จริงหรือ ผู้ป่วยมะเร็งกินได้แค่ปลา-ผัก

จริงหรือ ผู้ป่วยมะเร็งกินได้แค่ปลา-ผัก
Volume: 
ฉบับที่ 18 เดือน มกราคม 2558
Column: 
Believe it or not
Writer Name: 
อ.นพ.กุลพงษ์ ชัยนาม ภาควิชาอายุรศาสตร์ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

จริงหรือ ผู้ป่วยมะเร็งกินได้แค่ปลา-ผัก

ภาวะทุพโภชนาการเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยความรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค โดยมีสาเหตุมาจากตัวโรคมะเร็งจะกระตุ้นให้มีการสร้างสารที่ก่อให้เกิดภาวะการอักเสบ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการใช้พลังงานและการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ มากมายโดยเฉพาะเพิ่มการใช้พลังงาน เพิ่มการสลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อและ เพิ่มการสลายไขมัน และทําาให้ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งรู้สึกเบื่ออาหาร

โรคมะเร็งบางชนิดมีผลทําให้กลืนอาหารลําบาก อืดแน่นท้อง ร่วมกับผลข้างเคียงจากการรักษาทั้งยาเคมีบําบัดและการผ่าตัด ภาวะทางจิตใจที่หดหู่ซึมเศร้า ตลอดจนพฤติกรรมและความเชื่อในการเลือกบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ยิ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะทุพโภชนาการที่แย่ลง

การเลือกรับประทานอาหารในปริมาณ ชนิด และสัดส่วนที่ถูกต้องจึงมีความสําคัญช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร อีกทั้งทําาให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะที่แข็งแรง สามารถลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาเช่น การติดเชื้อ แผลผ่าตัดแยก และระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่นาน ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการศึกษาที่พบว่าการจํากัดอาหารจนทําให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานไม่พอนั้น ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการจึงแนะนําาให้รับประทานปริมาณอาหารเท่ากับความต้องการของคนปกติ

จริงหรือ ผู้ป่วยมะเร็งกินได้แค่ปลา-ผัก

โปรตีนเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของร่างกาย ช่วยทําให้ผู้ป่วยแข็งแรง ไม่อ่อนเพลีย และไม่ติดเชื้อง่าย การเติบโตของมะเร็งขึ้นอยู่กับปริมาณของโปรตีนที่การบริโภคเพียงบางส่วน แม้ว่าจํากัดปริมาณโปรตีนที่บริโภค มะเร็งก็ยังเจริญเติบโตได้โดยสลายโปรตีนในร่างกายผู้ป่วยมาใช้ แต่กลับเกิดผลเสียแก่ผู้ป่วย ทําให้เจ็บป่วยง่าย ไม่มีแรง และไม่สามารถรับการรักษาทั้งเคมีบําบัด และการฉายแสงตามกําหนด ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีความต้องการโปรตีนสูงกว่าคนปกติ เนื้อสัตว์ ไข่และนมเป็นแหล่งของโปรตีนที่มีคุณภาพสูง และยังอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่จําเป็นต่อร่างกาย จึงแนะนําให้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านกระบวนการถนอมอาหารปรุงสุกและเลี่ยงการประกอบอาหารด้วยการปิ้งย่าง แม้ว่าจะมีข้อมูลว่าการบริโภคเนื้อแดง เช่น เนื้อหมูหรือ เนื้อวัว จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลําไส้ใหญ่ แต่เนื่องจากมีธาตุเหล็กสูง จึงแนะนําให้บริโภคได้บ้างในกลุ่มผู้ป่วยที่ซีด ข้าวแป้งและน้ำตาลเป็นหมวดอาหารที่ให้พลังงานหลักและควรบริโภคให้เพียงพอ การงดหรือลดอาหารหมวดนี้ไม่ได้ช่วยทําให้โรคมะเร็งดีขึ้นแล้ว ยังกลับทําให้ภาวะทุพโภชนาการรุนแรงขึ้นอีก ไขมันก็เป็นหมวดอาหารที่ให้พลังงานสูงแหล่งของวิตามินที่ละลายในไขมันและกรดไขมันจําเป็น ควรรับประทานในปริมาณเท่ากับคนทั่วไป แต่ควรหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวจําพวกไขมันสัตว์ กะทิ และเนยนม แล้วเลือกรับประทานเฉพาะชนิดที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตําหน่งเดียวซึ่งพบในนํามันมะกอก น้ำมันรําข้าว และกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 ซึ่งพบได้ในปลาทะเล ผักและผลไม้เป็นแหล่งวิตามินเกลือแร่ สารต้านอนุมูลอิสระและกากใยอาหารที่สําคัญ ควรรับประทานให้หลากหลายและเพียงพอ ในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำควรรับประทานผักต้มสุกและผลไม้ที่มีเปลือกหนา

ความรู้ทางด้านโภชนาการที่ถูกต้องถือเป็นสิ่งจําเป็นมากในผู้ป่วยมะเร็ง การรับประทานอาหารแบบผิดวิธีตามความเชื่อหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลร้ายแก่ตัวผู้ป่วยทั้งกับตัวโรคมะเร็ง การวางแผนการรักษา และคุณภาพชีวิต ดังนั้นควรศึกษาให้ดีหรือปรึกษาแพทย์ พยาบาล นักกําหนดอาหาร หรือบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะเลือกปฏิบัติ

Column File (PDF): 
เนื้อหาภายในฉบับที่ 18