WONCA in Italy

 

WONCA เป็นการประชุมสัมมนาของแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ที่มีที่มาจาก World Organization of National Colleges, Academies and Academic Associations of General Practitioners/Family Physicians. ซึ่ง มีการรวมกลุ่มประชุมกันเป็นระยะ ๆ ตามทวีปต่าง ๆ  และมีการประชุมระดับโลกเป็น ครั้งคราว เพื่อพัฒนาและรวบรวมองค์ความรู้ของการทำเวชปฏิบัติทั่วไปและเวชปฏิบัติครอบ ครัวให้เป็นระบบระเบียบ ซึ่งองค์กรดังกล่าวมีสมาชิกแพทย์ราว 200,000 คนทั่วโลก

การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุม WONCA ในเขตภาคพื้นยุโรป ซึ่งอิตาลีเป็นเจ้าภาพ มีแพทย์เข้าร่วมประชุมกว่า 4,000 คน จาก 65 ประเทศ มีการประกาศรางวัล WONCA EUROPE AWARD of excellence in health care “5-star doctor” 2006 ซึ่งได้แก่ Dr. Sam Everington จาก Bromley-by-Bow Health Living Centre ในประเทศอังกฤษ ที่สามารถทำเวชปฏิบัติครอบครัวในชุมชนที่มีรูปแบบที่ประยุกต์เข้าเป็นเนื้อ เดียวกับชุมชน ในขณะที่ ี่ผลิตนวตกรรมใหม่ในการกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ด้วยกิจกรรมนานาชนิดที่ริเริ่มจากคลินิกนี้ ทั้งยังเป็นแพทย์ที่อยู่ในชุมชนอย่างยาวนานจนชุมชนรัก

นอกจากการประกาศรางวัลแก่แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นในภาคพื้นยุโรป การประชุมครั้งนี้ทำให้เห็นว่าองค์ความรู้ด้านเวชศาสตร์ครอบครัวในยุโรปได้ พัฒนาขึ้นอย่างแข็งแกร่งและรวดเร็ว จากเดิมที่มีรากฐานเป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปที่ยังไม่มีแนวคิดของเวชศาสตร์ ครอบครัว หลายๆประเทศได้ปรับระบบทั้งการบริการและการเรียนการสอนให้เป็นไปในการสนับสนุนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งต้องรับผิดชอบเป็นผู้ดูแลสุขภาพของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ สรุปเนื้อหาที่ได้จากการประชุมดังต่อไปนี้

 

Biology and humanity: a gap to be bridged (Dr.S. Bernbe, Italy)

ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ผ่านมา มักให้น้ำหนักความสำคัญกับสิ่งที่ตรวจพบ (Objective ซึ่งได้แก่ Sign and lab result) มากกว่าสิ่งที่ผู้ป่วยเล่า(Symptoms) เพราะดูเสมือนว่าคำบอกเล่าจากผู้ป่วยไม่ใช่สิ่งที่จับต้องได้ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ หากแต่ที่แท้แล้วอาการที่ผู้ป่วยแต่ละคนเล่า (Subjective)กลับ เป็นสิ่งที่แพทย์ต้องเชื่อ เพราะกำเนิดมาจากกระบวนการสรีรวิทยาขั้นสูงของระบบประสาท (neurophysiology) ในมนุษย์หนึ่งคนที่แตกต่างจากคนอื่น ๆ การใช้ภาษาและความรู้สติ(Consciousness)เป็นหน้าที่ขั้นสูงสุดของสติปัญญา ที่จะบ่งบอกความเป็นมนุษยชาติ(Humanity) การเรียบเรียงคำพูดเพื่อร้อยเรียงลำดับเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆที่เกิดขึ้นกับ ตนเองทำให้เกิดเป็นเรื่องเล่าที่มีความหมายทางการแพทย์ (Narrative medicine) การเล่าเรื่องของผู้ป่วยทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ การใช้สำบัดสำนวนสุภาษิตหรือคำพังเพย(Metaphor)เพื่อเปรียบเทียบอาการของตน เองเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่บ่งบอกความสามารถขั้นสูงของสมองมนุษย์ ในการลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆที่เป็นเรื่องราวยาวๆ การใช้สำนวนเพื่อให้เล่าเรื่องได้สั้นขึ้นและมองเห็นความหมายที่ต้องการจะ สื่อได้เร็วขึ้น
เมื่อแพทย์คุยกับผู้ป่วยเป็นการทำปฏิกิริยากันระหว่างความรู้สติของมนุษย์ สองคน ที่จะได้รับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับอีกฝ่าย รวมทั้งอารมณ์ความรู้สึกของอีกฝ่าย การตอบสนองว่ารับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและอารมณ์ของมนุษย์อีกคน เรียกว่า การแสดงความเห็นอกเห็นใจ(Empathy) เกิดจากการทำงานของ Mirror neurons ในผู้ฟังซึ่งทำให้เกิดการกระตุ้น Motor neurons ในการคิดวิเคราะห์ทางคลินิก (Clinical decision หรือ clinical reasoning) ดังนั้นคำบอกเล่าหรือประวัติที่ผู้ป่วยเล่าให้แพทย์ฟังจึงเกิดจากกระบวนการ ทางระบบประสาทขั้นสูงสุดของสมองมนุษย์ที่มีความหมายและทำให้แพทย์วินิจฉัย ความเจ็บป่วยได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถรักษาทุกข์ให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้ แพทย์จึงควรเข้าใจความเชื่อมโยงของ “Subjective” และ “Objective” ในเชิงคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ด้วยว่ามีที่มาอย่างไร เพื่อเชื่อมโยงโลกที่รุดหน้าด้วยเทคโนโลยีให้เข้ากับชีวิตเพื่อนมนุษย์ ไม่ใช่ทิ้งห่างจากมนุษย์

Doctor-Patient interaction and clinical outcomes in GP: Language in Medicine (LIME) project.

LIME project เป็นการศึกษาถึงลักษณะของภาษาที่ผู้ป่วยและแพทย์ใช้สื่อสารถึงกัน เพราะภาษาเป็นรากฐานที่สำคัญของงานเวชปฏิบัติครอบครัว แพทย์ต้องสามารถเข้าใจภาษาที่ผู้ป่วยส่งมาได้ ภาษาเกิดจากการกลั่นกรองออกมาจากความรับรู้เกี่ยวกับความเป็นตัวเอง (self-perception) และร่างกายของตนเอง (bodily perception) ดังนั้นจึงเต็มไปด้วยความรู้(Knowledge) และความรับรู้(Perception) ซึ่งถือกำเนิดมาตั้งแต่ attachment ระหว่างแม่กับทารกในครรภ์ ที่เริ่มเป็นการติดต่อสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงมนุษย์หนึ่งคนกับโลกภายนอก โดยการติดต่อระหว่างแม่กับทารกในครรภ์จะไปสร้างแผนที่ระบบประสาทในตัวทารก ทำให้เกิดการรับรู้ต่อสังคม (social recognition) และ การตอบสนองต่อสังคม (reflective ability) ดังนั้นเรื่องเล่าของผู้ป่วยจึงไปกระตุ้น mirroring neuron ในตัวแพทย์และทำให้เกิดการแสดงความเห็นอกเห็นใจจากแพทย์ เพราะชีวิตมนุษย์ต้องการพลังหล่อเลี้ยงให้มีชีวิต พลังเหล่านั้นมาจากมนุษย์ด้วยกัน

LIME project จึงเป็นการสังเกตว่าสมองทำหน้าที่อย่างไร มีการใช้ภาษาตอบสนองกันอย่างไร มีการแสดงความเห็นอกเห็นใจกันอย่างไร การใช้สำบัดสำนวน และน้ำเสียงระหว่างการสนทนาของแพทย์กับผู้ป่วยในขณะตรวจรักษา เป็นการศึกษาขนาดใหญ่ในยุโรป ติดตามจำนวนประชากรในงานวิจัย 2043 คน นับเป็นการพบกันระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยทั้งหมด 8112 ครั้ง จำนวน 1391 ชั่วโมง ระหว่างปี 2004-2005 ในคลินิกแห่งหนึ่ง มีการอัดเทปเสียงการสนทนาและมาแปลเป็นรหัสคลื่นสมองและคลื่นเสียง เพื่อสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยและสิ่งที่เกิดขึ้นใน ขณะตัดสินการรักษา มีการถอดความและแปลความหมายเชิงสังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ร่วมด้วย ผลเบื้องต้นพบว่าแพทย์มีแนวโน้มชอบควบคุมบทสนทนาและชอบสรุปตัดสินว่าผู้ป่วย ตอบถูกหรือผิดตามคำถามที่ตนถามแต่แรก นอกนั้นผลยังอยู่ในระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล

 

Use of ICPC in Teaching and Learning in Primary Health Care

ICPC หรือ International classification of primary care version II เป็น ลิขสิทธิ์ของ WONCA ที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาของการแยกแยะความเจ็บป่วยซึ่งแต่เดิม WHO บัญญัติให้ใช้ ICD หรือ International classification of disease ซึ่งมีปัญหาในการใช้กับเวชปฏิบัติปฐมภูมิ ที่มีลักษณะของปัญหาสุขภาพหลายอย่างที่ไม่ได้วินิจฉัยโรคแบบ ICD แต่เป็นปัญหาสุขภาพที่แยกชนิดไม่ได้หรือปัญหาสุขภาพมิติอื่นที่ไม่ใช่โรค ICPC จึงเป็นการจัดแยกปัญหาตามที่เกิดขึ้นจริงในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ

ICPC มีลักษณะแยกแยะเป็น 2 แกน คือ รหัสปัญหา กับ ชื่อปัญหาสุขภาพ ซึ่งมีทั้งหมด 24 หมวด จาก A – Z ในแต่ละหมวดมี 6 องค์ประกอบคือ complaints&symptoms, diagnosis&prevention, therapy, test result, administrative, referral & reason for encounter และหมวดที่เหลือคือ ชื่อโรคที่พบได้ โดย ICPC-2 นี้มีทั้งหมด 1404 รหัสเรียงตามตัวอักษร ในขณะที่ ICD-10 มีทั้งหมด 14000 รหัส อย่างไรก็ตาม ICPC-2 นี้มีโปรแกรมเปรียบเทียบกับ ICD-10 ด้วย การใช้ ICPC-2 จึงทำให้สามารถเก็บข้อมูลปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของประชากรได้ ทราบระบาดวิทยาของปัญหาสุขภาพ สาเหตุการเข้ามาใช้บริการแต่ละครั้ง การสั่งจ่ายยา คุณภาพใบสั่งยา คุณภาพการบริการ ทำให้เห็นสภาพและเข้าใจการทำงานจริงของเวชศาสตร์ครอบครัวมากขึ้น รวมทั้งเห็นความแตกต่างของปัญหาสุขภาพในแต่ละประเทศ จึงนำไปใช้ได้ทั้งในการเรียนการสอน การบริการ และการวิจัย ปัจจุบันจึงมีการนำไปใช้และแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ถึง 24 ภาษา

Caring for the world – Cross-cultural perspectives (Prof. B Sparks)

WONCA เป็นองค์กรที่ประกอบด้วยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวนานาประเทศ คิดเป็นเกือบร้อยละกึ่งหนึ่งของทุกประเทศในโลก จึงเป็นแหล่งรวมของวัฒนธรรมที่หลากหลายในทางการแพทย์ หลายคนคิดว่าเรื่องของวัฒนธรรมเป็นเรื่องของคนที่ต่างชาติต่างภาษามาอยู่ใน ประเทศตนเองเท่านั้น ส่วนตนเองเป็นคนปกติ ไม่ได้มีอะไรที่เป็น “วัฒนธรรม” จริง ๆ แล้ววัฒนธรรมมีอยู่ในทุกสังคมของมนุษย์ เพราะเป็นชุดของหลักปฏิบัติและแนวทางการดำเนินชีวิตของมนุษย์ให้อยู่ได้ใน สังคมใดสังคมหนึ่ง แพทย์จึงควรทำความเข้าใจวัฒนธรรมของผู้ป่วยซึ่งเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของ ผู้ป่วย ซึ่งแพทย์ต้องเข้าใจภาษาและเคารพในสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นและยึดถือ เพราะชีวิตมนุษย์จะมีความหมายต่อเมื่อมีความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์เท่า นั้น จะมีความสัมพันธ์ได้ก็ต้องเคารพในสิ่งที่เขาเป็นก่อน

 

Bridging the gap between Family Medicine and research and Practice (Prof. W. Rosser)

Renaissance เป็นยุคที่ศิลปวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาท่ามกลางแหล่งอารยธรรมเดิมใน ช่วงศตวรรษที่ 14 – 16 ซึ่งมีโครงสร้างสังคมที่เป็นระเบียบแบบแผนอยู่ การประชุมครั้งนี้เปรียบเสมือนกับ Renaissance ในยุคการแพทย์สมัยใหม่ ที่มีโครงร่างระเบียบแบบแผนทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอยู่แต่ก็ พัฒนาศิลปวัฒนธรรมใหม่ที่สวยงามขึ้นมาด้วยกัน แพทย์หรือศาสตร์ที่มาเชื่อมความแตกต่างของเทคโนโลยีใหม่กับศิลปวัฒนธรรมคือ เวชศาสตร์ครอบครัว ดังนั้นควรมีการสนับสนุนให้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวทำวิจัยจากเวชปฏิบัติจริง ที่มีอยู่ขึ้นมามาก ๆ  เพราะการทำวิจัยหรือการกำหนด clinical pratice guidelines ต่าง ๆ ที่มีมาเกิดจากฐานข้อมูลที่ไม่ใช่ความเป็นจริงของบริบทในเวชปฏิบัติปฐม ภูมิ ดังนั้นจึงควรร่วมกันรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่จริงในเวชปฏิบัติปฐมภูมิออกมาโดย ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือในการรวบรวม guidelines บางอย่างที่กำหนดออกมาจากฐานบริบทของตติยภูมิยังแสดงผลก้ำกึ่งว่าจะเป็น ประโยชน์หรือโทษต่อสังคมโดยรวมในบริบทของเวชปฏิบัติปฐมภูมิ เช่น การลดระดับไขมันในเลือดสูง ดังนั้น guidelines ควรผลิตออกมาจากแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในบริบทการตรวจผู้ป่วยแบบเวชปฏิบัติ ครอบครัว ไม่ใช่จากบริบทของการบริการแบบตติยภูมิ