รายงานประจำปี 2559

รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปี 2559 (1 ต.ค.58 – 30 ก.ย.59)

ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ดำเนินงานตามพันธกิจหลักในการจัดการศึกษาต่อเนื่องสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ส่งเสริมให้มีการศึกษาด้วยตัวเองตลอดเวลาที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและทักษะวิชาชีพ ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการแพทย์แขนงต่างๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สรุปผลงานเด่น ประจำปี 2559 ดังนี้

1. หน่วยประเมินผลและเก็บคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง เป็นหน่วยที่มีหน้าที่ดำเนินการสรุปผลโครงการและประเมินผลการจัดโครงการภายใต้การดูแลของงานการศึกษาต่อเนื่อง และให้บริการรับรองหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ และให้ออกประกาศนียบัตรรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง ของสหสาขาทางการแพทย์

1.1 ให้การรับรองและจัดเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ (CME) จำนวน 555 กิจกรรม และออกใบประกาศนียบัตรรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ จำนวน 1,437 ฉบับ โดยมีรายละเอียด ดังนี้         

1.2 การศึกษาต่อเนื่องทางเทคนิคการแพทย์ (CMET) ปี 2559 อนุมัติกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องจำนวน 2 กิจกรรม 

1.3 การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ (CCPE) ปี 2559 ได้ดำเนินการส่งหนังสือสมัครเป็นสถาบันสมทบกับทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และดำเนินการขออนุมัติกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องจำนวน 2 กิจกรรม

1.4 การศึกษาต่อเนื่องทางทันตแพทย์ (CDCE) ปี 2559 ได้ดำเนินการส่งหนังสือสมัครเป็นสถาบันสมทบกับทางคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทางทันตแพทยสภา และดำเนินการขออนุมัติกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องจำนวน 2 กิจกรรม

2. โครงการจัดการอบรม ประจำปี 2559
-  โครงการ “การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร งานการศึกษาต่อเนื่อง” ในวันที่ 21 – 22  มกราคม 2559 ณ อนันตาริเวอร์ฮีลล์ รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 12 คน ผลการประเมินโครงการฯ อยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก (ค่าเฉลี่ยที่ 4.70)

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม/ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม  :

  • ควรจัดให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกปี
  • จำนวนวันในการจัดสัมมนาน้อยไป
  • เนื้อหาในการสัมมนาน่าสนใจ แต่วิทยากรมีเวลาในการทำกิจกรรมที่น้อยไป
  • จัดให้มีเกมการละเล่น เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของผู้เข้าอบรม
  • อยากให้เนื้อหาสั้นแต่เข้มข้นมากกว่านี้  ให้กระฉับกว่านี้อีกนิด
  • ระยะทางไกลไปนิด แต่โดยรวมถือว่าดีมาก
  • จัดให้มีกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ให้มากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบุคลากรในหน่วยงาน  และใช้โอกาสในการมาทำกิจกรรมร่วมกันให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
  • อยากให้บุคลากรในหน่วยงานได้เวียนกันเป็นเจ้าภาพ (ผู้รับผิดชอบโครงการฯ) สลับกันเพื่อฝึกความรับผิดชอบ  การบริหารจัดการโครงการให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด
  • การจัดโครงการครั้งต่อไป ขอเป็นวันพฤหัสบดี - วันศุกร์ เหมือนเดิม เนื่องจากเป็นวันเวลาที่เหมาะสมไปกระทบต่อวันหยุด
  • อาจมีการเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมาให้ความรู้เพิ่มเติม เพื่อเปิดมุมมองการทำงานใหม่ๆ
  • เป็นสัมมนาที่พัฒนาให้เกิดความรู้เพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น
  • ช่วงของกำหนดการมีการเปลี่ยนแปลงตลอด น่าจะมีระยะเวลาที่ (บวก, ลบ ) ไม่มากเกิดจากกำหนดการจริง
  • เป็นโครงการที่ดี เพราะได้มีการทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างบุคคลที่ทำงานในหน่วยเดียวกัน
  • อากาศดี บรรยากาศดี ได้ชาร์จ พลังงานให้แก่ร่างกาย มีสุขภาพดี สมองปลอดโปร่ง

- โครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องเทคนิคการแพทย์” ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 ณ อาคารที่ทำการสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย ถ.รามอินทรา กม.8

- โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การใช้งานโปรแกรมการเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง ครั้งที่ 8” ในวันที่  28 กรกฎาคม 2559 ณ ห้องประชุมคอมพิวเตอร์ 1 ชั้น 3 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 11 คน  ผลการประเมินโครงการฯ อยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก (ค่าเฉลี่ยที่ 4.79)

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม/ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม  :

- น่าจะมีแบบฝึกหัดให้ลองฝึกลงข้อมูล ที่มีประเด็นในการดำเนินการ เพื่อร่วมคิดและอภิปรายให้ถูกต้องและเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 
ควรจัดให้ห่างขึ้น 2 ปี ต่อ 1 ครั้ง (จำนวน 2 คน) เพราะยังเนื้อหาเดิมอยู่ หากมีอะไร Update ใหม่ ควรแจ้งในเว็บไซต์ ramacme ก็ได้ค่ะ

- โครงการเครือข่ายความร่วมมือ เจ้าหน้าที่ประสานงานการประชุมทางไกล Teleconference เพื่อการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ ครั้งที่ 2” เมื่อวันพุธที่ 28 กันยายน 2559 ณ ห้อง 624 ชั้น 2 อาคารเรียนรวม จำนวน 44 คน ผลการประเมินโครงการฯ ครั้งนี้อยู่ในเกณฑ์ระดับดีถึงดีมาก (ค่าเฉลี่ยที่ 4.39)

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม/ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม  :

  1. อยากให้จัดอบรมปีละ 1 ครั้ง เพื่อทบทวน และสร้างความเข้าใจและซักซ้อม การประสานงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (จำนวน 2 คน)
  2. อยากให้พาไปดูงาน และจำลองสถานการณ์จริงให้ได้ลองปฏิบัติจริง
  3. ดีมาก ทั้งเนื้อหาหลักและการเสริมเนื้อหา ดีใจที่ได้เข้าร่วมการอบรมครั้งนี้ ทำให้ได้ความคิดในการต่อยอดในงานที่จะทำ

3. การศึกษาดูงาน
- บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) อาคาร SCG Experience เลียบวงแหวนรามอินทรา กทม. เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 ภายใต้หัวข้อ “SCG Innovative Exposition 2015”

-  การศึกษาดูงานการนำเสนอวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยของระบบผลิตรายการโทรทัศน์ ในงาน “Beyond Your Limits An Executive Workshop Broadcast” ณ บริษัท แพลนเน็ตคอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 จำนวน 4 คน

-  การเข้าร่วมงานสัมมนาในหัวข้อ Innovation Roadshow 2016 “Together by Design” เมื่อวันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2559 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ จำนวน 3 คน

