ผลงานเด่นโครงการจัดเก็บชิ้นเนื้อแบบบูรณาการ

ผลงานที่ผ่านมาของ
โครงการจัดเก็บชิ้นเนื้อแบบบูรณาการ

1.มีการจดสิทธิบัตรสำหรับโปรมแกรมจัดเก็บชิ้นเนื้อแบบบูรณาการจำนวน 1 สิทธิบัตร ได้แก่

          1.1 ระบบข้อมูลโครงการจัดเก็บชิ้นเนื้อแบบบูรณาการ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี (Ramathibodi Tumor Biobank)

2.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการดำเนินการ Tumor Biobank

          2.1 วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ศูนย์มะเร็งรามาธิบดีร่วมกับศูนย์วิจัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีได้จัดงานประชุมเชิงปฏิบัติการดำเนินการโครงการ Tumor Biobank ณ ห้องประชุมท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ ชั้น 5 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมเป็นบุคลากรภายในและภายนอกคณะฯ จำนวน 68 ท่าน

  

 

          2.2 วันที่ 13 พฤษภาคม 2562 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าว "ธนาคารชีวภาพสำหรับโรคมะเร็งแบบครบวงจร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี (Ramathibodi Comprehensive Tumor Biobank) ต่อยอดงานวิจัยสู่การวินิจฉัยรักษาโรคมะเร็ง" ณ ห้องประชุมท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล ชั้น 5 อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์

  

 

          2.3 วันที่ 4 ธันวาคม 2562 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ จัดงานแถลงข่าวและพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านธนาคารชีวภาพเพื่อโรคมะเร็งแบบครบวงจร ระหว่าง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ สถาบันมะเร็งแห่งชาติขึ้น ณ ห้องประชุม 816 ชั้น 8 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

3.ดูงานต่างประเทศและต้อนรับโรงพยาบาลต่างๆ เข้าดูงานโครงการจัดเก็บชิ้นเนื้อแบบบูรณาการ จากสถาบันต่างๆ ดังนี้

          3.1 วันที่ 28 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2555 ศูนย์มะเร็งจัดส่งเจ้าหน้าที่โครงการจัดเก็บชิ้นเนื้อ ณ ประเทศญี่ปุ่น

  

 

          3.2 วันที่ 7 กรกฏาคม 2558 งานวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

          3.3 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

          3.4 วันที่ 26 กันยายน - 30 กันยายน 2559 ดูงานที่สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ณ สถานที่ดังนี้

                  1. Korea National Research Resource Center

                  2. Samsung Medical Center Biobank

                  3. Human Serum bank, Chung-Ang University

                  4. Korean Cell Line Bank , Seoul National University

                  5. National Biobank of Korea

                  6. Korea Gynecologic Cancer Bank, Gangnam Severance Hospital (Clinical research center)

  

 

          3.5 วันพุธที่ 18 กรกฎาคม 2561 คณะอาจารย์จากสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าศึกษาดูงาน Tumor Biobank

  

 

          3.6 จันทร์ที่ 11 มีนาคม 2562 ผู้บริหารนโยบายภาครัฐประจำประเทศไทยและเวียดนาม บริษัท ไอบีเอ็ม จำกัด และคณะจากประเทศสหรัฐอเมริกา เยี่ยมชมดูงาน Tumor Biobank

 

          3.7 วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2562 คณาจารย์และเจ้าหน้าที่จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เข้าดูงาน

 

3.โปสเตอร์เกี่ยวกับธนาคารชีวภาพ