ขอบเขตการดำเนินงาน

วิสัยทัศน์ 

            มุ่งผลิตบัณฑิตและแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้และความสามารถระดับสากลและเปี่ยมด้วยคุณธรรม พร้อมทั้งมีความใฝ่รู้ในการสร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า  มีความเป็นเลิศทางด้านงานบริการและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

พันธกิจ

  1. ผลิตแพทย์  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และคุณธรรม  มีความใฝ่รู้และเจตคติที่ดี
  2. ให้บริการทางคลินิกเฉพาะโรคและดูแลผู้ป่วยในอย่างมีประสิทธิภาพสร้างความพึงพอใจต่อผู้รับบริการ
  3. สร้างงานวิจัยและองค์ความรู้ที่มีคุณค่าในระดับชาติและนานาชาติ
  4. ให้บริการทางวิชาการต่อบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปเพื่อเสริมสร้างความรู้ทางด้านโรคข้อและภูมิแพ้
  5. สร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านการวิจัย
  6. ส่งเสริมการมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ  ไม่เห็นแก่วัตถุนิยม
  7. ตรวจสอบและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

ขอบเขตความรับผิดชอบของหน่วย

  1. ด้านการเรียนการสอน (ตั้งแต่ระดับก่อนปริญญา-หลังปริญญา ถึงระดับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค) รับผิดชอบการเรียนการสอนในหลักสูตรต่อไปนี้

หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต

    1. หัตถการที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค
  • ชั้นคลินิก ปีที่ 4, 5 และ 6  วิชาอายุรศาสตร์  โดยมีการจัดการเรียนการสอนทั้ง IPD และ OPD (ปี 5 และ ปี 6)
    1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิทยาศาสตร์การแพทย์ชั้นสูง
    2. หลักสูตรวุฒิบัตรอายุรศาสตร์ทั่วไป
    3. หลักสูตรวุฒิบัตรอายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    4. หลักสูตรวุฒิบัตรอายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันคลินิก
    5. หลักสูตรประกาศนียบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาอายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้
    6. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ปริวรรต (หลักสูตรนานาชาติ)
  • ชั้นปรีคลินิก ปีที่ 3  วิชาบทนำคลินิก
  • ชั้นปรีคลินิก  ปีที่ 2 วิชา Immunology (Host-defense ในหลักสูตรใหม่)

ด้านการบริการผู้ป่วยและการบริการสังคม (รวมถึงหัตถการ และ Procedure ต่าง ๆ ของหน่วย)

  • การตรวจภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin prick test)
  • การทดสอบภาวะความไวเกินของหลอดลม (Bronchial challenge test)
  • การทดสอบแพ้ยา (drug testing)
  • การทดสอบแพ้ยา (food challenge)

การทดสอบโดยการออกกำลังกาย (exercise challenge test)

  • หัตถการที่ช่วยในการรักษาโรค

  • การฟอกน้ำเหลือง (Plasmapheresis) ด้วยวิธี filtration
  • การให้ Biologic therapy (มี infusion unit  ภายในหน่วยฯ)
  • การรักษาทางภูมิคุ้มกัน เพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ (allergen-specific immunotherapy)
  • การให้ยาโดยเพิ่มขนาดยาทีละน้อยเพื่อให้อดทนยาได้ (drug desensitization)
  • การทำ Immunotherapy เพื่อรักษาโรคภูมิแพ้

หัตถการที่ช่วยในการวินิจฉัย/รักษาโรคและประเมินสภาวะของโรค

  • การเจาะข้อ (Arthrocentesis) และตรวจผลึกในน้ำไขข้อ
  • การเป่าปอด (spirometry)
    • การตรวจทางซีโรโลยี่ (serologies) หาออโตแอนติบอดีย์ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค
  • ด้านการวิจัย
  • Disease oriented
    • Systemic lupus erythematosus
    • Scleroderma
    • Rheumatoid arthritis
    • Immunotherapy for house dust mite
    • Asthma
    • Drug allergy
    • Allergic rhinitis
  • Biomedical oriented
    • Autoantibodies
    • Immunogenetics
    • Genetics for drug hypersensitivity
  1. ผลงานที่สำคัญของหน่วยในอดีต
    • งานวิจัย  ได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในวารสารต่างประเทศและในประเทศรวม > 40  เรื่อง
    • สิ่งประดิษฐ์
  • นายแพทย์สุกิจ  จิตรบำรุง  ร่วมกับคุณอรวรรณ  วีระเสริฐนิยม และคุณมนต์จันทร์  วณิชย์พันธุ์  ได้ริเริ่มวิธีการทดสอบหาออโตแอนติบอดี้ย์ทั้ง pattern และ profiles  ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคออโต้อิมมูนสูงเป็นที่เชื่อถือ และนำไปใช้ในห้องทดลอง ต่าง ๆ ทั่วประเทศ  ตั้งแต่ปี 2525 และยังเป็นผู้นำในการพัฒนาการทดสอบทางภูมิคุ้มกันต่าง ๆ หลายประเภท
  • วิธีตรวจยืนยันอาการปากแห้ง (xerostomia) แบบ noninvasive ในปี พ.ศ. 2531

      2.3  ให้การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

  • สาขาอายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม  จำนวน   30  คน
  • สาขาอายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกันทางคลินิก  จำนวน  8  คน
  1.  เกียรติประวัติที่อาจารย์หรือบุคลากรในหน่วยเคยได้รับ เช่น นักวิจัยดีเด่น  รางวัลมหิดล ฯลฯ

รองศาสตราจารย์มงคล  วัฒนสุข

  • นายกสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทยคนแรก (เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง) 2528-2531
  • ที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลกเรื่อง WHO/ILAR Task Force on Rheumatic Disease, Geneva, 2527
  • ประธานกรรมการจัดงานประชุมนานาชาติเรื่อง 5th SEAPAL Congress of Rheumatology, กรุงเทพฯ, 2527
  • President, Asia Pacific League of Associations for Rheumatology (APLAR) และ Vice President, International League of Associations for Rheumatology (ILAR) 2541-2543
  • ประธานกรรมการจัดงานประชุมนานาชาติเรื่อง 10th  APLAR Congress of Rheumatology, Bangkok 1-6 December 2002

              นางสาวอรวรรณ  วีระเสริฐนิยม

  • ข้าราชการดีเด่น สาย ก ของคณะฯ ประจำปี 2545

             ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนกรัตน์  นันทิรุจ

  • นายกสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย  วาระพ.ศ. 2547-2549, 2560-2562

              ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติ  โตเต็มโชคชัยการ

  • นายกสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย  วาระพ.ศ. 2555-2557

      อาจารย์แพทย์หญิงประภาพร  พิสิษฐ์กุล

  • Fellow Award a for Research Excellenc (FARE) จาก National Institutes of Hcaeth (สหรัฐอเมริกา 2550)
  • American Association of Immunologists (AAI) Trainee Award ในปี 2551, 2553
  1. จุดเด่นของหน่วย (โดยเฉพาะที่แตกต่างจากหน่วยเดียวกัน ของสถาบันอื่นๆ)
  • มีการทดสอบยืนยันการแพ้ยาอย่างเป็นระบบ (ทดสอบทางผิวหนัง และการทดสอบโดยให้ยาซ้ำ) และเป็นแหล่งอ้างอิงการจัดตั้งคลินิก challenge จนมีแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจด้านการดูแลผู้ป่วยแพ้ยามาฝึกอบรม (elective) อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากกุมารแพทย์ อายุรแพทย์ แพทย์สาขาโสต ศอ นาสิก และแพทย์ผิวหนัง รวมถึงเภสัชกรและพยาบาล
  • มีประสิทธิภาพและประสบการณ์สูงในการรักษาโรคแพ้ภูมิตนเอง  ทำให้แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาโรคข้อและรูมาติสซั่มจากสถาบันอื่นเลือกมาฝึกอบรม (elective) อย่างต่อเนื่อง
  • มีศักยภาพในการทำวิจัยทางคลินิกและงานวิจัยทางพื้นฐานเป็นที่ยอมรับทั่วไปทั้งด้านโรคภูมิแพ้และโรคข้อโดยนำความรู้ที่ได้จากการทำวิจัยทางพื้นฐานมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และโรคข้อ
  • เป็นแหล่งอ้างอิงและฝึกอบรมการทดสอบหาออโต้แอนติบอดี้ย์ของประเทศ
  1. แนวทางการพัฒนาหน่วยในอนาคต
  • ด้านการเรียนการสอน  ดำเนินการตามนโยบายคณะฯ เพื่อผลิตแพทย์ซึ่งมีความรู้ด้านอายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และโรคข้อที่ได้มาตรฐาน รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง คิดเป็น ทำเป็น และมี จริยธรรมสมความเป็นแพทย์ รวมถึงร่วมผลิตนักวิจัยในสาขาวิชาเวชศาสตร์ปริวรรต (Translation Medicine) หลักสูตรนานาชาติทั้งในระดับมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • ด้านบริการ   พัฒนาขีดความสามารถในการให้การรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ อิมมูโนวิทยา   คลินิคและโรคข้อ ให้ก้าวทันหรือเป็นผู้นำในวิทยาการสมัยใหม่  เพื่อเป็นสถาบันที่ปรึกษาของแพทย์ทั่วประเทศ  รวมทั้งแพทย์ในประเทศใกล้เคียง   ในขณะเดียวกันก็เน้นย้ำการอภิบาลทางด้านจิตใจควบคู่กันไปด้วย
  • ด้านวิจัย  เน้นการวิจัยเกี่ยวกับโรคที่เป็นปัญหาหลักของประชาชนไทย  ซึ่งได้แก่โรค SLE, Scleroderma โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การแพ้ยา และโรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้  ในปัจจุบันได้เน้นการทำวิจัยในผู้ป่วยโรค SLE  ในเชิงลึกเพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะเข้าใจกลไกการเกิดโรคในผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้ดียิ่งขึ้น และวางแนวทางการรักษาโดยใช้รูปแบบการศึกษาที่เรียกว่า Precision Medicine ซึ่งจะเริ่มจากการตรวจหายีนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค SLE  และจะตรวจหาความผิดปกติในระบบอิมมูโนวิทยา เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของยีนเหล่านี้กับความรุนแรงของโรค  การติดเชื้อฉวยโอกาส และการพยากรณ์โรค เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการรักษาให้เหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละคน