รายงานประจำปี 2560

รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปี 2560 (1 ต.ค.59 – 30 ก.ย.60)

 ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ดำเนินงานตามพันธกิจหลักในการจัดการศึกษาต่อเนื่องสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ส่งเสริมให้มีการศึกษาด้วยตัวเองตลอดเวลาที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและทักษะวิชาชีพ ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการแพทย์แขนงต่างๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สรุปผลงานเด่น ประจำปี 2560 ดังนี้

1. หน่วยบริหารและธุรการ มีหน้าที่ในการดำเนินงานด้าน สารบรรณ การเงิน พัสดุ บุคลากร รวมถึงการหารายได้เข้าคณะฯ

1.1 การดำเนินงานด้านธุรการ
ดำเนินการจัดทำเอกสารเข้า จำนวน 493 เรื่อง
ดำเนินการจัดทำเอกสารออก จำนวน 278 เรื่อง

1.2 การดำเนินงานด้านบุคลากร
-  จัดส่งบุคลากรในหน่วยงานเข้ารับการฝึกอบรม ตามศักยภาพและความสนใจแต่ละบุคคล
-  ดำเนินการด้านสวัสดิการของบุคลากร อาทิ การเบิกค่ารักษาพยาบาล จำนวน 15 เรื่อง
-  ดำเนินการเบิกค่าปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ จำนวน 3 เดือน
-  ดำเนินการจัดทำข้อมูลในรูปแบบเอกสารและนำข้อมูลขึ้นระบบ ERP จำนวน 15 เรื่อง
-  ดำเนินการแจ้งซ่อม online จำนวน 18 เรื่อง

1.3 การดำเนินงานด้านงบประมาณนโยบายและแผน
ดำเนินการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ ประจำปี 2561 รายการครุภัณฑ์ จำนวน 2 รายการ ได้แก่ เครื่อง MCU ระบบควบคุมการประชุมทางไกลแบบหลายจุด (TelePresence MCU System) และ กล้องวิดีโอ

1.4 การดำเนินงานด้านการหารายได้
เพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ จึงได้มีการดำเนินงานจัดทำโครงการ “ผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษาต่อเนื่อง” และเพื่อรองรับการให้บริการของหน่วยงาน อาทิ  สื่อวีดิทัศน์ทางการแพทย์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ Internet  ดำเนินการจัดจำหน่ายผลงานทางวิชาการของบุคลากรทางการแพทย์ของคณะฯ อาทิ หนังสือ ตำรา สื่อวีดิทัศน์ทางการแพทย์ และนวัตกรรมต่างๆ ที่เป็นผลงานของบุคลากรคณะฯ  การจัดจำหน่ายสื่อฯ  ประกอบด้วยการจัดกิจกรรม Road Show เช่น จัดจำหน่าย ณ อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ (เดือนละ 2 ครั้ง) การจัดจำหน่ายสื่อฯ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ภายในเว็บไซต์ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง (http://ramacme.ra.mahidol.ac.th) และเว็บไซต์เพื่อประชาชน (http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th) เพื่ออำนวยความสะดวกต่อบุคลากรทางการแพทย์ ประชาชน และผู้สนใจในการสั่งซื้อ ซึ่งสรุปยอดรวมของการจัดจำหน่ายสื่อฯ เป็นเงินทั้งสิ้น 8,689* บาท (ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2560)

* เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลด้านสุขภาพมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง และเข้าถึงการรับรู้ข้อมูลได้อย่างง่ายและมีประสิทธิภาพ และไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทำให้การรายได้จากการจัดจำหน่ายลดลงเป็นอย่างมาก รวมถึงสื่อวีดิทัศน์ก็อยู่ในรูปแบบของ DVD เกิดการล่าสมัยไม่เป็นที่นิยม (ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดจำหน่ายใหม่)