2. หน่วยบริหารและธุรการ  

2.1 ด้านธุรการ     
ดำเนินการจัดทำเอกสารเข้า  จำนวน 510 เรื่อง
ดำเนินการจัดทำเอกสารออก จำนวน 231 เรื่อง
2.2 การดำเนินงานด้านบุคลากร
-  จัดส่งบุคลากรในหน่วยงานเข้ารับการฝึกอบรม ตามศักยภาพและความสนใจแต่ละบุคคล
-  ดำเนินการด้านสวัสดิการของบุคลากร อาทิ การเบิกค่ารักษาพยาบาล จำนวน 20 เรื่อง
-  ดำเนินการเบิกค่าปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ จำนวน  8 เดือน
-  ดำเนินการจัดทำข้อมูลในรูปแบบเอกสารและนำข้อมูลขึ้นระบบ ERP จำนวน 89 เรื่อง
2.3 การดำเนินงานด้านการเงิน งบประมาณ ดำเนินการด้านการขออนุมัติ และการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการฯ ของหน่วยงาน จำนวน 3 โครงการ คือ 1.  โครงการ “การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรงานการศึกษาต่อเนื่อง” 2. โครงการ “การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้งานโปรแกรมการเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง ครั้งที่ 8” 3.  โครงการ “เครือข่ายความร่วมมือ เจ้าหน้าที่ประสานงานการประชุมทางไกล Teleconference เพื่อการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ ครั้งที่ 2”
2.4 การดำเนินงานด้านงบประมาณนโยบายและแผน
ดำเนินการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ ประจำปี 2560 รายการครุภัณฑ์ จำนวน 11 รายการ ได้แก่ Upgrade MCU, อุปกรณ์ประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (ชุดเล็ก), อุปกรณ์ประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (ชุดใหญ่), Head set mic, Wireless Microphone, ไมโครโฟน, กล่องใส่เครื่องสลับภาพ เสียง (rack case), กล่องใส่กล้องวิดีโอ และอุปกรณ์, ขาตั้งกล้องวิดีโอ, แบตเตอรี่สำหรับกล้องวิดีโอ, Blackmagic Teranex mini (เครื่องแปลงสัญญาณ HDMI เป็น SDI)
2.5 ศูนย์จำหน่ายสื่อการศึกษาทางการแพทย์ ด้านการหารายได้ เพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ จึงได้มีการดำเนินงานจัดทำโครงการ “ผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษาต่อเนื่อง” และเพื่อรองรับการให้บริการของหน่วยงาน อาทิ  สื่อวีดิทัศน์ทางการแพทย์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ Internet ดำเนินการจัดจำหน่ายผลงานทางวิชาการของบุคลากรทางการแพทย์ของคณะฯ อาทิ หนังสือ ตำรา สื่อวีดิทัศน์ทางการแพทย์ และนวัตกรรมต่างๆ ที่เป็นผลงานของบุคลากรคณะฯ  การจัดจำหน่ายสื่อฯ  ประกอบด้วยการจัดกิจกรรม Road Show เช่น จัดจำหน่าย ณ อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ (เดือนละ 2 ครั้ง) การจัดจำหน่ายสื่อฯ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ภายในเว็บไซต์ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง (http://ramacme.ra.mahidol.ac.th) และเว็บไซต์เพื่อประชาชน (http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th) เพื่ออำนวยความสะดวกต่อบุคลากรทางการแพทย์ ประชาชน และผู้สนใจในการสั่งซื้อ ซึ่งสรุปยอดรวมของการจัดจำหน่ายสื่อฯ เป็นเงินทั้งสิ้น 30,675 บาท (ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2559)

การดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด  จัดทำโครงการสมาชิกสัมพันธ์ (การส่งข่าวสารแนะนำสินค้า) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 เว็บไซต์ ได้แก่ เว็บไซต์ภายใต้การกำกับดูแลของงานการศึกษาต่อเนื่อง (http://ramacme.ra.mahidol.ac.th, http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th, www.facebook.com/ramaclinic) ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ จำนวน 1 สื่อ ได้แก่ จุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง (จัดส่งไปยังโรงพยาบาลทั่วประเทศ จำนวน 830 แห่ง โรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด/อำเภอทั่วประเทศ จำนวน 854 แห่ง  กรมราชทัณฑ์ จำนวน 68 แห่ง สมาชิกภาคประชาชน 450 คน และในปีงบประมาณ 2558 ดำเนินการประชาสัมพันธ์ไปยังห้องสมุดประจำจังหวัด/อำเภอทั่วประเทศ จำนวน 762 แห่ง)          

3. หน่วยผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาต่อเนื่อง ปัจจุบัน วีดิทัศน์เป็นสื่อในการเรียนรู้ที่มีบทบาทมาก จากลักษณะของสื่อที่ใช้งานง่าย สามารถสร้างความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน อีกทั้งยังสามารถนำสื่อที่ได้มาใช้งานได้อย่างง่ายดาย อำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานได้เป็นอย่างมาก การนำสื่อวีดิทัศน์มาสนับสนุนกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ จำนวนสื่อวีดิทัศน์ จำนวน 79 เรื่อง

 

 

