอนเป็นเวลานานจะส่งผลให้จํานวนเม็ดสีเมลานินบริเวณผิวหนังและจอประสาทตาลดลง ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ จอประสาทตาสามารถรับแสงได้น้อยลง ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความสามารถในการมองเห็น ในส่วนของเม็ดสีเมลานินบริเวณผิวหนังนั้นทําหน้าที่เปรียบเสมือนฟิล์มที่ปกป้องผิวหนังจากแสงแดดหรือรังสีอัลตราไวโอเลต หากเม็ดสีบริเวณผิวหนังนั้นมีปริมาณลดลงก็จะส่งผลให้ผิวหนังไม่แข็งแรง เหี่ยวย่น และมีริ้วรอย อีกทั้งยังเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้

เจาะประเด็น : ความขาวกับกลูตาไธโอน

ในความเป็นจริงนั้น ไม่มีผลิตภัณฑ์หรือยาใดๆที่จะทําให้ผิวขาวขึ้นอย่างถาวร การมีผิวคล้ำนั้นก็ถือเป็นประโยชน์อย่างหนึ่งเพราะเม็ดสีจํานวนมากในผิวจะสามารถเป็นเกราะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์ได้ เพราะฉะนั้นคนผิวคล้ำจึงมีอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นและโรคมะเร็งผิวหนังได้น้อยกว่าคนผิวขาว นอกจากร่างกายของเราจะสามารถผลิตกลูตาไธโอนได้เองแล้ว เรายังสามารถพบกลูตาไธโอนในอาหารที่เรารับประทาน เช่น แตงโม สตรอเบอร์รี่ องุ่น อโวคาโด หน่อไม้ฝรั่ง  เนื้อปลา  เนื้อหมู และเนื้อวัว เป็นต้น ดังนั้นผู้บริโภคควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับฟังสื่อโฆษณาอวดอ้าง และไม่หลงตามกระแสดังกล่าว หากต้องการมีผิวพรรณสวยงามก็ควรเลือกรับประทานอาหารจากธรรมชาติเพื่อสุขภาพและร่างกายที่แข็งแรงในระยะยาว  เริ่มต้นจากการรับประทานผักและผลไม้ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณในการช่วยบํารุงผิว รวมถึงดื่มน้ำสะอาดให้มากๆอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

"พึงระลึกไว้เสมอว่าเราทุกคนไม่สามารถปรับเปลี่ยนพันธุกรรมได้จริงอยู่ที่อาจมีผลิตภัณฑ์หรือสารบางประเภทที่สามารถปรับสีผิวของเราให้ขาวขึ้นได้แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปผิวก็จะกลับมาคลํ้าอย่างเคย"

Column File (PDF): 
เนื้อหาภายในฉบับที่ 1