หลักสูตรการฝึกอบรม อนุสาขาเวชบำบัดวิกฤต

หลักสูตรการฝึกอบรม อนุสาขาเวชบำบัดวิกฤต

สาขาวิชาเวชบำบัดวิกฤติมีบทบาทในการเรียนการสอนและฝึกอบรมทั้งในระดับก่อนและหลังปริญญา มีการจัดฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด (fellow) ตั้งแต่ปีพ.ศ.2557 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านต่อยอด (fellow)มีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติทั้งด้านอายุรกรรมและศัลยกรรม ปัจจุบันสามารถจัดฝึกอบรมประจำบ้านต่อยอด (fellow) ได้ 5 คนต่อปี อีกทั้งอาจารย์ประจำสาขาวิชายังมีการฝึกอบรมให้แพทย์ประจำบ้าน (Resident) สาขาวิชาอายุรกรรม, ศัลยกรรม, วิสัญญีวิทยา, และ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ที่ผ่านหอผู้ป่วยหนักในโรงพยาบาลรามาธิบดี รวมถึงแพทย์ประจำบ้าน (Resident) และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด (fellow) ต่างสถาบันที่สนใจมาศึกษาดูงาน ในส่วนของนักศึกษาแพทย์อาจารย์ประจำสาขาวิชาได้มีการสอนการดูแลผู้ป่วยวิกฤติและพื้นฐานการใช้เครื่องช่วยหายใจ

พันธกิจหลักสูตร

หลักสูตรการฝึกอบรมผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชบำบัดวิกฤตถูกออกแบบขึ้นมาโดยคำนึงถึงความต้องการทางด้านสุขภาพของประเทศ และมีเป้าหมายให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่สำเร็จ การฝึกอบรม เป็นแพทย์เวชบำบัดวิกฤตที่มี ความรู้ความสามารถทางเวชบำบัดวิกฤต ในระดับสากล มีความเอื้ออาทรและใสใจในความปลอดภัยเพื่อการแกไขปญหาและการสงเสริมสุขภาพ โดยยึดถือผูปวยเปนศูนยกลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบบูรณาการและสอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพในการดูแลผู้ป่วย มีทักษะการทำงานแบบมืออาชีพ สามารถทำงานร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพมีพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพื่อนร่วมงานทั้งในวิชาชีพของตนเองและวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้งผู้ป่วยและญาติ เน้นการทำงานเป็นทีม มีความสามารถเป็นผู้นำทีมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตได้เป็นอย่างดี ร่วมกับมีความสามารถในการดำเนินการวิจัย  นอกจากนี้หลักสูตรการฝึกอบรม ยังเน้นการผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเวชบำบัดวิกฤตที่และเมื่อสำเร็จการฝึกอบรมแล้ว สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองอย่างเต็มตัว และ ที่มีเจตนารมณและเตรียมพร้อมที่จะเรียนรูตลอดชีวิต

อนึง การดำเนินการฝึกอบรมต้องอยู่บนพื้นฐานของการมีสภาวะการทำงานที่เหมาะสม และคำนึงถึงสุขภาพของผู้เข้ารับการ

ฝึกอบรมเป็นสำคัญ

สมรรถนะการฝึกอบรม

            หลักสูตรมุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีสมรรถนะต่างๆคลอบคลุมทั้ง 8 ด้านกล่าวคือ

  1. การดูแลผู้ป่วย (patient care)
  2. ความรู้และทักษะหัตถการทางเวชกรรม (Medical Knowledge & Procedural Skills)
  3. ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)
  4. การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (Practice-based Learning and Improvement)
  5. วิชาชีพนิยม (Professionalism)
  6. การทําเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (Systems-based Practice)
  7. ความสามารถในการดำเนินการวิจัย (Research Skills)
  8. ความเป็นผู้นำ (Teamwork and Leadership Skills)

ระยะเวลาการฝึกอบรม

 

การฝึกอบรม

            การฝึกอบรมเน้นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากการดูแลผู้ป่วยวิกฤต โดยมีอาจารย์เป็น supervisor เน้นการเรียนการสอนแบบ discussion เปิดโอกาสให้ผู้รับการฝึกอบรมได้เรียนรู้อย่างอิสระ และสามารถแสดงความคิดเห็น อภิปรายปัญหาผู้ป่วยที่รับผิดชอบได้อย่างอิสระ ภายในทีมดูแลผู้ป่วยซึ่งประกอบไปด้วย อาจารย์แพทย์ แพทย์ประจำบ้านต่อยอดที่มารับการฝึกอบรม แพทย์ประจำบ้าน พยาบาล และเภสัชกรคลินิก

            เน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ใช้ความรู้แบบบูรณาการทั้งด้านการแพทย์ และด้านอื่น ๆเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบองค์รวม ส่งผลให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับประสบการณ์หลากหลายด้าน นอกจากนี้ยังเน้นการนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ร่วมกันในการวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วย รวมถึงการรักษาด้วยเช่นกัน

            เน้นการเตรียมความพร้อมก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม มีการจัด refresher course ให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมตลอดช่วง 6 เดือนแรก รวมถึงหัตถการที่สำคัญ อาทิเช่น intensive care ultrasound เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการปฐมนิเทศ ก่อนเริ่มปีการศึกษา และจัดทำคู่มือประกอบการฝึกกอบรมให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคน ที่สำคัญทางสาขาฯ จัดให้มีอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อช่วยเหลือผู้ฝึกอบรมด้วยเช่นกัน

            สาขาวิชาจัดให้ผู้รับการฝึกอบรมสามารถมีประสบการณ์ การใช้เครื่องมือที่ทันสมัยต่าง ๆ โดยเน้นเครื่องมือที่สามารถมีใช้ในโรงพยาบาลทั่วไป ไปจนถึงเครื่องมือที่มีความซับซ้อนสูง เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีประสบการณ์ที่หลากหลาย ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวได้แก่

  • Point of care ultrasound
  • PA catheter monitoring
  • Extra-vascular lung water monitoring
  • Various cardiac output monitoring
    • Calibrated pulse contour analysis
    • Non-calibrated pulse contour analysis
    • Cold saline thermodilution CO
    • Warming filament thermodilution CO
    • Transpulmonary CO
    • Doppler
  • Esophageal catheter monitoring
  • Electrical impedance tomography
  • Extra-corporeal membrane oxygenation
  • Near infrared spectroscopy
  • Advanced mechanical ventilator

สาขาวิชาจัดให้มีกิจกรรมวิชาการในทุกวันพุธ เวลา 12:00-13:00 น. ตามตาราง โดยจัดให้มีอาจารย์รับผิดชอบในทุก

กิจกรรม นอกจากนี้สาขาวิชายังมีแหล่งข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมถึงคลังข้อสอบที่ผู้รับการฝึกอบรมสามารถเข้าไปทดสอบความรู้ของตนเองได้ (self-assessment tests) อีกทั้งสาขาวิชาจัดให้มี workshop สำหรับผู้รับการฝึกอบรม 2 รายการ ได้แก่ workshop ECMO และ workshop การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทาง respiratory care โดยเป็นภาคบังคับ

 

 

            สาขาวิชาได้จัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมดังนี้

  • งบประมาณลงทะเบียนงานประชุมวิชาการในประเทศซึ่งไม่ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมเวชบำบัดวิกฤต เช่น CHOC เป็นต้น
  • งบประมาณลงทะเบียน และค่าเดินทาง สำหรับแพทย์ประจำบ้านต่อยอดที่มีความประสงค์จะเดินทางไปนำเสนอผลงานวิชาการในงานประชุมในต่างประเทศเช่น ISICEM หรือ ESICM เป็นต้น
  • งบประมาณจัดซื้อ text book หรือสื่อการเรียนรู้อื่นๆ
  • งบประมาณสนับสนุนงานวิจัยจำนวนหนึ่ง ในกรณีที่ทุนสนับสนุนงานวิจัยจากคณะฯ ไม่เพียงพอ
  • งบประมาณสำหรับให้ในโอกาสพิเศษ อื่นๆ เช่นงานปีใหม่ งานเลี้ยงรับ-ส่ง งานแต่งงาน เป็นต้น

สาขาวิชามีนโยบายให้ผู้รับการฝึกอบรม สามารถได้รับการฝึกอบรมในบรรยากาศที่เป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด และมี

ความสุข การให้คำแนะนำ หรืออภิปรายทางวิชาการ จึงเน้นบรรยากาศการแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ เรียนรู้ร่วมกัน ไม่เพ่งโทษ หรือตำหนิกันในที่ประชุม หรือในกลุ่มใหญ่ ให้ผู้รับการฝึกอบรมมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างอิสระ และยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น โดยมีวิชาการ และผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

เอกสารรายละเอียดการฝึกอบรม

พื้นที่สำหรับแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

  • คู่มือแพทย์ประจำบ้านต่อยอด
  • E-learning
  • Self-assessment test
  • ปฏิทินการศึกษา

กิจกรรมต่าง ๆภายในสาขาวิชา

รับสมัครแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

  • รูปกิจกรรมในสาขาฯ
  • คุณสมบัติ
  • Download ใบสมัคร
  • Submit online

ติดต่อสอบถาม เบอร์ 02-2011628, email: chutikarnsom@gmail.com