หลากอันตรายจาก “ของเล่นเด็ก”

หลากอันตรายจาก “ของเล่นเด็ก”
Volume: 
ฉบับที่ 8 เดือน พฤษภาคม 2556
Column: 
Surrounding
Writer Name: 
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

หลากอันตรายจาก “ของเล่นเด็ก”

“ของเล่น”

เป็นสิ่งของประเภทหนึ่งที่มีทั้งหลากหลายรูปทรง ทั้งหลากหลายรูปแบบในการหยิบจับสัมผัส ซึ่งเด็กมักจะมีวิธีการเล่นในแบบของตัวเองแตกต่างกันออกไป แต่การในการเล่นของเล่นจริงๆ แล้ว เป็นกระบวนการที่มีความสําคัญเป็นอย่างมากที่จะกระตุ้นพัฒนาการของเด็กทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์

หลากอันตรายจาก “ของเล่นเด็ก”

กระบวนการเล่นเป็นกระบวนการที่กระตุ้นระบบประสาทสัมผัสทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส การมอง การได้ยิน พัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก และการประสานงานของกล้ามเนื้อ การเล่นที่มีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ เหล่านี้เรียกว่า การเล่นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนั้นยังเป็นการกระตุ้นระบบการได้ยินและการตอบสนองจะเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสารอีกด้วย

กระบวนการเล่นยังสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้เด็ก ฝึกการแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล การตอบสนองต่อจินตนาการในวัยเด็ก การเล่นที่กระตุ้นการเรียนรู้ ค้นคว้า ท้าทายนี้จะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากสําหรับเด็ก เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีพฤติกรรมรักการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดชีวิต และยังทําให้เด็กผ่อนคลายลดความเครียด สามารถระบายความเครียดที่อยู่ใต้จิตสํานึกที่ไม่สามารถบอกออกมาเป็นคําพูดได้ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ตอบสนองอารมณ์ได้ดี

แต่ของเล่นที่พบเห็นอยู่ในปัจจุบันก็มีอันตรายแอบแฝงอยู่ในตัวด้วยเช่นกัน โดยในแต่ละปีมีเด็กบาดเจ็บจากของเล่นที่ต้องมารับการตรวจรักษาที่ห้องฉุกเฉินต่างๆ รวมกว่า 72,000 ราย  ซึ่งครึ่งหนึ่งของตัวเลขนี้ เกิดจากเครื่องเล่นต่างๆ ในสนามเด็กเล่น ซึ่งมักไม่มีความปลอดภัย เช่น การติดตั้งที่ยึดฐานรากไม่มั่นคงทําให้ล้มทับเด็ก กระทั่งต้องตกเป็นข่าวพาดหัวอันน่าสะเทือนใจมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ส่วนพื้นสนามก็ไม่ดูดซับแรงกระแทก แถมมีก้อนกรวดก้อนหินเกลื่อนไปหมด และเป็นสนิมเขรอะ ส่วนการจัดวางเครื่องเล่นแต่ละชิ้น ก็แทบไม่เหลือช่องว่างที่ห่างเพียงพอ ทําให้เด็กต้องเสี่ยงกับการวิ่งชนกันเองหรือชนโครมเข้ากับเครื่องเล่นทั้งหลาย

ซึ่งจากการสารวจของศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

พบว่าในประเทศไทยมีเครื่องเล่นที่ไม่ปลอดภัยกว่า 95%

“ของเล่น” ที่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ที่มีชิ้นส่วนเล็กกว่า 3.2 x 6 ซม. เป็นส่วนประกอบ จะมีโอกาสทําาให้สําลักอุดตันทางเดินหายใจได้มาก เช่น ตุ๊กตุ่นตุ๊กตาพลาสติกตัวเล็กๆ ที่มักมาในรูปของเหล่าซุปเปอร์ฮีโร่ขวัญใจเด็กๆ เช่น ไอ้มดแดง อุลตร้าแมน เต่านินจา ฯลฯ (ให้ระวัง..ส่วนหัวของตุ๊กตุ่นฮีโร่แมนทั้งหลาย กระทั่งแท่งลิปสติกของตุ๊กตาผู้หญิง) เด็กเล็กเห็นเข้าก็มักเอาเข้าปาก เคี้ยวๆ อมๆ แล้วในที่สุดก็ติดคอ ติดหลอดลมจนขาดอากาศหายใจและเสียชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้าที่ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ ดังนั้นของเล่นของเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ซึ่งชอบเอาของเข้าปาก ต้องไม่เป็นชิ้นเล็กน้อยที่มีขนาดเล็กกว่า 3.2 ซม. ถ้าเล็กกว่านี้ต้องยาวกว่า 6 ซม.

