ความหลากหลายทางเพศ

ความหลากหลายทางเพศ
Volume: 
ฉบับที่ 16 เดือน กันยายน 2557
Column: 
BackStage
Writer Name: 
ดนัย อังควัฒนวิทย์

ความหลากหลายทางเพศ

คุณผู้อ่านเคยสํารวจตัวเองบ้างไหมครับว่า..คุณมีอวัยวะเพศใดติดตัวมาตั้งแต่เกิด แล้วคุณเคยสํารวจความต้องการในด้านเพศของตัวเองอย่างไร

คุณชอบผู้หญิงหรือผู้ชาย หรือคุณชอบทั้งสองเพศ   แล้วถ้าคุณมีอวัยวะเพศชายมาก่อน ตอนนี้ไม่มีมันแล้ว คุณจะเรียกตัวคุณเองว่าอะไร

ความหลากหลายทางเพศ

คําตอบที่ได้รับอาจจะมีเพียง “ผู้ชายไง” “ผู้หญิงไงคะ

แต่รู้หรือไม่ว่า ในยุคนี้ เราไม่ได้มีแค่ ผู้ชาย ผู้หญิง แล้ว ..เรายังมีคนที่เรียก หรือถูกเรียกว่า ตุ๊ด กระเทย ทอม เกย์ เลสเบี้ยน และ ไบ ซึ่งคนที่เหล่านี้สามารถพบได้มากขึ้นในปัจจุบันเป็นเพราะอะไรทําไมจึงเรียกคนเหล่านี้ว่าเพศหลากหลาย คอลัมน์เก็บตกหลังฉาก Backstage มีคําตอบมาฝากครับ รับรองว่าคุณจะเข้าใจพวกเขามากขึ้น ไม่ว่าจะในฐานะใด หรือชื่อใดที่คุณเรียกพวกเขาอย่างแน่นอน 

ผมเองได้เข้าไปฟังการบรรยายเรื่อง “เพศหลากหลายในวัยรุ่น”  ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา ด้วยความที่มี อ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  เป็นผู้บรรยายให้ฟัง จึงเกิดความสนใจในหลายประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเกี่ยวกับเพศ ที่โลกนี้เราไม่ได้มีแค่เพศชายและหญิงแล้วเท่านั้น

ก่อนอื่นเลย อะไรที่บ่งบอกว่าเราเป็นเพศใด อย่างในผู้ชายก็เช่น กระเดือกคอ อวัยวะเพศ โครโมโซม มีสเปิร์ม อย่างในผู้หญิงก็จะบอกว่า มีรังไข่ เต้านม ประจําเดือน มดลูก ...ถ้าวันหนึ่งตื่นมาแล้วสิ่งที่บ่งบอกทางเพศเหล่านี้หายไปจากตัวเรา เราจะยังคงคิดว่าเราเป็นเพศนั้นอยู่หรือไม่ 

คําาว่า  “เพศ”  ในความหมายอาจแปลได้ว่า  การรับรู้ของตัวเราเองว่าคือเพศอะไร โดยวัดจากการแสดงออกและบทบาททางเพศที่แสดงออกมา นอกจากนี้ “เพศ”  ยังมีความหมายของความรู้สึกและความพึงพอใจทางเพศซึ่งแสดงออกมาในลักษณะความชอบ ความชอบทางเพศในปัจจุบันนั้นมีอยู่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น 

คนที่ชอบเพศตรงข้าม (Heterosexual) 

คนที่ชอบเพศเดียวกัน (Homosexual)

คนที่ชอบทั้ง 2 เพศ (Bisexual) 

คนที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศ (Asexual)

อ.พญ.จิราภรณ์ ได้อธิบายถึงศัพท์ที่มีการบัญญัติใช้กันทางการแพทย์เกี่ยวกับการเรียกขานกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศไว้ดังนี้

Gender Variant ความหลากหลายทางเพศ

Gender Spectrum ความเชื่อมโยงทางเพศ

Gender Non-conforming คนที่เกิดมามีเพศไม่ถูกกับเพศที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด

LGBTIQ ได้แก่ Lesbian (หญิงรักหญิง) Gay (ชายรักชาย) Bisexual (ชอบทั้งชายทั้งหญิง ที่ยังไม่มีการแปลงเพศ) Transgender (ตุ๊ด ทอม กระเทย ผู้หญิงข้ามเพศ เริ่มทําการเปลี่ยนแปลงทางกายของตัวเอง) Intersex (คนสองเพศ คนที่เกิดมามี 2 เพศ) Questioning queer (คนที่ไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายใด ซึ่งจะพบคนกลุ่มนี้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ร่างกายเป็นผู้หญิงมีแฟนเป็นผู้หญิง แต่ไม่ใช่ทอม แม้คนอื่นจะมองว่าเป็นทอม และจะนิยามตัวเองว่าไม่สังกัดฝ่ายใด)

ส่วนคําจํากัดความที่คนทั่วไปมักนิยมใช้เรียกขานกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นคําที่เราเคยได้ยินกันมา เช่น

“เพศที่สาม” เป็นคําที่ใช้กันมาก แต่ก็หาคําาตอบได้ยาก และมักจะมีการถกเถียงกันว่าแล้วใครเป็นเพศที่ 1 เพศที่ 2 ก่อนจะมาเป็นเพศที่ 3

“เบี่ยงเบนทางเพศ” ด้วยความหมายที่แปลว่า ผิดไปจากปกติ จึงฟังดูเป็นคําที่ค่อนข้างแรง หากเปรียบเทียบกับคนที่ถนัดซ้ายแล้ว หลายคนอาจมองว่าเป็นคนที่ผิดปกติ แต่คนถนัดซ้ายมีความสามารถทัดเทียมคนถนัดขวา ก็เหมือนกับเพศที่แบ่งแยกลักษณะออกไป แต่ความสามารถทัดเทียม ไม่มีความแตกต่าง

“เพศทางเลือก” ด้วยคํานี้ จะเป็นการสื่อให้เห็นว่าสามารถเลือกเพศได้ ซึ่งบางครั้งพ่อแม่อาจไม่เข้าใจว่าเกิดมาเป็นผู้ชายดีดีไม่ชอบ อยากเป็นผู้หญิงทําาไม เพราะส่วนตัวเชื่อว่า เรื่องของเพศบางครั้งเป็นสิ่งที่เราไม่ได้เลือกเองเราเลือกได้แค่สิ่งที่เราแสดงออก แต่ไม่ได้เลือกในสิ่งที่เราเป็น

นอกจากนี้ยังมีคําาอื่นๆ อีก เช่น เพศกํากึ่ง เพศหลากสีเพศเทยเที่ยวไทย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคําศัพท์ใหม่ที่มีการเรียกขานกันในปัจจุบัน

แต่ในเรื่อง คําหรือศัพท์ที่เรียกขาน เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะทําาให้คนในสังคมได้รับรู้ถึงการมีตัวตนของกลุ่มคนที่คุณก็รู้ว่าไม่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านนิสัยใจคอหรือพฤติกรรมที่เป็นสิ่งดีงาม