1.5 การดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด จัดทำโครงการสมาชิกสัมพันธ์ (การส่งข่าวสารแนะนำสินค้า) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 เว็บไซต์ ได้แก่ เว็บไซต์ภายใต้การกำกับดูแลของงานการศึกษาต่อเนื่อง (http://ramacme.ra.mahidol.ac.thwww.facebook.com/ramaclinic) ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ จำนวน1 สื่อ ได้แก่ จุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง (จัดส่งไปยังโรงพยาบาลทั่วประเทศ จำนวน 830 แห่ง โรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด/อำเภอทั่วประเทศ จำนวน 854 แห่ง  กรมราชทัณฑ์ จำนวน 68 แห่ง สมาชิกภาคประชาชน 450 คน และในปีงบประมาณ 2558 ดำเนินการประชาสัมพันธ์ไปยังห้องสมุดประจำจังหวัด/อำเภอทั่วประเทศ จำนวน 762 แห่ง)              

2. หน่วยประเมินผลและเก็บคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง เป็นหน่วยที่มีหน้าที่ดำเนินการสรุปผลโครงการและประเมินผลการจัดโครงการภายใต้การดูแลของงานการศึกษาต่อเนื่อง และให้บริการรับรองหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ และให้ออกประกาศนียบัตรรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง ของสหสาขาทางการแพทย์

2.1 การรับรองและจัดเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง

2.1.1 การรับรองและจัดเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ (CME)
จำนวน 1,062 กิจกรรม และออกใบประกาศนียบัตรรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ จำนวน 875 ฉบับ โดยมีรายละเอียด ดังนี้      

2.1.2 การรับรองการจัดเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาตร์ (CCPE) ปี 2560  ได้รับรองหน่วยคะแนนทั้งสิ้นจำนวน 5 กิจกรรม

2.1.3 การรับรองการจัดเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องทางเทคนิคการแพทย์ (CMTE) ปี 2560  ได้รับรองหน่วยคะแนนทั้งสิ้นจำนวน 1 กิจกรรม 

2.1.4 ประสานงานการเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องทุกสาขาวิชาชีพ และกิจกรรม ภาคประชาชน ในหัวข้อ เด็กไทยคุณภาพดี 4.0 “อย่าให้จอเลี้ยงลูก”  ในงานประชุมวิชาการร่วมคณะแพทยศาสตร์สามสถาบัน พ.ศ.2560 จุฬา-รามา-ศิริราช  วันที่ 13-15 กันยายน 2560 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์

2.2 การศึกษาดูงาน
- เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ เรื่อง เทคโนโลยีเพื่อการถ่ายทอดสดการผ่าตัดแห่งอนาคต 21 มิถุนายน 2560  ศูนย์ฝึกอบรม Olympus T-TEC  สุขาภิบาล 2 ซอย 31 แขวง ดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
การเข้าร่วมงานสัมมนา “สื่อสารสร้างสรรค์งานด้านวิชาการและวัฒนธรรม” รวม 3 หน่วยงาน คือ งานบริการวิชาการ งานการศึกษาต่อเนื่อง งานโสตทัศนศึกษา เมื่อวัน 8-9 เมษายน 2560 ณ โรงแรมเดอะไทน์ จ.ชลบุรี

 

 

3. หน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการผลิตและพัฒนาเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนชนทั่วไปให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องผ่านสื่อประเภทออนไลน์ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

3.1  การดำเนินงานด้านการพัฒนา Mobile Application ปัจจุบันงานการศึกษาต่อเนื่องได้พัฒนา Application ทางการแพทย์เพื่อใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ดังนี้
- Articulation Test (V 0.1.0) เป็น Application สำหรับทดสอบเสียงพูดของผู้ป่วยเพื่อทำการตรวจหาการออกเสียง ชัดหรือไม่ชัด โดยสามารถใช้งานผ่านทาง Smart Phone Android และในอนาคตจะสามารถใช้งานได้บน Smart Phone ระบบ IOS Application นี้สามารถรองรับการใช้งานได้ทั้ง Tablet และ Mobile 

 

- ยาสำหรับผู้สูงอายุ (V 0.1.0) เป็น Application สำหรับให้ข้อมูลยาซึ่งเป็นข้อมูลเฉพาะยาของผู้สูงอายุ โดยแบ่งแยกตามกลุ่มของโรค เช่น เบาหวาน, ความดัน เป็นต้น Application นี้สามารถรองรับ การทำงานได้ในระบบ Android ก่อน หลังจากนี้จะสามารถรองรับได้ในระบบ IOS ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้ง Tablet และ Mobile ต่อไปได้ อีกทั้งยังสามารถทำงานได้แบบ Offline

 

 

- CME-Request (กำลังพัฒนา) เป็นระบบที่ใช้ในการเผยแพร่การบันทึกข้อมูลการประชุมในรูปแบบของ Video โดยมีสองส่วนคือ หน้าบ้าน (Front End) ใช้สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการ Download Video และหลังบ้าน (Back End) เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดการ Video โดย Video จะมีอายุได้ไม่เกิน 3 เดือน หลังจากนั้นระบบจะทำการลบออกโดยอัตโนมัติ

3.2  ผลการดำเนินงานด้านเว็บไซต์ ปัจจุบันงานการศึกษาต่อเนื่องมีเว็บไซต์ภายใต้ความดูแล 5 เว็บไซต์ ดังนี้

3.2.1เว็บไซต์ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี   https://rama.mahidol.ac.th/ramacme/ 
การดำเนินงานพัฒนาเว็บไซต์ต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงปรับปรุงเว็บไซต์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับหน่วยงานต่างๆ ภายในคณะฯ ที่ให้เข้าถึงได้ง่าย และมีภาษาอังกฤษพอเพียง จึงมีการจัดการเรียบเรียงเนื้อหาลงเว็บไซต์เพิ่มเติมในส่วนของภาษาอังกฤษ มีการจัดทำโครงการสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำเนื้อหาที่มีความเหมาะสมและน่าสนใจลงเว็บไซต์

 

 

3.2.2 เว็บไซต์รามาคลินิกเพื่อประชาชน https://rama.mahidol.ac.th/ramaclinic/ 
การดำเนินงาน พัฒนาเว็บไซต์ต่อเนื่องเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงปรับปรุงเว็บไซต์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับหน่วยงานต่างๆ ภายในคณะฯ ที่ให้เข้าถึงได้ง่าย จัดการเรียบเรียงเนื้อหาลงเว็บไซต์ และโครงการพัฒนาโปรแกรม E-Book เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน

 

3.2.3 เว็บไซต์งานการศึกษาต่อเนื่อง http://rama.mahidol.ac.th/cme/ และ http://intra9.rama.mahidol.ac.th/cme/th/km (Intranet)
ข้อมูลในเว็บไซต์จัดทำเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างหน่วยงานของงานการศึกษาต่อเนื่อง บุคลากรภายในหน่วยงาน รวมไปถึงขั้นตอนการขอใช้บริการด้านต่างๆจากงานการศึกษาต่อเนื่อง ปัจจุบันเว็บไซต์หน่วยงานได้มีการพัฒนาให้เป็นรูปแบบของ Responsive Website แล้วเพื่อรองรับหน้าจอ Smartphone, Tablet, และ Desktop ได้ในเว็บไซต์เดียว

 

3.2.4 เฟสบุคแฟนเพจสาระสุขภาพกับ ramaclinic.com (https://www.facebook.com/ramaclinic)
การดำเนินงาน เป็นช่องทางการสื่อสารเพื่อเผยแพร่ข่าวสารและกิจกรรมความรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชนผ่านทางหน้าเฟสบุค สาระสุขภาพกับรามาคลินิกดอทคอม โดยในหน้าเพจจะมีการลงเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสุขภาพที่น่าสนใจ กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสมาชิก รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์สื่อใหม่ๆ ที่ได้มีการจัดจำหน่าย เป็นต้น สถิติแฟนเพจ 2,595 คน

3.2.5 เว็บไซต์ชมรมพุทธธรรมรามาธิบดี http://rama.mahidol.ac.th/buddhismclub , https://www.facebook.com/RamaBuddhismClub (Facebook)
การดำเนินงาน เว็บไซต์ชมรมพุทธธรรมรามาธิบดี จัดทำขึ้นเพื่อดำเนินการเผยแพร่ข่าวสารและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชมรมพุทธธรรมรามาธิบดี แก่กลุ่มบุคลากรในคณะฯ ที่สนใจ (บุคลากรงานการศึกษาต่อเนื่องร่วมเป็นกรรมการชมรมพุทธธรรมรามาธิบดี จึงได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ชมรมพุทธธรรม ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2556 จนถึงปัจจุบัน) สถิติแฟนเพจ 3,991 คน

3.3 การดำเนินงานด้านการรักษาดูแลระบบเครื่องแม่ข่าย
งานการศึกษาต่อเนื่องได้ทำการจัด ซื้อ Server เพื่อใช้ในการทำงานร่วมกับ Mobile Application และ ใช้ในการพัฒนา Web Application ในการพัฒนาระบบงานนั้นมีทั้งการพัฒนาระบบงานในรูปแบบ Offline และ Online ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อกับระบบหลังบ้านที่ทำงานในรูปแบบของ Web Application โดยการเชื่อมต่อนั้นจะสามารถเชื่อมต่อได้ในรูปแบบของ Web Service  สำหรับ Server มีรายละเอียดดังนี้

4. หน่วยประชุมทางไกลทางการแพทย์   ดำเนินการจัดประชุมทางไกลและพัฒนาระบบการส่งสัญญาณภาพและเสียงผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยในปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถูกจัดให้เป็น 1 ใน 6 คณะแพทยศาสตร์ ที่มีระบบการเรียนการสอน และการประชุมทางไกลที่อยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศ และมีการพัฒนาทั้งอุปกรณ์ โครงข่ายความร่วมมือและบุคลากรอย่างต่อเนื่องจนทำให้ระบบการเรียนการสอน และการประชุมทางไกล Teleconference ภายในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเสถียรเพื่อการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในระดับคณะฯ ระหว่างมหาวิทยาลัย ระหว่างจังหวัด และระหว่างประเทศ

โดยในปัจจุบันดูแลระบบการเรียนการสอน และการประชุมทางไกล Teleconference ทั้งหมด 304 ครั้ง ดังนี้

  • ระบบ codex ผ่าน MCU              ทั้งหมด 243      ครั้ง
  • ระบบ Web conference             ทั้งหมด   44      ครั้ง
  • ระบบ codex เชื่อต่อตรงผ่าน IP   ทั้งหมด 12       ครั้ง
  • ระบบ IP TV                               ทั้งหมด    3       ครั้ง
  • ระบบ LiST                                ทั้งหมด    2       ครั้ง

และหน่วยงานยังเป็นผู้รับผิดชอบการจัดทำ IPTV ให้กับคณะฯ

  • พัฒนาระบบโปรแกรมจองใช้ระบบการเรียนการสอนและการประชุมทางไกล Teleconference
  • จัดทำ Application IP TV เพื่อให้ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดต่างๆ ของคณะแพทยศาสตร์ ผ่านระบบ IP TV ของมหาวิทยาลัย ผ่าน Mobile App ได้
  • วางแผน ควบคุมเวที และทำการถ่ายทอดสัญญาณวงจรปิด งานแถลงข่าวภาคประชาชน

การประชุมวิชาการ 3 สถาบัน จุฬา รามาฯ ศิริราช พ.ศ. 2560

5. หน่วยผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาต่อเนื่อง ปัจจุบัน วีดิทัศน์เป็นสื่อในการเรียนรู้ที่มีบทบาทมาก จากลักษณะของสื่อที่ใช้งานง่าย สามารถสร้างความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน อีกทั้งยังสามารถนำสื่อที่ได้มาใช้งานได้อย่างง่ายดาย อำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานได้เป็นอย่างมาก การนำสื่อวีดิทัศน์มาสนับสนุนกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ จำนวนสื่อวีดิทัศน์ จำนวน 74 เรื่อง ดังนี้

 6.  หน่วยผลิตสื่อสิ่งพิมพ์  เป็นหน่วยบริการผลิตและออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบต่างๆ เพื่อการเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง อาทิเช่น โปสเตอร์ แผ่นพับ จุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง หนังสือพ๊อกเก็ตบุ๊ค และเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่างๆ โดยให้ความรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพแก่แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนผู้สนใจทั่วไปทั้งภายในและภายนอกคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  ให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว และสามารถเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด โดยจัดจำหน่ายและเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนและผู้มาใช้บริการตามหน่วยตรวจโรค ภาควิชาฯ ห้องพักผู้ป่วย จุดประชาสัมพันธ์ ศูนย์เสริมพลังสร้างสุขสุขภาพ ห้องสมุดคณะฯ รวมถึงสมาชิกลูกค้าสัมพันธ์ หน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอ ทั่วประเทศ โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัด/อำเภอทั่วประเทศ กรมราชทัณฑ์ และขยายไปยังห้องสมุดประจำจังหวัด/อำเภอทั่วประเทศ  ผลงานที่ผลิตคือ

6.1 จุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่องโรงพยาบาลรามาธิบดี   ผลิตจุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ทุกๆ 3 เดือน โดยการจัดส่งจุลสารข่าวฯ ให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ โรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาประจำอำเภอทั่วประเทศ เรือนจำ ประชาชนผู้สนใจ และสมาชิกจุลสารข่าวฯ ได้ทราบข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้ทันกับเหตุการณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆ จัดพิมพ์ทั้งหมด 16,000 เล่ม

  

6.2 แผนงานกราฟิก help ramacme  เพื่อพัฒนาและส่งเสริมงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์  เว็บไซต์ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้งานการศึกษาต่อเนื่อง วีดิทัศน์  รวมถึงด้านการตลาด  ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ผลงานกิจกรรมพัฒนาคุณภาพประเภทรายบุคคล (Kaizen)
- Tele Combo Set 
- สื่อสาร สร้างสรรค์งานด้านวิชาการและวัฒนธรรม
- การรับรองหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของสหสาขาทางการแพทย์

ผลงานประเภทการเขียน เรื่องเล่าเร้าพลังประเภท 
- ภาพที่ไม่มีวันหายไป  (ประเภทบทความ) โดย คุณพิศุทธิ์  บุญทรง
- พักสายตาเถอะนะตัวเอง โดย คุณอาวุธ  นีละกาญจน์  (ประเภท VDO Clip)

ผลงานประเภท VDO Clip
-  รวมพลังชาวสื่อมหิดล  National EMS Rally 2017 โดย คุณพึ่งกิจ  กล่อมวัฒนา

ประเภท Best Practice
-   โปรแกรมการจองระบบการประชุมทางไกล Teleconference โดย คุณกฤติวรรณ  รอบคอบ

รางวัลที่ได้รับ งานการศึกษาต่อเนื่อง ได้มุ่งมั่นและตั้งใจในการดำเนินงานที่ผ่านมาอย่างเต็มความสามารถ และเป็นที่น่าภูมิใจสำหรับบุคลากรประจำหน่วยงาน
- รางวัลชนะเลิศ VDO Clip ประเภท Best Parctice ผลงานเรื่อง “โปรแกรมการจองระบบการประชุมทางไกล Teleconference” ในงานมหกรรมคุณภาพ (Quality Conference) ครั้งที่ 24 ประจำปี 2560 ณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

การส่งผลงานเข้าประกวดใน งานมหกรรมคุณภาพ ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน ภายใต้หัวข้อ “Maximizing Value – Minimizing Waste” จัดโดย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผลงานดังนี้  
- การพัฒนาระบบแนะนำการใช้ยาในผู้สูงอายุบน Smart phone โดย คุณจารุวรรณ  ลีลาภรณ์, คุณปาริทรรศ์  ดาเดช
- ระบบการถ่ายทอดสดแบบบูรณาการ : List  โดย คุณพิศุทธิ์  บุญทรง และทีม