4.  หน่วยผลิตสื่อสิ่งพิมพ์  เป็นหน่วยบริการผลิตและออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบต่างๆ เพื่อการเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง อาทิเช่น โปสเตอร์ แผ่นพับ จุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง หนังสือพ๊อกเก็ตบุ๊ค และเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่างๆ โดยให้ความรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพแก่แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  ให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว และสามารถเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด โดยจัดจำหน่ายและเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนและผู้มาใช้บริการตามหน่วยตรวจโรค ภาควิชาฯ ห้องพักผู้ป่วย จุดประชาสัมพันธ์ ศูนย์เสริมพลังสร้างสุขสุขภาพ ห้องสมุดคณะฯ รวมถึงสมาชิกลูกค้าสัมพันธ์ หน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอ ทั่วประเทศ โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัด/อำเภอทั่วประเทศ กรมราชทัณฑ์ และขยายไปยังห้องสมุดประจำจังหวัด/อำเภอทั่วประเทศ  ผลงานที่ผลิตคือ

4.1 จุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่องโรงพยาบาลรามาธิบดี   ผลิตจุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่องต่อเนื่อง ทุกๆ 3 เดือน โดยการจัดส่งจุลสารข่าวฯ ให้กับโรงพยาบาลทั่ประเทศ โรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาประจำอำเภอทั่วประเทศ เรือนจำ ประชาชนผู้สนใจ และสมาชิกจุลสารข่าวฯ ได้ทราบข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้ทันกับเหตุการณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆ

4.2 แผนงานกราฟิก help ramacme  เพื่อพัฒนาและส่งเสริมงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้งานการศึกษาต่อเนื่อง วีดิทัศน์  รวมถึงด้านการตลาดให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

5. หน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการผลิตและพัฒนาเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนชนทั่วไปให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องผ่านสื่อประเภทออนไลน์ผลการดำเนินงานด้านเว็บไซต์ ปัจจุบันงานการศึกษาต่อเนื่องมีเว็บไซต์ที่อยู่ภายใต้ความดูแลทั้งสิ้น 5 เว็บไซต์

- เว็บไซต์ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (http://rama.mahidol.ac.th/ramacme)

- เว็บไซต์เพื่อประชาชน (http://rama.mahidol.ac.th/ramaclinic)

- เว็บไซต์งานการศึกษาต่อเนื่อง (http://rama.mahidol.ac.th/cme)

- เฟสบุคแฟนเพจสาระสุขภาพกับ ramaclinic.com (https://www.facebook.com/ramaclinic)

- เว็บไซต์ชมรมพุทธธรรมรามาธิบดี (http://med.mahidol.ac.th/buddhismclub/)

ผลการดำเนินงานด้านการรักษาดูแลระบบเครื่องแม่ข่าย งานการศึกษาต่อเนื่องได้ทำการจัดตั้งเครื่องแม่ข่ายเพื่อใช้รองรับกับงานการพัฒนาและดูแลเว็บไซต์ ซึ่งรองรับระบบเว็บไซต์ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นระบบของ Open Source สามารถใช้ได้เต็มประสิทธิภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายภายใต้เงื่อนไขของ GNU (GNU's Not Unix)

ระบบและการให้บริการของเครื่องแม่ข่าย

- FTP Server: เปิดให้บริการ Download Upload ข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการและดูแลเว็บไซต์ต่างๆ
- MySQL Server: ให้บริการระบบฐานข้อมูลสำหรับเว็บไซต์หรือโปรแกรมประยุกต์ที่ต้องการใช้งานระบบฐานข้อมูล
- Apache Server แบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่
- Virtual Interfcae (Virtual Server): จัดการสร้าง IP จำลอง (เสมือนมีเครื่องแม่ข่ายหลายเครื่อง) สำหรับแต่ละเว็บไซต์ที่ใช้งานเพื่อความสะดวกในการจัดการดูแลระบบ
- PHP Server: รองรับการใช้ภาษา PHP ในการจัดการเขียนโปรแกรมสำหรับสร้างเว็บไซต์ที่ทันสมัย
- SAMBA File Server: ให้บริการการใช้งานไฟล์หรือข้อมูลต่างๆ ในเครื่องแม่ข่ายแบบเสมือนอยู่ในเครื่องลูกข่าย เพื่อสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล
- SSH Server: ให้บริการควบคุมและจัดการแก้ไขด้านระบบต่างๆ โดยสมบูรณ์ ในเครื่องแม่ข่ายเสมือนจริง
- Webmin Interface: ให้บริการการควบคุมและจัดการแก้ไขด้านระบบต่างๆ ผ่านหน้าเว็บไซต์ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน

6. หน่วยประชุมทางไกลทางการแพทย์   ดำเนินการจัดประชุมทางไกลและพัฒนาระบบการส่งสัญญาณภาพและเสียงผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยในปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถูกจัดให้เป็น 1 ใน 6 คณะแพทยศาสตร์ ที่มีระบบการเรียนการสอน และการประชุมทางไกลที่อยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศ และมีการพัฒนาทั้งอุปกรณ์ โครงข่ายความร่วมมือและบุคลากรอย่างต่อเนื่องจนทำให้ระบบการเรียนการสอน และการประชุมทางไกล Teleconference ภายในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเสถียรเพื่อการใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั้งในระดับคณะฯ ระหว่างมหาวิทยาลัย ระหว่างจังหวัด และระหว่างประเทศ

ส่งผลงานเข้าประกวดในงานมหกรรมคุณภาพ (Quality Conference) ครั้งที่ 23 ประจำปี 2559

ผลงานกิจกรรมพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง : Continuous Quality Improvement – CQI

ประเภทการปรับปรุงกระบวนทำงาน

- โปรแกรมจองใช้ระบบการประชุมทางไกล Teleconference online โดย คุณวราวรรณ  จันทร์ดิษฐ์, คุณเนติธรณ์  วิพุธวิภาพร และคุณพิศุทธิ์  บุญทรง

ประเภทสิ่งประดิษฐ์

- Innovation : Push Stickerโดย คุณพิศุทธิ์  บุญทรง และ คุณเนติธรณ์  วิพุธวิภาพร

ผลงานกิจกรรมพัฒนาคุณภาพประเภทรายบุคคล (Kaizen)

- ลดความขัดแย้ง เสริมแรง ปลุกไฟในการทำงาน โดย คุณจารุวรรณ  ลีลาภรณ์

- การจัดการส่งเอกสารและไฟล์งานสำหรับการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ โดย คุณบุษกร  จักขุจันทร

- Connect ทันใจด้วย Web conference โดย คุณพิศุทธิ์  บุญทรง

ผลงานประเภทการเขียน เรื่องเล่าเร้าพลัง

- หยาดเหงื่อบนทางวิ่ง สู่ทุกสิ่งในการทำงาน  (ได้รับคัดเลือกผลงานเข้าร่วมงานมหกรรมคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล) โดย คุณพิศุทธิ์  บุญทรง

- สงกรานต์  สรงใจ โดย คุณอรวรรณ  สิทธิพล

- ดวงตาของแม่ โดย คุณกฤติวรรณ  รอบคอบ

- เปลี่ยนชีวิต  มุมมองใหม่ โดย คุณฐิติชญาณ์  ดำริห์

ผลงานประเภทคลิปวีดิโอ เรื่องเล่าเร้าพลัง

- คืนวันแห่งความสุขของชาวรามาธิบดี โดย คุณพึ่งกิจ  กล่อมวัฒนา

ผลงานประเภทคลิปวีดิโอ หน่วยงาน

- การชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุ  (รางวัลชนะเลิศ Rama Unseen) โดย คุณอาวุธ  นีละกาญจน์ และคุณพึ่งกิจ  กล่อมวัฒนา

- RAMA CME (รางวัลชมเชย Rama Unseen) โดย คุณอรวรรณ  สิทธิพล และคุณบุษกร  จักขุจันทร

- เพราะเธอคือความสุขของผม  (รางวัลชมเชย เรื่องเล่าเร้าพลัง ประเภทคลิปวีดิโอ) โดย คุณอาวุธ  นีละกาญจน์