อ.พญ.จิราภรณ์ ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองหลากหลายแง่มุมเกี่ยวกับเพศหลากหลายไว้อย่างน่าสนใจว่า หากมองในมุมทางชีวภาพ คนเราเกิดมามีความเชื่อมโยงกันทางโครโมโซม อย่างผู้ชายก็จะเป็น XY หญิงจะเป็น XX แต่หากมองในมุมอัตลักษณ์ทางเพศ ในสังคมเราก็มีคนที่เป็นผู้ชายมีกล้ามใหญ่ๆ ชอบเตะบอล ไม่ชอบอะไรจุกจิก นิสัยแมนๆ และเราก็เจอผู้หญิงที่ผู้หญิ๊งหญิง ชอบสีชมพู ไว้ผมยาว ชอบแต่งหน้า แต่เราก็มีผู้หญิงที่ซอยผมสั้น นิสัยไม่ขี้นินทา ไม่จุกจิก ไม่ขี้เม้าท์ แมนๆ เท่ห์ ชกมวยบ้าง มีความเป็นผู้หญิง แล้วก็เจอผู้ชายที่ไม่ชอบเตะบอล ชอบอยู่บ้านอ่านหนังสือ ชอบรดต้นไม้ ไม่ชอบเล่นโลดโผนแล้วเราก็จะเจอผู้ชายที่มีความห้าวและความหวานผสมอยู่ในตัวคนเดียว เหล่านี้เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในสังคม 

หากมองในมุมบทบาททางเพศ ก็มีการกําหนดโดยบทบาทและวัฒนธรรม ส่วนตัวอยากบอกว่า ผู้ชายเกิดมาโชคร้าย ที่ถูกสังคมกําหนดในวงแคบๆ ไม่เหมือนผู้หญิงที่ซอยผมก็ได้ นุ่งกระโปรงก็ได้ แต่ผู้ชายนุ่งกระโปงได้ไหม จะถูกมองประหลาดทันที ถ้าไว้ผมยาวก็จะดูแปลกไป เป็นตุ๊ด เป็นแต๋ว ผู้ชายจึงถูกกําหนดบทบาทไว้แคบ นอกจากนี้ ผู้หญิงยังสามารถเล่นกีฬาทุกอย่างได้หมด ไม่ว่าชกมวย วอลเล่ย์บอล ตีแบด แต่พอผู้ชายเล่นวอลเล่ย์บอล จะถูกมองว่าสตรีเหล็กหรือเปล่า นี่เป็นตัวอย่างที่ผู้ชายถูกกําหนดบทบาททางเพศไว้ในสังคม

หากมองในมุมรสนิยมทางเพศ ผู้ชายส่วนใหญ่บนโลกก็จะชอบผู้หญิง แต่ก็จะมีผู้ชายที่ชอบผู้ชาย มีผู้หญิงที่ชอบผู้หญิง หรือมีกระทั่งผู้ชายที่ชอบทั้งผู้ชายและผู้หญิง เมื่อพูดถึงผู้ชาย เราก็จะบอกว่ามีอวัยวะเพศชาย แล้วถ้าชอบผู้ชาย เราก็จะเรียกเขาว่า เกย์ เมื่อพูดถึงผู้ชายที่มีอวัยวะเพศชาย แต่รู้สึกว่าเป็นผู้หญิง และชอบผู้ชาย เราก็จะเรียกเขาว่า ตุ๊ด กระเทย หรือทางการแพทย์เรียกว่า Transgender เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างที่เราพบเจอ ยังมีคําที่คนไทยใช้เรียกคนข้ามเพศอีกมากมาย เช่น อดัม และเชอร์รี่

ถึงแม้ว่าจะมีกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน แต่นั่นก็อาจเป็นเพราะสังคมได้เปิดรับและพร้อมเปิดกว้างสําหรับกลุ่มคนเหล่านี้ เพราะส่วนตัวผู้เขียนเองเชื่อว่า ความหลากหลายทางเพศที่เกิดขึ้นในยุคสมัยปัจจุบัน ได้รับการเปิดแง้มออกมาอย่างเต็มที่แล้ว เฉกเช่นประตูที่เปิดกว้างสู่สังคม กลุ่มคนเหล่านี้พร้อมแล้วที่จะแสดงตัวตนออกมาให้เห็นว่า เพศที่ฉันเป็น แม้อาจไม่ใช่เพศที่ต้องการตั้งแต่เกิด แต่ก็เป็นเพศที่ฉันให้ความเคารพ เหมือนกับที่ฉันเคารพทุกคนทุกเพศนั่นเอง

Column File (PDF): 
เนื้อหาภายในฉบับที่ 16