กองทุนบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ

   ข่าวสารประชาสัมพันธ์  (ดูทั้งหมด)

 

แบ่งกลุ่มผู้มีสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 23 มีนาคม 2553 ดังนี้

1. กลุ่มที่คณะรัฐมนตรีรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวร ได้แก่
- กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 3 และ 4 ที่เข้าเมืองโดย ชอบ ได้สิทธิอาศัยถาวร
(พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2552) ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.14
- กลุ่มที่เลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 5 และ 8 เป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิอาศัยถาวร ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.14
* กลุ่มนี้ไม่ต้องมีใบอนุญาตออกนอกพื้นที่ (ใช้สิทธิเหมือน UC)

2. กลุ่มที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวเพื่อรอกระบวนการแก้ปัญหา
2.1กลุ่มที่มีปัญหาการส่งกลับซึ่งได้รับการสำรวจทำทะเบียนประวัติและบัตรสี/บัตรประจำตัวผู้ไม่ใช่สัญชาติไทยเพื่อการควบคุมและอยู่ระหว่างการแก้ปัญหา
(1) กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 6 เป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายในลักษณะชั่วคราว (ม.12,13,34,35 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง
พ.ศ.2552) และคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ม.17 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522) ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.13
(2) กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 7 เป็นบุตรคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายในลักษณะชั่วคราวที่เกิดในประเทศไทย (ม.12,13,34,35 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522) และบุตรคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกิดในประเทศไทย (ม.17 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522) ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร. 13

2.2 กลุ่มที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล เฉพาะกลุ่มต่อไปนี้
(1) กลุ่มนักเรียนในสถานศึกษาที่รับสวัสดิการจากรัฐบาลด้านการศึกษา มีเลขขึ้นต้นด้วย เลข 0 ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร. 38 ก
(2) กลุ่มไร้รากเหง้า มีเลขขึ้นต้นใน บัตรประจำตัวบุคคล เลข 0 ประเภท ทะเบียนราษฎร์ ท.ร.38 ก
(3) กลุ่มคนที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศ มีเลขขึ้นต้นใน บัตรประจำตัวบุคคล เลข 0 ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.38 ก

แนวทางการใช้บริการของกลุ่มเป้าหมายบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ (คืนสิทธิ) Stateless (STP)
-ใช้บริการ ณ หน่วยบริการที่ลงทะเบียนไว้ (ตามทะเบียนบ้าน)
-กรณีอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลข้ามเขตภายในจังหวัดหรือข้ามจังหวัด ณ หน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
-ในกรณีข้ามเขตจังหวัดต้องมีใบอนุญาตออกนอกพื้นที่ของกรมการปกครอง (กรณีประสบภัยจากรถสามารถใช้สิทธิต่อเนื่องจากค่าเสียหายเบื้องต้นที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถหรือบริษัทประกันภัยเป็นผู้จ่าย)
-ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ทั้ง 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลราชวิถี และ โรงพยาบาล นพรัตนราชธานี

ทำอย่างไรถึงได้สิทธิ
ติดต่อลงทะเบียนสิทธิการรับรักษาด้านสาธารณสุขตามภูมิลำเนาในทะเบียนราษฎร์ได้ที่
จังหวัดต่างๆ
- สถานีอนามัย (วัน - เวลาราชการ)
- โรงพยาบาลสังดัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (วัน - เวลาราชการ)
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (วัน - เวลาราชการ)
กรุงเทพมหานคร
โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ 3 แห่ง ดังนี้
1. โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
2. โรงพยาบาลราชวิถี
3. โรงพบาบาลเลิดสิน

จากหน้าเว็บไซด์กองทุนบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ กลุ่มประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดฯ กระทรวงสาธารณสุข

การลงทะเบียนสิทธิกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ กรณีรายใหม่และที่ถูกตัดสิทธิจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ให้หน่วยบริการดำเนินการ ดังนี้ และส่งเอกสารหลักฐานประกอบการลงทะเบียนสิทธิมาที่ กลุ่มประกันสุขภาพ
ทาง Email : higstate@gmail.com Update 4/12/2013

เลขหลักที่1 หน่วยงานที่ลงทะเบียน ขั้นตอนปฏิบัติ
เลข3, 4, 5, 8 รพ. ลงทะเบียน
สามารถลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง

เลข 6 รพ. ลงทะเบียน หลักที่ 6 และ 7 เป็น 50 ขึ้นไป ลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง(ถ้าไม่ตรงเงื่อนไขให้ซื้อประกันต่างด้าว 2800บาท)
เลข 7 ส่วนกลางลงทะเบียน ต้องส่ง สูติบัตร มาให้ส่วนกลางลงทะเบียนเท่านั้น บิดาหรือมารดาต้องมีเลขขึ้นต้นด้วย 6 และในหลักที่ 6, 7 ต้องเป็นเลข 50 ขึ้นไป
จึงจะลงทะเบียนได้ (ถ้าไม่ใช่ตามเงื่อนไขนี้ ให้ซื้อประกันสุขภาพต่างด้าว)
เลข 0 ส่วนกลางลงทะเบียน หลัก 6 และ 7 ต้องเป็น 89 เท่านั้น และส่ง แบบ 89 มาให้ส่วนกลางลงทะเบียนกลุ่มที่ลงทะเบียนได้คือ
1. กลุ่มเด็กนักเรียน (แบบ 89 ให้ระบุว่านักเรียนหรือใบรับรองจากสถานศึกษาสถานะกำลังศึกษา)
2. กลุ่มไร้รากเหง้า (แบบ 89 ให้ระบุว่าไร้รากเหง้า)
3. กลุ่มทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ (แบบ 89 ให้ระบุว่าผู้ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ)
Download ตัวอย่างแบบ 89 (สำเนาจาก สนบท.)

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดคู่มือการขึ้นทะเบียนสิทธิ 

คลิกที่นี่่เพื่อไปที่ กองทุนบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