รายงานประจำปี 2561

รายงานผลการดำเนินงานประจำ ปี 2561 (1 ต.ค. 60 – 30 ก.ย. 61)

ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ดำเนินงานตามพันธกิจหลักในการจัดการศึกษาต่อเนื่องสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ส่งเสริมให้มีการศึกษาด้วยตัวเองตลอดเวลาที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและทักษะวิชาชีพทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการแพทย์แขนงต่างๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  สรุปผลงานเด่น ประจำปี 2561 ดังนี้

1. หน่วยบริหารและธุรการ มีหน้าที่ในการดำเนินงานด้าน สารบรรณ การเงิน พัสดุ บุคลากร

1.1 ด้านธุรการ ดำเนินการจัดทำเอกสารเข้า จำนวน 428 เรื่อง / ดำเนินการจัดทำเอกสารออก จำนวน 151 เรื่อง
1.2 การดำเนินงานด้านบุคลากร
-  จัดส่งบุคลากรในหน่วยงานเข้ารับการฝึกอบรม ตามศักยภาพและความสนใจแต่ละบุคคล เข้าร่วมอบรมหลักสูตร “ผู้บริหารระดับต้น” รุ่นที่ 3 (นางอรวรรณ  สิทธิพล)
-  ดำเนินการด้านสวัสดิการของบุคลากร อาทิ การเบิกค่ารักษาพยาบาล จำนวน 15 เรื่อง
- ดำเนินการเบิกค่าปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ จำนวน 3 เดือน จำนวน 1,760 บาท
- ดำเนินการเบิกค่าการศึกษาบุตร จำนวน 3 เรื่อง
- ดำเนินการจัดทำข้อมูลในรูปแบบเอกสารและนำข้อมูลขึ้นระบบ ERP จำนวน 72 เรื่อง
- ดำเนินการแจ้งซ่อม online จำนวน 7 เรื่อง
1.3 การดำเนินงานด้านงบประมาณนโยบายและแผน ดำเนินการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ ประจำปี 2561 รายการครุภัณฑ์ จำนวน 2 รายการ ได้แก่ กล้องวิดีโอ และ ระบบการเรียนการสอน การประชุมทางไกล
1.4 การดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด จัดทำโครงการ สมาชิกสัมพันธ์ (การส่งข่าวสารแนะนำสินค้า) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 เว็บไซต์ ได้แก่ เว็บไซต์ภายใต้การกำกับดูแลของงานการศึกษาต่อเนื่อง (https://rama.mahidol.ac.th/cme/www.facebook.com/ramaclinic) ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ จำนวน 1 สื่อ ได้แก่ จุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง (จัดส่งไปยังโรงพยาบาลทั่วประเทศ จำนวน 830 แห่ง โรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด/อำเภอทั่วประเทศ จำนวน 854 แห่ง  กรมราชทัณฑ์ จำนวน 68 แห่งสมาชิกภาคประชาชน 450 คน และในปีงบประมาณ 2561 ดำเนินการประชาสัมพันธ์ไปยังห้องสมุดประจำจังหวัด/อำเภอทั่วประเทศ จำนวน 762 แห่ง รวมทั้งสิ้น 2,964 แห่ง)

2. หน่วยประเมินผลและเก็บคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง เป็นหน่วยที่มีหน้าที่ดำเนินการสรุปผลโครงการและประเมินผลการจัดโครงการภายใต้การดูแลของงานการศึกษาต่อเนื่อง และให้บริการรับรองหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ และออกประกาศนียบัตรรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง ของสหสาขาทางการแพทย์ มีรายละเอียดดังนี้

การรับรองและจัดเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง
2.1 การรับรองและจัดเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ (CME)  จำนวน 1,062 กิจกรรม และออกใบประกาศนียบัตรรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ จำนวน 875 ฉบับ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ผลการส่งคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ของแต่สถาบันสมทบ

