รายงานประจำปี 2563

รายงานผลการดำเนินงานประจำ ปี 2563 (1 ต.ค. 62 – 30 ก.ย. 63)

 

            

รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปี 2563 (1 ต.ค.2562 – 30 ก.ย.2563)

ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง  ดำเนินงานตามพันธกิจหลักในการจัดการศึกษาต่อเนื่องสำหรับบุคลากรทางการแพทย์  ส่งเสริมให้มีการศึกษาด้วยตัวเองตลอดเวลาที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรม  เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและทักษะวิชาชีพ  ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการแพทย์แขนงต่างๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  สรุปผลงานเด่น ประจำปี 2563 ดังนี้

1. หน่วยบริหารและธุรการ  มีหน้าที่ในการดำเนินงานด้านสารบรรณ การเงิน พัสดุ บุคลากร

    1. ด้านธุรการ      ดำเนินการจัดทำเอกสารเข้า  จำนวน 439 เรื่อง

                        ดำเนินการจัดทำเอกสารออก จำนวน 120 เรื่อง

     1.2 การดำเนินงานด้านบุคลากร

                    -  ดำเนินการส่งเสริมพัฒนาบุคลากร ตามศักยภาพและความสนใจแต่ละบุคคล

                             * วิทยากรประชุมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศ

เพื่อการศึกษา ครั้งที่ 40 (40th WUNCA) (นายพิศุทธิ์  บุญทรง, นายเนติธรณ์ วิพุธวิภาพร,

นายศุทธนะ  นนทะเปาระยะ) จัดโดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์

วิจัยและนวัตกรรม

                             * เข้าร่วมอบรมหลักสูตร “ผู้บริหารระดับต้น” รุ่นที่ 7 (นายเนติธรณ์  วิพุธวิภาพร)

จัดโดย โรงเรียนการบริหารงานโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

* วิทยากรประชุมสัมมนา แนวทางการจัดเก็บคะแนน CME อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ และได้คะแนนครบด้วยทุกกิจกรรม (นางสาวบุษกร  จักขุจันทร) จัดโดย ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ แพทยสภา

            -  ดำเนินการด้านสวัสดิการของบุคลากร อาทิ การเบิกค่ารักษาพยาบาล จำนวน 22

               รายการ

                        -  ดำเนินการเบิกค่าปฏิบัติงานนอกเวลาราชการจำนวน 1 รายการ จำนวน 487.50 บาท

                        -  ดำเนินการเบิกค่าการศึกษาบุตร จำนวน 2 เรื่อง

                        -  ดำเนินการจัดทำข้อมูลในรูปแบบเอกสารและนำข้อมูลขึ้นระบบ ERP จำนวน 24 เรื่อง

                        -  ดำเนินการแจ้งซ่อม online จำนวน 4 เรื่อง

     1.3 การดำเนินงานด้านงบประมาณนโยบายและแผน/พัสดุ

ดำเนินการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ ประจำปี 2563

จำนวน 2 รายการ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ชนิดพกพา ขนาดไม่ต่ำกว่า 9.7 นิ้ว พร้อมอุปกรณ์จ่ายกระแสไฟฟ้า และระบบการประชุมทางไกล Teleconference ผ่านจอภาพ

1.4 การดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด จัดทำโครงการสมาชิกสัมพันธ์ (การส่งข่าวสารแนะนำสินค้า) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 เว็บไซต์ ได้แก่ เว็บไซต์ภายใต้การกำกับดูแลของงานการศึกษาต่อเนื่อง (http://ramacme.ra.mahidol.ac.th, http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th, www.facebook.com/ramaclinic)

2. หน่วยประเมินผลและเก็บคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง

เป็นหน่วยที่มีหน้าที่ดำเนินการสรุปและประเมินผลการจัดโครงการต่างๆ ภายใต้การดูแลของงานการศึกษาต่อเนื่อง และให้บริการรับรองหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง และออกประกาศนียบัตร ของสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.1 การรับรองและจัดเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง

2.1.1 การรับรองและจัดเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ (CME)

จำนวน 1,624 กิจกรรม โดยมีรายละเอียด ดังนี้         

ผลการจัดเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของแต่ละหน่วยงานตั้งแต่ปี 2558 – 2563

 

 

2.1.2 ให้การรับรองการจัดเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของสหสาขา

วิชาชีพทางการแพทย์

*  การศึกษาต่อเนื่องทางเทคนิคการแพทย์ (CMET) ปี 2563  ให้การรับรองหน่วยคะแนนจำนวน 1 กิจกรรม คือ การประชุมวิชาการประจำปี 2563 เรื่อง Ramathibodi International Academic Conference (RIAC)2020 เรื่อง New Perpective in Healthcare during COVID-19 pandemic    (ผ่านระบบออนไลน์) วันที่ 3-4 กันยายน 2563 ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์

    *  การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ (CCPE) ปี 2563  ให้การรับรองหน่วยคะแนน จำนวน 1  

กิจกรรม คือ การอบรมออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการเพื่อปรับปรุงแนวทางการใช้ยากำพร้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  (ผ่านระบบออนไลน์) รุ่นที่ 1 วันที่ 5-7 สิงหาคม 2563  รุ่นที่ 2 วันที่ 19-21 สิงหาคม 2563

    * การศึกษาต่อเนื่องทางทันตแพทย์ (CDCE) ปี 2563 ให้การรับรองหน่วยคะแนน จำนวน 1 กิจกรรม คือ การประชุมวิชาการประจำปี 2563 เรื่อง Ramathibodi International Academic Conference (RIAC) 2020 เรื่อง New Perpective in Healthcare during COVID-19 pandemic   (ผ่านระบบออนไลน์) วันที่ 3-4 กันยายน 2563 ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์

 

 

    1. การติดตามแจ้งผลคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ (CME) ผ่านระบบ Intranet

- แพทย์ประจำคณะฯ สามารถตรวจสอบและรับทราบผลการจัดเก็บหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ (CME) ได้ทาง  https://intra9.rama.mahidol.ac.th/online_requests http://10.6.22.112:8080/cme/cme/cmecheck?fbclid=IwAR1tsKIQtp3-xTdACkK59p...