“ของเล่น” มีสายยาวกว่า 22 ซม. ขดเป็นวงทําให้รัดคอเด็ก เช่น สายโทรศัพท์ กีตาร์ รถลาก หรือของเล่นที่มีช่องรู ก็มักทําให้นิ้วติด มือติด หัวติดได้ เช่น ของเล่นชุดปราสาท คฤหาสน์ ชุดครัว

“ของเล่น” ลูกกระสุนที่แรงกว่า .08 จุล เช่น ปืนอัดลม ปืนลูกดอก หากโดนลูกนัยน์ตาก็อาจมีอันตรายถึงขั้นตาบอด จึงห้ามให้ลูกเล่นปืนอัดลม หรือปืนลูกดอกทุกชนิดที่กระสุนไม่อ่อนนิ่ม

“ของเล่น” ที่แหลมๆ คมๆ เช่น รถเด็กเล่นที่ท้ายแหลม ลูกข่าง หุ่นยนต์ที่มีส่วนหัวแหลมๆ จรวดพลาสติกหรือโลหะที่มีทรงแหลมๆ คมๆ

“ของเล่น” ที่ติดไฟง่ายแล้วเอามาสวมหัวสวมตัว เช่น ชุดแต่งตัวต่างๆ ไอ้มดแดงบ้าง สไปเดอร์แมนบ้าง ทั้งผ้าทั้งวัสดุที่ใช้บุให้มีรูปทรง ต้องผ่านการทดสอบการต้านการติดไฟมาก่อน

“ของเล่น” ที่เสียงดัง หลายๆ อย่างมันดังเกินกว่าความปลอดภัยของเด็ก (เกินกว่า 110 เดซิเบล เมื่อดังครั้งเดียวไม่เกิน 1 วินาทีหรือ ไม่เกิน 80 เดซิเบลเมื่อเป็นการดังต่อเนื่อง)  เรื่องนี้พึงระวังให้มาก เพราะมันอาจทําลายเซลล์ประสาทการรับเสียงของลูกๆ ได้ โดยเฉพาะของเล่นใช้ไฟฟ้า รถไฟปู๊นๆ ปืนกล ปืนเลเซอร์ที่กดแล้วมีเสียงดัง

“ของเล่น” เคลื่อนที่เร็ว เช่น รถไถ  จักรยานสองล้อสามล้อ ที่ออกแบบมาไม่เหมาะสม หรือแม้แต่รถหัดเดิน รถพยุงตัว ก็ไม่ควรใช้เพราะเสี่ยงต่อการหกล้มพลิกคว่ำ

หลากอันตรายจาก “ของเล่นเด็ก”

เครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น

จากการศึกษาของศูนย์ฯ พบว่ามีการบาดเจ็บจากเครื่องเล่นต่างๆ ในสนามเด็กเล่นคิดเป็นร้อยละ 1.47 ของการบาดเจ็บทั้งหมดในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีที่มารับการตรวจที่ห้องฉุกเฉิน เมื่อประมาณการทั้งประเทศคาดว่าจะมีเด็กบาดเจ็บจากเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นปีละ 34,075 ราย ส่วนมากเกิดจากกระดานลื่นร้อยละ 44 จากชิงช้าร้อยละ 33 นอกจากนั้นเกิดจากเครื่องปีนป่าย ม้าหมุน และพบการบาดเจ็บได้ที่แขนขา ใบหน้า และศีรษะ การบาดเจ็บรุนแรงที่พบบ่อยคือแขนหรือข้อมือหัก และการบาดเจ็บที่ศีรษะ

หลากอันตรายจาก “ของเล่นเด็ก”

ของเล่นที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้เร็ว

ของเล่นที่ทําให้เกิดการเคลื่อนไหวได้เร็ว เช่น รถหัดเดิน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่วางขายทั่วไปในห้างสรรพสินค้าและร้านของใช้เด็ก ส่วนใหญ่แล้วมักใช้กับเด็กอายุ 5-6  เดือน เด็กที่อยู่ในรถหัดเดินนานหลายชั่วโมงต่อวันเมื่อตั้งไข่ได้ดีแล้วจะก้าวเดิน เด็กจะใช้ปลายเท้าจิกลง ทําให้ขาเกร็งมากกว่าปกติ ในสิงคโปร์มีการวิจัยในเด็ก 185 คน พบว่าร้อยละ  10.8  ของเด็กที่ใช้รถหัดเดินเป็นประจําจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวช้ากว่าเด็กที่ไม่ได้ใช้  แต่ที่เป็นผลเสียมากกว่านั้นคืออันตรายจากอุบัติเหตุ จากการวิจัยพบว่า 1 ใน 3 ของเด็กที่ใช้รถหัดเดินจะเคยได้รับบาดเจ็บจากรถหัดเดิน การบาดเจ็บรุนแรงมักเกิดจากการพลัดตกจากที่สูง พื้นต่างระดับ และบ้านที่มีมากกว่าหนึ่งชั้น ในประเทศแคนาดาได้มีการห้ามขายไปตั้งแต่ปี 1992 เช่นเดียวกันกับในประเทศออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกาซึงได้มีการห้ามขายในบางรัฐ

ของเล่นชนิดยิง

ของเล่นชนิดยิง เช่น ปืนอัดลม เป็นปืนพลาสติก มีกระสุนเป็นเม็ดพลาสติกกลมเล็กๆ ราคาประมาณ 60-200 บาท แต่ถ้าเป็นปืนที่มีความแรงเพิ่มขึ้น ที่สามารถยิงกระสุนติดต่อกันเป็นชุดได้ ราคาก็จะสูงตาม ความแรงก็จะมีมากขึ้น อันตรายก็รุนแรงขึ้นมากเช่นเดียวกัน

การบาดเจ็บที่อันตรายคือการยิงถูกลูกตา  แรงกระสุนกระแทกที่ลูกตาทําให้เกิดเลือดออกในช่องลูกตาซึ่งต้องรับการรักษาและการหยุดการเคลื่อนไหวในระยะแรกเพื่อป้องกันการมีเลือดออกมากขึ้น ในบางรายอาจก่อให้เกิดต้อกระจกตามมาหลังการกระแทก บางรายกระสุนอาจทะลุเข้าฝังในลูกตาหรือกล้ามเนื้อตา บางรายเกิดการแตกของลูกตาและต้องผ่าตัดควักลูกตาทิ้งไป

ของเล่นทารก

ของเล่นทารก เช่น กุ๊งกิ๊ง มีหลายแบบทั้งแบบวงกลม วงแหวน มีด้ามถือ หรือเป็นเส้นสายยาวที่ใช้ผูกเปลนอนอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น การอุดตันทางเดินหายใจ กุ๊งกิ๊งที่ถูกออกแบบมาไม่ถูกต้องมีชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก หรือถูกผลิตโดยวัสดุที่มีความแข็งแกร่งไม่เพียงพอ เกิดการแตกหักง่ายกลายเป็นวัสดุชิ้นเล็กๆ ได้ ซึ่งเมื่อเด็กนําเข้าปากจะเกิดการสําลักและอุดตันหลอดลมได้โดยง่าย วัสดุที่มีขนาดเล็กกว่า 3.2 ซม. และมีความยาวสั้นกว่า 6 ซม. เมื่อเด็กนําเข้าปากและสําลักสามารถก่อให้เกิดทางเดินหายใจอุดตันได้  การอุดตันทางเดินหายใจจะทําให้สมองขาดออกซิเจนอย่างกะทันหัน ซึ่งมีเวลาเพียง 4-5 นาทีที่สมองจะคงทนอยู่ได้ ถ้านานกว่านี้จะเกิดภาวะสมองตายทําให้ไม่สามารถรักษาให้กลับคืนสู่ปกติได้ นอกจากนั้นการอาเจียนและสําลักอาหารที่กินเข้าไปออกมา และอาหารนั้นถูกสําลักเข้าหลอดลมอีกที ก่อให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจได้ กุ๊งกิ๊งที่เป็นด้ามยาวเพื่อให้เด็กกําถือเขย่า ถ้าปลายด้ามมีขนาดเล็กในขนาดที่เด็กเอาเข้าปากได้ จะสามารถแทงรบกวนคอเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กในท่านอนราบ

Column File (PDF): 
เนื้อหาภายในฉบับที่ 8