ตารางเปรียบเทียบการเก็บหน่วยคะแนนของแต่ละหน่วยงานตั้งแต่ปี 2557 – 2561

2.2 ให้การรับรอง การจัดเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของสหสาขาทางการแพทย์
2.2.1 การศึกษาต่อเนื่องทางเทคนิคการแพทย์ (CMET) ปี 2561 ได้รับรองหน่วยคะแนนทั้งสิ้นจำนวน 2 กิจกรรม 
2.2.2 การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ (CCPE) ปี 2561 ได้รับรองหน่วยคะแนนทั้งสิ้น จำนวน 4 กิจกรรม 
2.2.3 การศึกษาต่อเนื่องทางทันตแพทย์ (CDCE) ปี 2561 ได้รับรองหน่วยคะแนนทั้งสิ้น
จำนวน 2 กิจกรรม 
 

 

3. หน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการผลิตและพัฒนาเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนชนทั่วไปให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องผ่านสื่ประเภทออนไลน์ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
3.1  ผลการดำเนินงานด้านการพัฒนา Mobile Application ปัจจุบันงานการศึกษาต่อเนื่องได้พัฒนา Application ทางการแพทย์เพื่อใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ดังนี้
- Articulation Test (V 0.1.0) เป็น Application สำหรับทดสอบเสียงพูดของผู้ป่วยเพื่อทำการตรวจหาการออกเสียง ชัดหรือไม่ชัด โดยสามารถใช้งานผ่านทาง Smart Phone Android และในอนาคตจะสามารถใช้งานได้บน Smart Phone ระบบ IOS Application นี้สามารถรองรับการใช้งานได้ทั้ง Tablet และ Mobile 

- ยาสำหรับผู้สูงอายุ (V 0.1.0) เป็น Application สำหรับให้ข้อมูลยาซึ่งเป็นข้อมูลเฉพาะยาของผู้สูงอายุ โดยแบ่งแยกตามกลุ่มของโรค เช่น เบาหวาน ความดัน เป็นต้น Application นี้สามารถรองรับการทำงานได้ในระบบ Android ก่อน หลังจากนี้จะสามารถรองรับได้ในระบบ IOS ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้ง Tablet และ Mobile ต่อไปได้ อีกทั้งยังสามารถทำงานได้แบบ Offline

 

3.2  ผลการดำเนินงานด้านการพัฒนา Web Application ซึ่งนำมาพัฒนาให้แสดงผลแต่ส่วนที่จำเป็น เพื่อเป็นการลดทรัพยากรในการประมวลผล ของตัวเครื่องสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ทำให้โหลดหน้าเว็บไซต์ได้เร็วขึ้น อีกทั้งผู้ใช้งานยังสามารถใช้งานผ่าน Internet (อินเทอร์เน็ต) และ Intranet (อินทราเน็ต) ในความเร็วตํ่าได้
3.1.1  CME-Service (Version1) เป็นระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการงานของหน่วยงานในรูปแบบของ Web Application พัฒนาด้วยภาษา PHP และใช้ฐานข้อมูล MySql ซึ่งเป็นระบบหลังในการทำงานและเป็นส่วนสำคัญในการจัดการ การเข้าใช้งานของระบบย่อยต่างๆ และสามารถออกรายงานในรูปแบบของ Dashboard และ Excel เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูลได้ เช่น ข้อมูลในการทำ Teleconference  ข้อมูลการใช้ยาของผู้สูงอายุ  ข้อมูลการตรวจสอบการพูดไม่ชัด  เป็นต้น ซึ่งสามารถแสดงได้ ดังภาพ Back-End

เป็นระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการงานของงานการศึกษาต่อเนื่องซึ่งเป็นระบบหลักในการทำงาน และเป็นส่วนสำคัญในการจัดการ การเข้าใช้งานของระบบย่อยต่างๆ ดังภาพในส่วนของ Front-End เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข่าวสารประชาสัมพันธ์ และในส่วนของตารางการจองใช้งานระบบ Teleconference ผู้ใช้งานสามารถลงทะเบียนเพื่อเลือกใช้งานระบบได้ที่หน้านี้

3.1.2 CME Vi-share (Version 0.1) เป็นระบบที่ใช้ในการเผยแพร่การบันทึกข้อมูลการประชุมในรูปแบบของ Video โดยมีสองส่วนคือ หน้าบ้าน (Front End) ใช้สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการ Download Video และหลังบ้าน (Back End) เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดการ Video โดย Video จะมีอายุได้ไม่เกิน 3 เดือน หลังจากนั้นระบบจะทำการลบออกโดยอัตโนมัติ

3.2 ผลการดำเนินงานด้านเว็บไซต์ ปัจจุบันงานการศึกษาต่อเนื่องมีเว็บไซต์ภายใต้ความดูแล 4 เว็บไซต์ ดังนี้

1. เว็บไซต์ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี https://rama.mahidol.ac.th/ramacme/ 
การดำเนินงาน   พัฒนาเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เว็บไซต์สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงปรับปรุงเว็บไซต์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับหน่วยงานต่างๆ ภายในคณะฯ ที่ให้เข้าถึงได้ง่าย และมีภาษาอังกฤษพอเพียง จึงมีการจัดการเรียบเรียงเนื้อหาลงเว็บไซต์เพิ่มเติมในส่วนของภาษาอังกฤษ มีการจัดทำโครงการสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำเนื้อหาที่มีความเหมาะสมและน่าสนใจลงเว็บไซต์ ลงข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องรวมไปถึงบทความทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

2. เว็บไซต์รามาคลินิกเพื่อประชาชน https://rama.mahidol.ac.th/ramaclinic/ 

การดำเนินงาน พัฒนาเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เว็บไซต์สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงปรับปรุงเว็บไซต์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับหน่วยงานต่างๆ ภายในคณะฯ ที่ให้เข้าถึงได้ง่าย จัดการเรียบเรียงเนื้อหาลงเว็บไซต์ และโครงการพัฒนาระบบ E-Book เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ ลงข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมความรู้เพื่อสุขภาพสำหรับประชาชนที่จัดขึ้น

3. เว็บไซต์งานการศึกษาต่อเนื่อง http://rama.mahidol.ac.th/cme/ และ http://intra9.rama.mahidol.ac.th/cme/th/km (Intranet)
การดำเนินงาน เว็บไซต์หน่วยงาน ข้อมูลในเว็บไซต์จัดทำเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างหน่วยงานของงานการศึกษาต่อเนื่อง บุคลากรภายในหน่วยงาน รวมไปถึงการให้บริการขั้นตอนการขอใช้บริการด้านต่างๆจากงานการศึกษาต่อเนื่อง ปัจจุบันเว็บไซต์หน่วยงานได้มีการพัฒนาให้เป็นรูปแบบของ Responsive Website แล้วเพื่อรองรับหน้าจอ Smartphone Tablet และ Desktop ได้ในเว็บไซต์เดียว

 

4. เฟสบุคแฟนเพจสาระสุขภาพกับ ramaclinic.com www.facebook.com/ramaclinic
การดำเนินงาน เป็นช่องทางการสื่อสารเพื่อเผยแพร่ข่าวสารและกิจกรรมความรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชนผ่านทางหน้าเฟสบุค สาระสุขภาพกับรามาคลินิกดอทคอม โดยในหน้าเพจจะมีการลงเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสุขภาพที่น่าสนใจ กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสมาชิก รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์สื่อใหม่ๆ ที่ได้มีการจัดจำหน่าย เป็นต้น สถิติแฟนเพจ 2,566 คน

 

3.3 ผลการดำเนินงานด้านการรักษาดูแลระบบเครื่องแม่ข่าย
งานการศึกษาต่อเนื่องได้ทำการจัดซื้อ Server เพื่อใช้ในการทำงานร่วมกับ Mobile Application และใช้ในการพัฒนา Web Application ในการพัฒนาระบบงานนั้นมีทั้งการพัฒนาระบบงานในรูปแบบ Offline และ Online ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อกับระบบหลังบ้านที่ทำงานในรูปแบบของ Web Application โดยการเชื่อมต่อนั้นจะสามารถเชื่อมต่อได้ในรูปแบบของ Web Service  สำหรับ Server มีรายละเอียดดังนี้

4. หน่วยประชุมทางไกลทางการแพทย์   ดำเนินการจัดประชุมทางไกลและพัฒนาระบบการส่งสัญญาณภาพและเสียงผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยในปัจจุบัน มีการเพิ่มโครงข่ายความร่วมมือและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง  ทั้งในระดับคณะฯ ระหว่างมหาวิทยาลัย ระหว่างจังหวัด และระหว่างประเทศ โดยในปัจจุบันดูแลระบบการเรียนการสอน และการประชุมทางไกล Teleconference ทั้งหมด 383 ครั้ง ดังนี้

 

การดำเนินงานต่างๆ นอกจากการดำเนินงานด้านการถ่ายทอดสดการประชุมทางไกล (Teleconference) ยังดำเนินการถ่ายทอดสดผ่านระบบต่างๆ อีก 2 ลักษณะ คือ
1. การจัดทำระบบ IPTV ให้กับคณะฯ จัดทำ Application IPTV เพื่อให้ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดต่างๆ ของคณะฯผ่านระบบ IPTV ของมหาวิทยาลัย ผ่าน Mobile Application ได้
2. การถ่ายทอดสด ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Facebook) วางแผน ควบคุมเวที และทำการถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบสื่อสังคมออนไลน์ (Facebook)  สำหรับกิจกรรมภาคประชาชน งานการประชุมวิชาการประจำปี 2561 Ramathibodi International Academic Conference (RIAC) 2018 เรื่อง “Moving forward to the higher standard of care” ในวันที่ 5 กันยายน 2561 ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาคีส์ ควีนปาร์ค กรุงเทพฯ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา และประชาชนทั่วไป
3. เปิดเครือข่ายใหม่ เนื่องจากได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากคณาจารย์ ผู้บริหาร ทำให้ระบบ Teleconference ได้มีการขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้น อาทิ การประชุมเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กับองค์กรอนามัยโลก (WHO) ด้วยระบบ Web conference

4. โครงการเครือข่ายความร่วมมือพญาไท โดยการประสานงานการทำงานแบบเครือข่าย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดกระบวนการ ความร่วมมือให้การช่วยเหลือ แบ่งปันทรัพยากรและบุคลากรภายในกลุ่มผู้ดูแลระบบฯ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน

5. เปิดการเชื่อมต่อระหว่าง campus คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี – สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์  พัฒนาการเชื่อมโยงระบบการเรียนการสอนและการประชุมทางไกล ด้วยระบบ Teleconference จากระบบเดิมของงานการศึกษาต่อเนื่อง และระบบเครือข่ายพื้นฐานของงานเวชสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้สามารถเชื่อมต่อกับสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์     ทั้งระบบ Teleconference Web conference IPTV เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่บุคลกรของทั้งสองสถาบัน

6. การเป็นวิทยากร จากการปฏิบัติงานจนเป็นที่ยอมรับอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บุคลากรได้รับเกียรติเชิญเป็นวิทยากรงานการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา" ครั้งที่ 37 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2561 ในหัวข้อ การนำเสนอข้อเสนอแนะ และการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้าน Tele-education Tele conference Telemedicine มีผู้เข้าร่วมฟังการบรรยาย จำนวน 54 คน

5. หน่วยผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาต่อเนื่อง ปัจจุบัน วีดิทัศน์เป็นสื่อในการเรียนรู้ที่มีบทบาทมาก จากลักษณะของสื่อที่ใช้งานง่าย สามารถสร้างความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน อีกทั้งยังสามารถนำสื่อที่ได้มาใช้งานได้อย่างง่ายดาย อำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานได้เป็นอย่างมาก การนำสื่อวีดิทัศน์มาสนับสนุนกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ และในปีงบประมาณ 2561 สามารถผลิตสื่อวีดิทัศน์ได้ จำนวน 125 เรื่อง

6.  หน่วยผลิตสื่อสิ่งพิมพ์  เป็นหน่วยบริการผลิตและออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบต่างๆ เพื่อการเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง อาทิเช่น โปสเตอร์ แผ่นพับ จุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง หนังสือพ๊อกเก็ตบุ๊ค และเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่างๆ โดยให้ความรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพแก่แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนผู้สนใจทั่วไปทั้งภายในและภายนอกคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  ให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว และสามารถเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด โดยจัดจำหน่ายและเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนและผู้มาใช้บริการตามหน่วยตรวจโรค ภาควิชาฯ ห้องพักผู้ป่วย จุดประชาสัมพันธ์ ศูนย์เสริมพลังสร้างสุขภาพ ห้องสมุดคณะฯ รวมถึงสมาชิกลูกค้าสัมพันธ์ หน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอ ทั่วประเทศ โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัด/อำเภอทั่วประเทศ กรมราชทัณฑ์ และขยายไปยังห้องสมุดประจำจังหวัด/อำเภอทั่วประเทศ  ผลงานที่ผลิตคือ

6.1 จุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่องโรงพยาบาลรามาธิบดี   ผลิตจุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ทุกๆ 3 เดือน โดยการจัดส่งจุลสารข่าวฯ ให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ โรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาประจำอำเภอทั่วประเทศ เรือนจำ ประชาชนผู้สนใจ และสมาชิกจุลสารข่าวฯ ได้ทราบข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้ทันกับเหตุการณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆ จัดพิมพ์ทั้งหมด 16,000 เล่ม ตั้งแต่  1 ตุลาคม 2560  - 31 กันยายน 2561 จำนวน 4 ฉบับ

6.2 โปสเตอร์ จำนวน 22 รายการ

6.3 บัตรเชิญ บัตรขอบคุณ จำนวน 6 รายการ

6.4 งานที่ได้รับมอบหมาย   จำนวน 5 รายการ

การส่งผลงานเข้าประกวดในงานมหกรรมคุณภาพ (Quality Conference) ครั้งที่ 25 ประจำปี 2561
ประเภทพัฒนาคุณภาพงานกระบวนการทำงาน
1. โครงการพัฒนากระบวนการประชุมทางไกลจากห้องผ่าตัดภายใต้เครือข่ายความร่วมมือพญาไท
2.  เด็กไทยคุณภาพดียุค 4.0....
ประเภทพัฒนาคุณภาพงานสิ่งประดิษฐ์
1. โครงการพัฒนาระบบทดสอบการสื่อความหมาย Smart phone
ประเภทพัฒนาคุณภาพงานประเภทรายบุคคล (KAIZEN)
1. ส่งไฟล์ VDO ฉับไวไม่หายด้วย VIP (Video Impart project)
ประเภทพัฒนาคุณภาพงาน ประเภทเรื่องเล่าเร้าพลัง
1. เรื่อง Application ยา กับแววตาเปี่ยมสุข
2. เรื่อง จุดไฟเพิ่มพลังงาน
3. เรื่อง ก็แค่...เค้กส้ม
4. เรื่อง เจ้าชายน้อยของฉัน “ติดจอ”
5. เรื่อง ลูกชุบ ฉุกคิด
ประเภทพัฒนาคุณภาพงาน ประเภทเรื่องเล่าเร้าพลัง (แบบคลิปวิดีโอ)
เรื่อง “รักตัวเองกันนะ”

ผลงานด้านวัฒนธรรม จากการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านวิชาการแล้ว บุคลากรงานการศึกษาต่อเนื่อง ยังให้ความสำคัญและความร่วมมือสนับสนุนการสืบสานด้านวัฒนธรรมอันดีงาม ให้สอดคล้องไปกับสถานการณ์ปัจจุบันในวาระต่างๆ ดังนี้
1. งานเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์บดินทรเทพวรางกูร (ร.10)
2. งานเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ บรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
3. งานปาฐกถาอารี  วัลยะเสวี ครั้งที่ 31 โดย นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
4. งานมุทิตาจิต คณะแพทยศาสตร์ฯ ประจำปี 2561
5.งานเชิดชูเกียรติ และแสดงความยินดี คณาจารย์ผู้ได้รับรางวัลระดับมหาวิทยาลัย ระดับชาติ และระดับนานาชาติ