 

3. หน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการผลิตและพัฒนาเว็บไซต์ รวมถึงการพัฒนา Application เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนชนทั่วไปให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องผ่านสื่อประเภทออนไลน์ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

3.1  ผลการดำเนินงานด้านการพัฒนา Software และ Mobile Application ปัจจุบันงานการศึกษาต่อเนื่องได้พัฒนา Application ทางการแพทย์เพื่อใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ดังนี้

Ramathibodi Knowledge Sharing Application การบริหารจัดการ การแบ่งปัน

ความรู้คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นการแบ่งปันความรู้ด้านต่างๆ โดยมีเนื้อหาเป็นวิดีโอสั้นๆ ตอนละไม่เกิน 5 นาที มีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย เช่น การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์, นวัตกรรมการแพทย์เกี่ยวกับ COVID-19 เป็นต้น

สามารถดาวน์โหลดได้ที่ : https://play.google.com/store/apps/details?id=org.ramathibodi.knowledges...

 

  • Articulation Test (V 1.7) เป็น Application

สำหรับทดสอบเสียงพูดของผู้ป่วยเพื่อทำการตรวจหาการออกเสียง ชัดหรือไม่ชัด โดยสามารถใช้งานผ่านทาง Smart Phone ระบบ Android และในอนาคตจะสามารถใช้งานได้บน Smart Phone ระบบ IOS การพัฒนาApplication นี้สามารถรองรับการใช้งานได้ทั้ง Tablet และ Mobile 

 

  • ยาสำหรับผู้สูงอายุ (V 1.5) เป็น Application สำหรับให้ข้อมูลยาซึ่งเป็นข้อมูล

เฉพาะยาของผู้สูงอายุ โดยแบ่งแยกตามกลุ่มของโรค เช่น เบาหวาน,

ความดันโลหิตสูง เป็นต้น Application นี้สามารถรองรับการทำงานได้ใน

ระบบ Android หลังจากนี้จะสามารถรองรับได้ในระบบ IOS

ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้ง Tablet และ Mobile ได้ อีกทั้งยังสามารถ

ทำงานได้แบบ Offline

 

3.2 ผลการดำเนินงานด้านการพัฒนา Web Application ปัจจุบันงานการศึกษาต่อเนื่องได้พัฒนา Application ทางการแพทย์เพื่อใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ดังนี้

CME Vi-share (Version 1.2) เป็นระบบที่ใช้ในการเผยแพร่การบันทึกข้อมูลการ

ประชุมในรูปแบบของ Video โดยมี สองส่วน คือ หน้าบ้าน (Front End) ใช้สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการ Download Video และหลังบ้าน (Back End) เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดการ Video โดย Video จะมีอายุได้ไม่เกิน 3 เดือน หลังจากนั้นระบบจะทำการลบออกโดยอัตโนมัติ

  • ระบบตรวจสอบคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง CME (V1.3) เป็นระบบที่ใช้ในการ

ตรวจสอบหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ (CME) โดยการตรวจสอบสามารถตรวจสอบจากเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ ระบบพัฒนาให้ใช้งานในรูปแบบของ Web Application ซึ่งสามารถใช้งานได้ผ่านทาง http://intra9.rama.mahidol.ac.th/online_requests

  • ระบบจองใช้ห้องประชุมออนไลน์ (Teleconference V0.1) เป็นระบบที่ใช้

สำหรับการจองใช้ห้องประชุมออนไลน์ หรือระบบ Teleconference สำหรับการประชุม โดยระบบพัฒนาให้ใช้งานในรูปแบบของ Web Application ซึ่งสามารถใช้งานได้ผ่านทางhttp://intra9.rama.mahidol.ac.th/online_requests

  • เว็บไซต์ศูนย์ TELECONFERENCE คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล

รามาธิบดี เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็น Website สืบเนื่องจากสถานการณ์ฉุกเฉินในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น ภัยธรรมชาติ โรคระบาด และสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และอาจจะต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดปัญหาในหลายๆ มิติแก่บุคลากรทางการแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ทั้งในส่วนของวิชาการ การประชุม ระบบการเรียนการสอน สามารถใช้งานผ่านทาง https://www3.ra.mahidol.ac.th/rtc/

3.3 ผลการดำเนินงานด้านเว็บไซต์ ปัจจุบันงานการศึกษาต่อเนื่องมีเว็บไซต์ภายใต้ความดูแล 3 เว็บไซต์ และมี Platform Social Media ได้แก่ เฟสบุคสาระสุขภาพกับ ramaclinic.com จำนวน       1 แฟนเพจ

- เว็บไซต์ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีhttps://med.mahidol.ac.th/ramacme/ หรือ http://ramacme.ra.mahidol.ac.th

การดำเนินงาน   พัฒนาเว็บไซต์และปรับปรุงรูปแบบเว็บไซต์ให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เว็บไซต์สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีรูปแบบไปในทิศทางเดียวกันกับหน่วยงานต่างๆ ภายในคณะฯ เว็บไซต์ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีจุดประสงค์เพื่อใช้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อสร้างสรรค์เกี่ยวกับการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ และสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์ต่างๆ เว็บไซต์จึงมีการออกแบบให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว รวมถึงมีส่วนของเนื้อหาภาษาอังกฤษเพื่อรองรับการเข้าถึงที่เป็นสากลด้วยเช่นกัน หน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อเนื่อง มีการจัดทำโครงการสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำเนื้อหาที่มีความเหมาะสมและน่าสนใจสำหรับบุคคลากรทางการแพทย์ลงเว็บไซต์ ลงข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องรวมไปถึงบทความทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันเว็บไซต์ได้มีการพัฒนาให้เป็นรูปแบบของ Responsive Website แล้วเพื่อรองรับหน้าจอ Smartphone, Tablet, และ Desktop ได้ในเว็บไซต์เดียว

 

เนื้อหาภายในเว็บไซต์

  • การศึกษาต่อเนื่อง ลงข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาต่อเนื่องในสาขาวิชาต่างๆที่งานการศึกษาต่อเนื่องดำเนินการเก็บหน่วยคะแนน ขั้นตอนวิธีการจัดเก็บและคิดหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องต่างๆ

  • การประชุมทางไกลทางการแพทย์ จัดทำเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับเครือข่ายข้อมูลการจัดประชุมทางไกลทางการแพทย์ที่งานการศึกษาต่อเนื่องดำเนินการ
  • Ramathibodi Knowledge Sharing for COVID-19

Management เผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์เกี่ยวกับสถานการณ์โรคระบาด

COVID-19 ในส่วนของคลิปวีดีโอให้ความรู้ต่างๆ จำนวน page views

19,121 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563) 

ปัญหาและอุปสรรค เนื้อหาข้อมูลที่จะนำลงเว็บไซต์มีจำนวน

ไม่เพียงพอ ทำให้ผู้เข้ามาใช้งานเว็บไซต์อาจจะไม่เกิดความสนใจที่จะเข้ามา

ใช้งานเว็บไซต์ซ้ำ

  • เว็บไซต์รามาคลินิกเพื่อประชาชน

https://med.mahidol.ac.th/ramaclinic/ หรือ http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th


การดำเนินงาน พัฒนาเว็บไซต์และปรับปรุงรูปแบบเว็บไซต์ให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เว็บไซต์สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับหน่วยงานต่างๆ ภายในคณะฯ ที่ให้เข้าถึงได้ง่าย จัดการเรียบเรียงเนื้อหาความรู้สุขภาพทางการแพทย์ลงเว็บไซต์

และพัฒนาระบบ E-Book เพื่อรองรับการลงจุลสารข่าวศูนย์การศึกษา

ต่อเนื่องในรูปแบบของจุลสารข่าวออนไลน์เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน

เว็บไซต์ ลงข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมความรู้เพื่อสุขภาพสำหรับประชาชน

ที่จัดขึ้น รวมถึงเผยแพร่บทความสาระน่ารู้ทางการแพทย์ต่างๆ ปัจจุบันเว็บไซต์

ได้มีการพัฒนาให้เป็นรูปแบบของ Responsive Website แล้วเพื่อรองรับ

หน้าจอ Smartphone,Tablet, และ Desktop ได้ในเว็บไซต์เดียว

เนื้อหาภายในเว็บไซต์

  • จุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่องออนไลน์

  • สาระน่ารู้ ลงเนื้อหาเกี่ยวกับสาระน่ารู้ทางด้านสุขภาพที่น่าสนใจได้แก่ สุขภาพทั่วไป      การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ รอบรู้โรคมะเร็ง สุขภาพปากและฟัน สมุนไพรใกล้ตัว ยาน่ารู้ รวมถึงเรื่องสุขภาพต่างๆ ที่น่าสนใจเพื่อให้ความรู้กับประชาชน

ปัญหาและอุปสรรค เนื้อหาข้อมูลที่จะนำลงเว็บไซต์มีจำนวนไม่เพียงพอ ทำให้ผู้เข้ามาใช้งานเว็บไซต์อาจจะไม่เกิดความสนใจที่จะเข้ามาใช้งานเว็บไซต์ซ้ำ

 

http://intra9.rama.mahidol.ac.th/cme/th/km (Intranet)

การดำเนินงาน เว็บไซต์หน่วยงาน ข้อมูลในเว็บไซต์จัดทำเพื่อให้ข้อมูล

เกี่ยวกับโครงสร้างหน่วยงานของงานการศึกษาต่อเนื่อง บุคลากรภายใน

หน่วยงาน รวมไปถึงขั้นตอนการขอใช้บริการด้านต่างๆ

จากงานการศึกษาต่อเนื่อง ปัจจุบันเว็บไซต์หน่วยงานได้มีการพัฒนา

ให้เป็นรูปแบบของ Responsive Website แล้วเพื่อรองรับหน้าจอ

Smartphone, Tablet, และ Desktop ได้ในเว็บไซต์เดียว

 

เนื้อหาภายในเว็บไซต์

  • หน่วยประเมินผลและเก็บคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง

  • หน่วยประชุมทางไกลทางการแพทย์

  • หน่วยผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

  • หน่วยผลิตสื่อวีดีทัศน์ทางการแพทย์

  • หน่วยบริหารธุรการ

3.4 เฟสบุคแฟนเพจสาระสุขภาพกับ ramaclinic.com https://www.facebook.com/ramaclinic

การดำเนินงาน เป็นช่องทางการสื่อสารเพื่อเผยแพร่ข่าวสาร

และกิจกรรมความรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชนผ่านทางหน้าเฟสบุค

สาระสุขภาพกับรามาคลินิกดอทคอม โดยในหน้าเพจจะมีการลง

เนื้อหาสาระเกี่ยวกับสุขภาพที่น่าสนใจ กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสมาชิก

รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์สื่อใหม่ๆ ที่ได้มีการจัดจำหน่าย เป็นต้น

 

สถิติแฟนเพจ 2,693 คน

 

3.5 ผลการดำเนินงานด้านการรักษาดูแลระบบเครื่องแม่ข่าย

            งานการศึกษาต่อเนื่องได้ทำการจัดซื้อ Server เพื่อใช้ในการทำงานร่วมกับ Mobile Application และ ใช้ในการพัฒนา Web Application ในการพัฒนาระบบงานนั้นมีทั้งการพัฒนาระบบงานในรูปแบบ Offline และ Online ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อกับระบบหลังบ้านที่ทำงานในรูปแบบของ Web Application โดยการเชื่อมต่อนั้นจะสามารถเชื่อมต่อได้ในรูปแบบของ Web Service 

ผลการดำเนินงานด้านการรักษาดูแลระบบเครื่องแม่ข่าย

  • Backup Database
  • Backup Source code
  • ปรับปรุงความเสถียรภาพของการทำงาน

4. หน่วยประชุมทางไกลทางการแพทย์   ดำเนินการจัดประชุมทางไกลและพัฒนาระบบการส่งสัญญาณภาพและเสียงผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยในปัจจุบันมีการเพิ่มโครงข่ายความร่วมมือและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง  ทั้งในระดับคณะฯ ระหว่างมหาวิทยาลัย ระหว่างจังหวัด และระหว่างประเทศ

โดยในปัจจุบันดูแลระบบการเรียนการสอน และการประชุมทางไกล Teleconference ทั้งหมด 2,514 ครั้ง ดังนี้

จำนวน 2,514 (ครั้ง) การจัดประชุมทางไกลทางการแพทย์ (Teleconference)

  • ระบบ codex ผ่าน MCU                                      ทั้งหมด    374               ครั้ง
  • ระบบ Web conference                                     ทั้งหมด 2,128               ครั้ง
  • ระบบ codex เชื่อต่อตรงผ่าน IP                           ทั้งหมด        3               ครั้ง
  • ระบบ IP TV                                                       ทั้งหมด        5               ครั้ง
  • ระบบ LiST                                                        ทั้งหมด        4               ครั้ง

ระยะเวลา ทำงานรวม 1,152  ชั่วโมง

  • ระยะเวลาการติดตั้ง                                            ทั้งหมด    176    ชั่วโมง
  • ระยะเวลาการทำงาน                                           ทั้งหมด  9,544.3 ชั่วโมง                        

โครงการที่ดำเนินการ

  1. การเรียนการสอนแพทย์ประจำบ้าน

ให้การสนับสนุนการเรียนการสอนของแพทย์ประจำบ้าน ทั้งในคณะฯ และรายวิชาร่วมสอนระหว่างสถาบัน โดยใช้ระบบ IP Network โดยมีภาควิชาที่ขอรับบริการ ดังนี้

1.1. ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ โดยมีการเรียนการสอนร่วมกับภาควิชาศัลยศาสตร์

ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จัดกิจกรรมเดือนละ 1 ครั้ง

1.2 ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยมีการเรียนการสอนร่วมของราชวิทยาลัยฯ จัดกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

1.3 ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โดยมีการเรียนการสอนร่วมกับโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดกิจกรรมสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

1.4 ภาควิชารังสีวิทยา โดยมีการเรียนการสอนร่วมของราชวิทยาลัยฯ จัดกิจกรรม

สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

1.5 ภาควิชาพยาธิวิทยา โดยมีการเรียนการสอนร่วมของราชวิทยาลัยฯ จัดกิจกรรม

เดือนละ 1 ครั้ง

1.6 ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา โดยมีการเรียนการสอนร่วม ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และวิทยาลัยการแพทย์พระมงกุฏฯ จัดกิจกรรมเดือนละ 1 ครั้ง

1.7 ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โดยมีการเรียนการสอนร่วมของราชวิทยาลัยฯ จัดกิจกรรมปีละ 3 ครั้ง

1.8 ภาควิชาสูติ-นรีเวชศาสตร์ โดยมีการเรียนการสอนร่วมของราชวิทยาลัยฯ จัดกิจกรรมปีละ 2 ครั้ง

1.9 ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โดยมีการเรียนการสอนร่วมของราชวิทยาลัยฯ จัดกิจกรรมปีละ 4 ครั้ง

  1. การเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์

ให้การสนับสนุนการเรียนการสอนการทำวิจัย

ของนักศึกษาแพทย์ของภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน

จัดกิจกรรมตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด

  1. โครงการสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ให้การสนับสนุนการเรียนการสอนร่วมระหว่างภาค

วิชาออร์โธปิดิกส์ กับโรงพยาบาลยะลา จังหวัดยะลา และโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส จัดกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

  1. โครงการโรงพยาบาลร่วมสอน

ให้การสนับสนุนการพัฒนาระบบ Network

และการใช้งานระบบการประชุมทางไกล   

Teleconference เพื่อสนับสนุนเรียนการสอน

และการประชุมต่างๆ แก่โรงพยาบาลร่วมสอนใน

จังหวัดต่างๆ ตามที่ภาควิชา และหน่วยงานภายใน

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีร้องขอ

 

  1. โครงการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

เป็นการจัดกิจกรรมของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

จังหวัดพิษณุโลก โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัด

กาฬสินธุ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

จังหวัดมหาสารคาม โรงพยาบาลเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

จัดกิจกรรมเดือนละ 1 ครั้ง

  1. โครงการ COP ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล

ให้การสนับสนุน COP ของคณะฯ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ผ่านระบบ GIN Conference จัดกิจกรรมตามที่สถาบันฯ กำหนด

 

  1. โครงการความร่วมมือมหาวิทยาลัยคิวชู ประเทศญี่ปุ่น

ให้การสนับสนุนเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยคิวชู ประเทศญี่ปุ่น จัดกิจกรรมตามที่มหาวิทยาลัยคิวชูกำหนด

  1. โครงการความร่วมมือมหาวิทยาลัยยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น

ให้การสนับสนุนเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น จัดกิจกรรมทุกๆ 2 เดือน

  1. โครงการความร่วมมือมหาวิทยาลัยเซนต์จูส ประเทศสหรัฐอเมริกา

ให้การสนับสนุนเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยพัฒนาการเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กับมหาวิทยาลันเซนต์จูส ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดกิจกรรมทุกๆ 2 เดือน

  1. โครงการความร่วมมือมหาวิทยาลัยซิซินเนติ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ให้การสนับสนุนเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยโรคติดเชื้อในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กับมหาวิทยาลันซิซินเนติ ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดกิจกรรมตามที่มหาวิทยาลันซิซินเนติกำหนด

  1. โครงการอื่นๆ

เช่น การประชุมราชวิทยาลัย การสอบสัมภาษณ์ การประชุมสมาคม การประชุมกลุ่มย่อยต่างๆ การขอคำปรึกษา การออกข้อสอบ เป็นต้น

พันธมิตร และเครือข่าย

เนื่องจากอุปกรณ์ Teleconference หรือ อุปกรณ์ Video conference นั้น เป็นอุปกรณ์ที่เน้นไปในเรื่องของการแปลงสัญญาณผ่านระบบ Network รูปแบบต่างๆ ทั้งระบบ ISDN ระบบ IP ระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบใยแก้วนำแสง ระบบดาวเทียมคลื่นสั้น ระบบดาวเทียมระหว่างประเทศ ซึ่งระบบดังกล่าวทางมหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้งานการศึกษาต่อเนื่อง ดูแลระบบฯ ร่วมกับฝ่ายเวชสาร สนเทศ และมีการประสานงานร่วมกับเครือข่ายในประเทศ ดังนี้

  • เครือข่ายระหว่าง Campus คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี – สถาบัน        ทางการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
  • เครือข่าย MUCC
  • เครือข่าย ipTV
  • เครือข่าย Uni-Net
  •  เครือข่ายความร่วมมือพญาไท
  • เครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
  • เครือข่ายความร่วมมือสมาคม VCS Thailand
  • เครือข่าย Live Steaming Thailand (Facebook, You tube)

นอกจากนี้ งานการศึกษาต่อเนื่อง ยังได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการเชื่อมต่อกับเครือข่ายต่างประเทศ ดังนี้

  • เครือข่าย TEINs4
  • เครือข่าย DVTS
  • เครือข่าย BARSIL
  • เครือข่าย MOU กับประเทศญี่ปุ่น (มหาวิทยาลัยยามากาตะ, มหาวิทยาลัยคิวชู และมหาวิทยาลัยจูเทนโด้)
  • โครงข่ายโรงพยาบาลเซนต์จูส ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • โครงข่ายมหาวิทยาลัยโลก
  1. หน่วยผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาต่อเนื่อง ปัจจุบัน วีดิทัศน์เป็นสื่อในการเรียนรู้ที่มีบทบาท

มาก จากลักษณะของสื่อที่ใช้งานง่าย สามารถสร้างความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน อีกทั้งยังสามารถนำสื่อ

ที่ได้มาใช้งานได้อย่างง่ายดาย อำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานได้เป็นอย่างมาก การนำสื่อวีดิทัศน์มาสนับสนุนกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ และในปีงบประมาณ 2563 สามารถผลิตสื่อวีดิทัศน์ได้ จำนวนทั้งสิ้น 116 เรื่อง ดังนี้

ตุลาคม 2562

1. ถ่ายวิดีโอการสอน ผศ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน เรื่อง การคัดกรองผู้สูงอายุ

2. ถ่ายวิดีโอการสอน ผศ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน เรื่่อง การปฏิบัติการพยาบาล ขั้นสูงและการดูแล

    ผู้สูงอายุ 

3. ถ่ายวิดีโอการบรรยายความรู้แก่ประชาชน ของ สมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย เรื่อง

    การอบรมผู้ดูแลผู้มีภาวะสมอง ครั้งที่ 2

            -  เรียนรู้เรื่องสมองเสื่อม อาการและปัญหาของผู้ป่วยในแต่ละระยะ โดย อ.พญ.อรพิชญา

            -  การดูแลเมื่อผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดย พว.สุลักษณ์ วงศ์ธีรภัค

            -  การดูแลช่องปากและฟันของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม โดย ทพญ. นันทพร  โรจนสกุล

            -  การเตรียมอาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม โดย คุณวนพร ทองโฉม

            -  กิจกรรมเพื่อชะลอสมองเสื่อม โดย คุณจารุณี  วิทยจักษุ์ 

            -  ปัญหาอารมณ์ พฤติกรรมที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมและการจัดการ                     

                   โดย ผศ. พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน

            -  ภาวะกลืนลำบาก โดย ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง

            -  ศิลปะบำบัดสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม โดย อ.ญาดารัตน์ บาลจ่าย

            -  ภาวะกลืนลำบาก โดย ผศ.ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง

            -  การอภิปราย เรื่อง เมื่อรู้ว่าคนที่เรารักหาย ทำอย่างไร

พฤศจิกายน 2562

1. ถ่ายวิดีโอการสอน ผศ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน เรื่องการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม 4.0 

2. ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่อง มิตรยามลืม เพื่อนยามเลือน ให้กับ สมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศ

    ไทย

ธันวาคม  2562

1. ถ่ายวิดีโอการบรรยายความรู้แก่ประชาชน ของ สมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย  เรื่อง การ

    อบรมผู้ดูแลมีภาวะสมองเสื่อม ว่าด้วยเรื่อง สารพันปัญหาการกินของมีผู้ภาวะสมองเสื่อม

            -  กิจกรรมบำบัดภาวะสมองเสื่อมกลืนลำบาก โดย ผศ. ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง

            -  การฝึกปฏิบัติ : กิจกรรมบำบัดภาวะสมองเสื่อมกลืนลำบาก โดย ผศ. ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง

            -  การฝึกปฏิบัติ : การวัดระดับความข้นของอาหารสำหรับผู้สูงอายุ โดย อ.ดร.วนะพร ทองโฉม

มกราคม 2563

1. ถ่ายวิดีโอการบรรยายทางวิชาการแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของ สมาคมโรคสมอง

    เสื่อมแห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการพัฒนาและแนวปฏิบัติการระบบการดูแล 

    ผู้สูงอายุและผู้มีภาวะสมองเสื่อมครบวงจร 

 

-  Updates & Comparisons of Guidelines โดย อ.นพ. ทวีวัฒน์ อัศวโภคี

-  การสื่อสารกับผู้ป่วยสูงอายุ โดย อ.สมทรง  จุไรทัศนีย์

-  กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ โดย นส.พลินท์ชฎา พัชราพิสิฐกุล

-  ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ โดย ผศ.พญ. สิรินทร  ฉันศิริกาญจน

-  โรคใตในผู้สูงอายุ โดย อ.จุฑามาศ เทียนสะอาด

2. ถ่ายวิดีโอการบรรยายความรู้ทางวิชาการแก่พยาบาล  เรื่อง การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ           

    การพัฒนาศักยภาพพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ของงานการพยาบาล

             -  Delirium Cognitive impairment โดย พว.ทิพเนตร งามกาละ

             -  Functional decline โดย รศ.ประคอง อินทรสมบัติ

             -  Pain Assessment and Management  Fall prevention โดย พว.จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี

             -  Skin Breakdown โดย พว.ประไพ อริยประยูร

             -  Atypical presentation in older patients  โดย อ.พญ. ลิลลี่ ชัยสมพงษ์

             -  โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ  โดย อ.นพ. ทวีวัฒน์ อัศวโภคี

             -  Incontinence and Constipation  โดย อ.พญ. ธัญชนก จัตตารีส์

             -  Palliative care in older patients  โดย พว. จิตราภรณ์ ขุนทอง

             -  โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ โดย พว.รัตนาภรณ์ จีรวัฒนะ

3. ถ่ายวิดีโอโครงการอบรมหลักสูตรผู้สูงอายุ ระดับพื้นฐาน  (Basic Course) รุ่นที่ 2 ต.แม่มอก อ.เถิน

   จ. ลำปาง

-  แนวโน้ม/สถานการณ์ผู้สูงอายุ

-  โครงสร้างมนุษย์และระบบต่างๆ ในร่างกาย

-  การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ

            -  โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

            -  บุคลิกภาพกับงานบริการ

            -  เทคนิคการสื่อสาร

          -  การป้องกันการติดเชื้อ ตอนที่ 1

            -  ภาวะวิกฤตกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

          -  สัญญาณชีพ

            -  การดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน

          -  การใช้ยาและการเก็บรักษา

            -  โภชนาการ

          -  การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยสูงอายุ

            -  สุขภาพจิตภาวะเครียด

            -  การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

            -  กิจกรรมนันทนาการ

กุมภาพันธ์ 2563

1.  ถ่ายวิดีโอโครงการอบรมหลักสูตรผู้สูงอายุ ระดับพื้นฐาน  (Basic Course) รุ่นที่ 2

    ต.แม่มอก อ.เถิน จ. ลำปาง

          -  ปฏิบัติภาคสนามการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน      

-  แลกเปลี่ยนประสบการณ์การลงพื้นที่

          -  สรุปบทเรียน และปัจฉิมนิเทศหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุระดับพื้นฐาน

2. ถ่ายวิดีโอโครงการอบรมหลักสูตรผู้สูงอายุ ระดับสูง (Advance Course) รุ่นที่ 2

   ต.แม่มอก อ.เถิน จ. ลำปาง

-  โรคที่พบบ่อย

          -  ภาวะสมองเสื่อม

          -  การป้องกันการติดเชื้อ

          -  แนวคิดและการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะท้าย

          -  การดูแลผุ้ป่วยมะเร็ง

          -  การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย

          -  การช่วยเหลือ กิจวัตรประจำวัน (ทบทวนสัญญาณชีพ)

          -  การช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม

-  การฝึกปฏิบัตินวดแผนไทยเพื่อฟื้นฟู

          -  การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีอุปกรณ์

          -  การให้อาหารทางสาย/ให้อ๊อกซิเจน/การดูดเสมหะ การเคาะปอด

          -  กิจกรรมส่งเสริมผู้ป่วยสมองเสื่อมและติดเตียง

          -  เทคนิคคลายเครียดสำหรับผู้ดูแล

          -  การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง

3. ถ่ายวิดีโอการบรรยายความรู้แก่ประชาชน เรื่อง การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ การพัฒนาศักยภาพ

    พยาบาลในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ของ งานการพยาบาล 

4. ผลิตสื่อวีดิทัศน์ แนะนำโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมครบวงจร

   ให้กับสมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย

            -  คีรีรัฐโมเดล

            -  ลำสนธิโมเดล

-  ศูนย์การแพทย์ชุมชนจอหอ

มีนาคม 2563

1. ผลิตวีดิทัศน์ให้กับภาควิชาพยาธิวิทยา เรื่อง ความผิดทางเพศ (Sexual Offence)

 

เมษายน 2563

1. ผลิตวีดิทัศน์การใช้งานระบบ Video Conference ด้วยโปรแกรม cicco webx ให้กับฝ่ายวิชาการ

   และวัฒนธรรม

2. ผลิตวีดิทัศน์การใช้งานระบบ Video Conference ด้วยโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings ให้กับ 

    ฝ่ายวิชาการและวัฒนธรรม

พฤษภาคม 2563
1. ผลิตวีดิทัศน์ในโครงการ Ramathibodi Knowledge Sharing for COVID-19 Management ดังนี้

            - จุดแรกรับผู้ป่วย คัดกรองตามเกณฑ์ PUI

            - กระบวนการดูแลกลุ่มเสี่ยง COVID-19 ที่ห้องฉุกเฉิน

            - การใช้ยาชาและยาสลบในผู้ป่วย COVID-19

            - การใส่และถอดท่อหายใจ

            - การคัดกรองผู้ป่วย COVID-19 ก่อนผ่าตัด

            - การผ่าตัดผู้ป่วย COVID-19

            - การบริบาลสตรีตั้งครรภ์ในช่วงวิกฤต COVID-19

            - การดูแลทารกแรกเกิดที่แม่ติดเชื้อ COVID-19

            - การบริหารจัดการขยะปนเปื้อน COVID-19

2. ถ่ายทอดสัญญาณภาพ งานการประชุมเครือข่ายโรงพยาบาล

มิถุนายน 2563

1. จัดทำวีดิทัศน์ในโครงการ เส้นทางการพัฒนาความร่วมมือสู่โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร กศน.

    “หลักสูตรการจัดกิจกรรม กศน. ป้องกันภาวะซึมเศร้า คงสมรรถนะทางกาย จิต สมองผู้สูงอายุ” รุ่นที่  

   1 จัดโดย กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  โดยรับผิดชอบใน

   ส่วน การผลิตสื่อ และการถ่ายทอดการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์ การผลิตสื่อ

            Module 1

            -  การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ

            -  รู้จักสมองเสื่อม

            -  สาเหตุสมองเสื่อม

            -  คัดกรองสมองเสื่อม

            -  ป้องกันสมองเสื่อม

            Module 3

            -  สุขภาพจิตผู้สูงวัย

            -  ภาวะซึมเศร้าและการเฝ้าระวัง

            -  เทคนิคการปรับตัว-ปรับใจ

            -  ดนตรีเพื่อสุขภาวะ

            Module 4

            -  เหตุใดเราจึงต้องฝึกสมอง

            -  สมาธิและความใส่ใจ

            -  มิติสัมพัทธ์

            -  ออกกำลังกายสมองด้วยการเคลื่อนไหว

            Module 5

            -  ใส่ใจให้จดจำ

            -  จัดการความคิดพิชิตปัญหา

2. การถ่ายทอดการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์และบันทึกวีดีโอ

            - เปิดการอบรมและชี้แจ้งหลักสูตรการเรียนการสอน

            - สรุปบทเรียน Module 1 สำหรับห้องเรียนออนไลน์

            - สรุปบทเรียน Module 1 สำหรับห้องเรียนออนไลน์ที่ 2 

            - สรุปบทเรียน Module 1 สำหรับห้องเรียนออนไลน์ที่ 3 

            - สรุปบทเรียน Module 3  สำหรับห้องเรียนออนไลน์ที่ 1

            - สรุปบทเรียน Module 3  สำหรับห้องเรียนออนไลน์ที่ 2 

            - สรุปบทเรียน Module 3  สำหรับห้องเรียนออนไลน์ที่ 3 

            - สรุปบทเรียน Module 4  สำหรับห้องเรียนออนไลน์ที่ 1 

            - สรุปบทเรียน Module 4  สำหรับห้องเรียนออนไลน์ที่ 2 

            - สรุปบทเรียน Module 4  สำหรับห้องเรียนออนไลน์ที่ 3 

            - สรุปบทเรียน Module 5  สำหรับห้องเรียนออนไลน์ที่ 3 

            - สรุปบทเรียน Module 5  สำหรับห้องเรียนออนไลน์ที่ 2 

            - สรุปบทเรียน Module 5  สำหรับห้องเรียนออนไลน์ที่ 3 

            - ถ่ายวีดีโอ งานอบรมผู้บริหารรุ่น 7 ณ อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม

3. ผลิตสื่อทำวีดิทัศน์เพิ่มเติมในโครงการ Ramathibodi Knowledge Sharing for COVID-19    

    Management 

            - การฆ่าเชื้อหน้ากาก N95 ด้วยการฉายแสง UV และอบความร้อนเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ

            - การตรวจน้ำลายเพื่อใช้วินิจฉัยโรค COVIV 19

4. ถ่ายวีดีโอและบันทึกการแสดงธรรมเทศนา โดยพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เนื่องในวันอาสาฬหบูชา เพื่อใช้ในการถ่ายทอดในระบบ Teleconference

กรกฎาคม 2563

1. ถ่ายทำและผลิตวิดีโอ ผศ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน  เรื่องรามาธิบดีกับการจัดการเพื่อป้องกัน

    สมองเสื่อม เพื่อใช้เปิดในงานมหกรรมคุณภาพประจำปี 2563

 

สิงหาคม 2563

1. ถ่ายทอดสัญญาณภาพ Teleconference ณ ห้องประชุมสุวัธนา นนทะสุต อาคาร 1 ชั้น 2

กันยายน 2563

1. ถ่ายทำและผลิตสื่อการสอนออนไลน์ เรื่องหลักการให้คำปรึกษา โดย อ. สมทรง จุไรทัศนีย์

 

6.  ผลิตหน่วยผลิตสื่อสิ่งพิมพ์  เป็นหน่วยบริการผลิตและออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบต่างๆ เพื่อการ

เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง อาทิเช่น โปสเตอร์ แผ่นพับ จุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง หนังสือพ๊อกเก็ตบุ๊ค เป็นต้น และเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่างๆ โดยให้ความรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพแก่แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป

ทั้งภายในและภายนอกคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  ให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว และสามารถเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด และได้มีการพัฒนาจุลสารข่าวฯ จากสิ่งพิมพ์เป็นระบบออน์ไลน์     เป็นปีแรก

6.1 ผลิตจุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่องโรงพยาบาลรามาธิบดี Online   ผลิตจุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ผ่านเว็บไซต์ https://www.rama.mahidol.ac.th/ramacme/th/               

1  จุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่องโรงพยาบาลรามาธิบดี ฉบับที่ 60

                        2  จุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่องโรงพยาบาลรามาธิบดี ฉบับที่ 61

                        3  จุลสารข่าวศูนย์การศึกษาต่อเนื่องโรงพยาบาลรามาธิบดี ฉบับที่ 62

 

    1.  แผนงานกราฟิก help ramacme  เพื่อพัฒนาและส่งเสริมงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์

เว็บไซต์ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้งานการศึกษาต่อเนื่อง วีดิทัศน์ รวมถึงด้านการตลาดให้มีความสนใจ มากยิ่งขึ้น ดังนี้

          1.  คู่มือ/หนังสือ จำนวน 2 รายการ

            -  การใช้งานโปรแกรม WebEx เพื่อหน่วยประชุมทางไกลทางการแพทย์

            -  หนังสือโครงการฯ กศน.

            2.   โปสเตอร์ จำนวน 15 รายการ

            -  เชิญร่วมงานปีใหม่ 2563

            -  ประชาสัมพันธ์ผู้สมัครเลือกตั้งคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย

            -  ศูนย์ Teleconference คณะแพทยศาสตร์ฯ เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน แบบที่ 1

            -  ศูนย์ Teleconference คณะแพทยศาสตร์ฯ เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน แบบที่ 2

            -  ศูนย์ Teleconference คณะแพทยศ่าสตร์ฯ เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน แบบที่ 3

            -  เชิญร่วมฟังบรรยายธรรม วันวิสาขบูชา

            -  เชิญร่วมฟังบรรยายธรรม วันอาสาฬหบูชา

            -  งานประชุมวิชาการ RIAC 2020

            -  งานปาฐกถากัลยาณกิติ์ฯ ครั้งที่ 34

            -  งานปาฐกถาอารี วัลยะเสวี ครั้งที่ 33

            -  งานขอบคุณทีมงานวิชาการและวัฒนธรรม

            -  งานมหกรรมคุณภาพ ครั้งที่ 27 เรื่องเล่าเร้าพลัง  เรื่อง หน้าที่

            -  งานมหกรรมคุณภาพ ครั้งที่ 27 เรื่องเล่าเร้าพลัง  เรื่อง ใบสุดท้าย

 

            -  งานมหกรรมคุณภาพ ครั้งที่ 27 เรื่องเล่าเร้าพลัง เรื่อง Disruption เปลี่ยนเพื่อคงอยู่   

               สู้ไปด้วยกัน

            -  งานมหกรรมคุณภาพ ครั้งที่ 27  ประเภท CQI เรื่อง Check CME credit Online

3.  เว็บไซต์ จำนวน 6 รายการ

                   -  ภาพก่อนเข้าเว็บไซต์ “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ                  สยามบรมราชกุมารี” 2 เมษายน 2563

                        -  ภาพประกอบเว็บไซต์ 3 รายการ

                                    (1)  ศูนย์ Teleconference คณะแพทยศาสตร์ฯ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

                                    (2)  ภาพประกอบพระราชกรณีกิจ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ

     พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  แบบที่ 1

                                    (3)  ภาพประกอบพระราชกรณีกิจ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ

      พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  แบบที่ 2

                        -  ไอคอน และภาพประกอบ เว็บไซต์ Ramathibodi Knowledge Sharing for                                              COVID-19 Management

                        -  แบนเนอร์ เว็บไซต์ รวมทั้งสิ้น  24  รายการ

(1)  เว็บไซต์การศึกษาต่อเนื่อง  จำนวน 5  รายการ

(2)  เว็บไซต์ Ramathibodi Knowledge Sharing for COVID-19  

                   -  ปรับรูปแบบเว็บไซต์รามาคลินิก

                        -  ออกแบบหน้าเว็บไซต์โครงการตำรา

            4. งานที่ได้รับมอบหมาย   จำนวน  25  รายการ

          -  ภาพพื้นหลังสำหรับเปิดบนสื่อประชาสัมพันธ์ งานปาฐกถาอรรถสิทธิ์ ครั้งที่ 18


          -  ภาพคำกลอนของที่ระลึก งานปาฐกถาอรรถสิทธิ์ ครั้งที่ 18

            -  ภาพพื้นหลังเวที งานปาฐกถาอรรถสิทธิ์ ครั้งที่ 18

            -  ป้ายชื่อเกมส์ งานรามาสามัคคี 2562

            -  การ์ดอวยพรปีใหม่ 2563 ฝ่ายวิชาการและวัฒนธรรม

-  เข็มกลัดในหลวง ร.9

          -  พื้นหลังสำหรับเปิดบนสื่อ เพื่อประชาสัมพันธ์งานวันวิสาขบูชา

            -  ใบประกาศนียบัตร การอบรมของหน่วยงาน AOFOG

            -  ตัวการ์ตูนเพื่อใช้ประกอบงานโปสเตอร์

            -  ปรับโปสเตอร์ 12 สิงหาคม 2563

            -  ใบประกาศนียบัตรงานปาฐกถากัลยาณกิติ์ฯ ครั้งที่ 34

            -  ใบประกาศนียบัตรโครงการฯ กศน.

            -  ภาพพิมพ์ลงเข็มกลัด ปธพ. รุ่น 8

            -  ตัวละครประกอบเนื้อหาวีดิโอ โครงการฯ กศน.

            -  ภาพสำหรับทำเข็มกลัดการอบรม นธป. รุ่นที่ 8

            -  ป้ายสีระบุประเภทผู้เข้าร่วมการอบรม นธป. รุ่นที่ 8

            -  ป้ายบอกจุดลงทะเบียนการอบรม นธป. รุ่นที่ 8

            -  ป้ายถือระบุกลุ่มเข้าร่วมการอบรม นธป. รุ่นที่ 8

            -  ป้ายประเมินความพึงพอใจการอบรม นธป. รุ่นที่ 8

            -  ภาพพื้นหลังหน้าชื่อเรื่อง สำหรับวิดีโอหัวข้อ Ramathibodi Knowledge

               Sharing for COVID-19 Management

            -  ประเมินความพึงพอใจ การใช้บริการ Teleconference

            -  ภาพบุคลากรเดือนเกิด  ขนาด A4  จำนวน 42  รายการ

            -  ภาพบุคลากรเดือนเกิด  ขนาดการ์ด 4x6  จำนวน  42 รายการ

            -  การ์ดประชาสัมพันธ์เดือนเกิด  จำนวน 2 รายการ

            -  Powerpoint นำเสนอผลงาน  จำนวน  5  รายการ

การส่งผลงานเข้าประกวดในงานมหกรรมคุณภาพ (Quality Conference) ครั้งที่ 27

ประจำปี 2563

ประเภทพัฒนาคุณภาพงานกระบวนการทำงาน (CQI)

  1. โครงการ ระบบบริหารจัดการศูนย์ Teleconference เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

โดย       นายพิศุทธิ์  บุญทรง                    ว่าที่ รต.ปริทรรศ์  ดาเดช

            นางสาวบุษกร  จักขุจันทร นายเนติธรณ์  วิพุธวิภาพร

            2.  การเพิ่มประสิทธิภาพความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลบนเว็บไซต์ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง

                        โดย       นางสาวฐิติชญาณ์  ดำริห์ ว่าที่ รต.ปริทรรศ์  ดาเดช

                                    นายวิทยา  สอนคุ้ม                     นางสาวกฤติวรรณ  รอบคอบ

            3.  การพัฒนาระบบตรวจสอบคะแนน CME บน Web base application

                        โดย       นางสาวบุษกร  จักขุจันทร            ว่าที่ รต.ปริทรรศ์  ดาเดช

 

 

ประเภทพัฒนาคุณภาพงานประเภทรายบุคคล (KAIZEN)

  1.  ลดขั้นตอนการแก้ปัญหาในระหว่างกิจกรรม Teleconference ด้วย “จัด จด แจ้ง จำ”

โดย       นายศุทธนะ  นนทะเปาระยะ        นายพิศุทธิ์  บุญทรง

            นางสาววราวรรณ  จันทร์ ดิษฐ์

  1.  แค่วางถูกก็ช่วยได้

โดย       นางอรวรรณ  สิทธิพล

  1.  การสื่อสารเชิงบวก “ลดปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน”

โดย       นางจารุวรรณ  ลีลาภรณ์

ประเภทพัฒนาคุณภาพงาน ประเภทเรื่องเล่าเร้าพลัง

  1.  เรื่อง ความงาม ความดี ความสุขในการทำงาน

โดย       นางจารวุรรณ  ลีลาภรณ์

  1. เรื่อง ใบสุดท้าย

โดย       นางสาวกฤติวรรณ  รอบคอบ

  1. เรื่อง Disruption เปลี่ยนเพื่อคงอยู่ สู้ไปด้วยกัน

โดย       นายพิศุทธิ์  บุญทรง

ผลงานด้านวัฒนธรรม

              จากการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านวิชาการแล้ว บุคลากรงานการศึกษาต่อเนื่อง ยังให้ความสำคัญและความร่วมมือสนับสนุนการสืบสานด้านวัฒนธรรมอันดีงาม ให้สอดคล้องไปกับสถานการณ์ปัจจุบันในวาระต่างๆ ดังนี้

  1. ทำบุญตักบาตรส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2563

  1. งานถวายพระพรเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์บดินทรเทพ วรางกูร

(ร.10)

  1. งานถวายพระพรเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระ  นางเจ้าสุทิดา พัชรสุดาพิมลลักษณพระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
  2. งานถวายพระพรเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรม ราชชนนีพันปีหลวง
  3. งานถวายพระพรเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี   เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ
  4. พิธีรำลึกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ์ฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
  5. งานปาฐกถาอรรถสิทธิ์  เวชชาชีวะ       ครั้งที่ 18
  6. งานปาฐกถากัลยาณกิติ์  กิติยากร       
  7. ครั้งที่ 34

  8. งานปาฐกถาอารี  วัลยะเสวี ครั้งที่ 33
  9. งานเชิดชูเกียรติ และแสดงความยินดี คณาจารย์ผู้ได้รับรางวัลระดับมหาวิทยาลัย ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

  1. งานน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ 9
  2.  
  3. กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

เนื่องในวันมาฆบูชา

  1. การแสดงพระธรรมเทศนาออนไลน์เนื่องใน

วันวิสาขบูชา โดย พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ

จากสถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี

จังหวัดนครราชสีมา

 


  1. การแสดงพระธรรมเทศนาออนไลน์เนื่องใน

วันอาสาฬหบูชา โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต

การต้อนรับศึกษาดูงาน

  1. ต้อนรับการศึกษาดูงาน ปธพ. รุ่นที่ 8  ณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  2. ต้อนรับการศึกษาดูงาน นธพ. รุ่นที่ 8  สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
  3. ต้อนรับการศึกษาดูงาน ด้านการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ จากกระทรวงสาธารณสุข ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

รางวัลที่ได้รับ  โล่ประกาศเกียรติคุณในฐานะเป็นโรงพยาบาลต้นแบบของสถาบันการศึกษาทำกิจกรรมวิชาการสูงสุดเป็นอันดับ 1 เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี   ของการจัดตั้งศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ (แพทยสภา)