สถิติผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด

 

 

โรคมะเร็งปอด เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อย ทะเบียนมะเร็งระดับประชากรในประเทศไทย พบอุบัติการณ์โรคมะเร็งปอดบ่อยเป็นอันดับ 2 ในเพศชาย รองจากโรคมะเร็งตับ มีอุบัติการณ์เป็น 22.7 คนต่อประชากร 100,000 คน และพบบ่อยเป็นอันดับ 4 ในเพศหญิงรองจากโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งตับ โดยพบอุบัติการณ์เป็น 10.1 คนต่อประชากร 100,000 คน (Imsamran W, et al, 2015)

ตารางที่1 แสดงสถิติโรคมะเร็งปอดในชายไทย รวบรวมข้อมูลในระหว่างปี พ.ศ. 2544-2555 พบผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในเพศชาย ในรายงานปีล่าสุดถึงแม้จะยังพบบ่อยเป็นอันดับแรกๆ ในเพศชาย แต่มีอุบัติการณ์เกิดที่น้อยลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับรายงานที่ผ่านมา โดยอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งปอดพบเป็น 24.9 คน, 27.1 คน, 26.2 คน และ 22.7 คนต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งรายงานระหว่างปี 2544-2546, 2547-2549, 2550-2552 และ 2553-2555 ตามลำดับ

 

ตารางที่ 1จำนวนและอุบัติการณ์ของผู้ป่วยมะเร็งปอดของเพศชายในประเทศไทย


ปีที่รายงาน

จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิดในเพศชาย

ผู้ป่วยมะเร็งปอดเพศชาย

สัดส่วนของผู้ป่วยมะเร็งปอด(%)

อุบัติการณ์ต่อประชากร100,000 คน

2544-2546

121,986

20,602

17

24.9

2547-2549

145,788

20,602

17

24.9

2550-2552

50,961

8,403

16

26.2

2553-2555

54,586

8,724

16

22.7

ที่มา : หนังสือสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทย(Cancer in Thailand)ฉบับที่ 5-8

 

ตารางที่ 2 แสดงอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปอดในหญิงไทย สำหรับสถิติโรคมะเร็งปอดในประเทศไทย จากตารางที่ 3 ได้รวบรวมข้อมูลในระหว่างปี พ.ศ. 2544-2555 พบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในเพศหญิงมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปอดน้อยกว่าเพศชายมากกว่า 2 เท่า อุบัติการณ์เกิดน้อยลงเล็กน้อยจากรายงานที่ผ่านมา โดยอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งปอดในหญิงไทยพบเป็น 9.7 คน, 11.9 คน, 11.5 คน และ 10.1 คนต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งรายงานระหว่างปี 2544-2546, 2547-2549, 2550-2552 และ 2553-2555 ตามลำดับ

 

      

ตารางที่ 2จำนวนและอุบัติการณ์ของผู้ป่วยมะเร็งปอดของเพศหญิงในประเทศไทย


ปีที่รายงาน

จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิดในเพศหญิง

ผู้ป่วยมะเร็งปอดเพศหญิง

สัดส่วนของผู้ป่วยมะเร็งปอด(%)

อุบัติการณ์ต่อประชากร100,000 คน

2544-2546

119,065

9,354

8

9.7

2547-2549

150,768

12,658

8

11.9

2550-2552

51,825

4,322

8

11.5

2553-2555

57,806

4,624

8

10.1

ที่มา : หนังสือสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทย(Cancer in Thailand)ฉบับที่ 5-8
 

 

รูปที่ 1 แสดงอุบัติการณ์ในประเทศไทยแยกตามเพศและปีที่รายงาน พบว่า อัตราอุบัติการณ์ของมะเร็งปอดในเพศชายและเพศหญิง พบว่าค่า Age-Standardized incidence Rate (ASR) ต่อประชากร 100,000 รายของมะเร็งปอดมีอัตราที่ลดลงตามลำดับทั้งในเพศชายและเพศหญิง

 

รูปที่ 1: อุบัติการณ์ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในประเทศไทยต่อ ASR per 100,000 (2001-2012)

ที่มา : หนังสือสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทย(Cancer in Thailand)ฉบับที่ 5-8

 

 

สำหรับสถิติรายงานประจำปีของโรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่าในปี พ.ศ. 2557 พบมีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งใหม่โรคมะเร็งปอดเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรามาธิบดีบ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็งเต้านมในทั้ง 2 เพศ (9.6 %) โดยพบบ่อยเป็นอันดับ 2 ในเพศชาย รองจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และพบบ่อยเป็นอันดับ 4 ในเพศหญิง รองจากโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อไทรอยด์และมะเร็งปากมดลูก สถิติจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปอดในเพศชายพบเป็นจำนวน 231 ราย คิดเป็น 13.2 ในเพศชาย และเพศหญิงพบเป็นจำนวน 165 รายคิดเป็น 6.9 ในหญิง ในแต่ละช่วงอายุ จากรูปที่ 1 พบว่า โรคมะเร็งปอดพบมากในช่วงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ 50 - 70 ปี คิดเป็นอัตราร้อยละ 17 ของผู้ป่วยมะเร็งปอดทั้งหมด

 

 

 

รูปที่ 2 : จำนวนผู้ป่วยมะเร็งปอดในเพศชายและเพศหญิงแยกตามช่วงอายุที่ได้รับการวินิจฉัย (พ.ศ. 2557) (คน)

 

 

รูปที่ 3 รายงานสัดส่วนของระยะของโรคมะเร็งปอด เมื่อแรกเริ่มวินิจฉัย ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี พบมีจำนวนผู้ป่วยที่ไม่ระบุระยะของโรคเพียง 10% เท่านั้น โดยพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลรามาธิบดี ส่วนใหญ่เริ่มเข้ามารักษาที่ระยะ 4 ซึ่งเป็นระยะที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นมากที่สุด (55%) ในขณะที่พบระยะอื่นๆที่เข้ามารับการรักษา พบสัดส่วนเป็น 14%, 5% และ 16 % พบในระยะที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ

รูปที่ 3 : สัดส่วนระยะของโรคมะเร็งปอดที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก (พ.ศ. 2557)

 

 

สรุป โรคมะเร็งปอดยังคงเป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในรามาธิบดีและของประเทศไทย อย่างไรก็ตามปัจจุบันโรคมะเร็งปอดสามารถตรวจพบเจอได้บ่อยขึ้นในระยะแรกๆ มีแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่ทันสมัย ได้ผลการรักษาที่ดี ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ดังนั้น ผู้ที่มีอาการผิดปกติ ให้รีบมาพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เร็วและดีที่สุด ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม “มะเร็งปอดไม่น่ากลัวอย่างที่คิด”

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม มะเร็งปอด โดย พญ.ธัญนันท์ เรืองเวทย์วัฒนา

 

ผู้รวบรวมข้อมูล
นางสาวพรสุดา จิตรกสิกร
นิลทิตา ศรีไพบูลย์กิจ  
หน่วยทะเบียนมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี