พันธกิจของหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาประสาทวิทยา

หลักการและเหตุผลของหลักสูตร
        โรคทางระบบประสาทเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบบ่อยอาทิเช่น โรคหลอดเลือดสมองที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิต อันดับ 3 ของประเทศ ภาวะสมองเสื่อมต่างๆ เช่น       โรคอัลไซเมอร และโรคพารกินสัน เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาของประเทศ มากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะหลัง โดยเฉพาะประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นโดยลำดับ  นอกจากนี้ ปัญหาทางระบบประสาททำให้เกิดอาการและอาการแสดงทางคลินิกที่ทำให้การวินิจฉัยยาก ถึงแม้อายุรแพทย์ทั่วไปยังมีปัญหาในการให้การวินิจฉัยและให้การรักษาได้อย่างถูกต้อง  
        ปัจจุบันมีการพัฒนาองค์ความรูในเชิงลึกของประสาทวิทยาศาสตร์ (neurosciences) วิทยาศาสตร์การแพทย์ ของระบบประสาทรวมทั้งโรคและความผิดปกติต่างๆ ของระบบประสาทอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งวิทยาการและเทคโนโลยีในด้านการวินิจฉัยและบำบัดรักษาไดมีการพัฒนาไปมาก ในด้านการบริการไดมีการเปิดให้บริการการตรวจวินิจฉัยพิเศษต่างๆ และเปิดหอผู้ป่วยโรคของระบบประสาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย    โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป อาทิ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อและเส้นประสาท การให้ยาสลายลิ่มเลือดในหลอดเลือดสมอง หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น การบริการเฉพาะทางดังกล่าวจำเป็นต้องอยู่ในความควบคุมดูแลโดยอายุรแพทย์สาขาประสาทวิทยาที่ได้รับการฝึกอบรมตามมาตรฐานสากล 
สัดส่วนของประสาทแพทย์ต่อประชากรที่ในประเทศไทยค่อนข้างต่ำมากคือ 1: 178,830 (Neurology Asia, 2007) ในขณะที่ประเทศในเอเชียภูมิภาคที่มีการบริการด้านประสาทวิทยาเป็นที่ยอมรับในระดับสากลจะมีอัตราส่วนของประสาทแพทย์ต่อประชากรสูงมากกว่าเช่น ประเทศสิงคโปร์ 1: 81,132 จะเห็นไดวาประเทศไทยยังมีความขาด แคลนประสาทแพทย์อยู่อย่างมาก 

วัตถุประสงค์หลักของการฝึกอบรม  เพื่อให้แพทย์ที่จบจากการฝึกอบรมเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในสาขาและ อนุสาขาประสาทวิทยาแล้ว จะต้องมีความรู้ ความสามารถทางโรคระบบประสาทดังต่อไปนี้ 
   1. ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อการวินิจฉัยไดย่างดีรวมทั้งทักษะในการทำหัตถการเพื่อการวินิจฉัย  และรักษาอย่างถูกต้อง
   2. ให้การรักษาและป้องกันได้อย่างเหมาะสม และได้มาตรฐาน
   3. มีความรูทางประสาทวิทยาศาสตร์ (neuroscience) สามารถอธิบายปัญหา และโรคทางระบบประสาท ด้วยความรู้ทางประสาทวิทยาศาสตร์
   4. สอน ให้คำปรึกษา และแนะนำเกี่ยวกับปัญหา รวมทั้งการป้องกันโรคแกแพทย์ นักศึกษา  บุคลากร สาธารณสุข และประชาชนไดเป็นอย่างดี
   5. สามารถดำเนินการวิจัยและนำเสนอผลงานทางวิชาการอย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ไดด้วยตนเอง
   6. ประสานงานกับผู้ปฏิบัติงานในสาขาอื่นๆ ทางด้านวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   7. มีทักษะในการค้นคว้าความรู และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเองอย่างมีวิจารณญาณ
   8. คุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน

พันธกิจของหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านประสาทวิทยา
        ผลิตอายุรแพทย์สาขาประสาทวิทยาที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ มีความสามารถใน การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมในระดับสากล โดยถือผู้ป่วยถือเป็นศูนย์กลาง มีความสามารถในการเรียนรูและทำวิจัยไดด้วย ตนเองเพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถถ่ายทอดความรูให้แก่แพทย์และบุคลากร สาธารณสุขอื่นๆไดอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพได

 

                                                                                                                                                                    กลับสู่หน้าหลัก