เวชระเบียน

 

      คำว่า "เวชระเบียน" กำเนิดที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยการเสนอของนายแพทย์ศิริพัฒน์ วัฒนเกษตร อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญงานด้านสถิติ ซึ่งได้แปลคำว่า "Medical Record" ว่า "เวชระเบียน" ตามพจนานุกรมคำ "Medical" ตรงกับศัพท์ภาษาบาลีว่า "เวช" แปลว่า "แพทย์" ส่วนคำว่า "Record" ตรงกับศัพท์เขมรว่า "ทะเบียน" แปลว่า "บันทึก" เมื่อนำ 2 คำมารวมกัน คือ เวช + ทะเบียน เป็นเวชทะเบียนแล้วออกเสียงไม่สะดวก จึงใช้คำว่า "เวชระเบียน" ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันคือ "บันทึกของแพทย์"

      ดังนั้นคำว่า "เวชระเบียน" จึงเริ่มใช้เป็นแห่งแรกที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นที่รับรองให้ใช้โดยคณะกรรมการของคณะฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา และแพร่หลายออกไปนอกคณะฯ กว้างขวางยิ่งขึ้นจนกระทั่งเป็นที่รู้จักและใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน และคงจะใช้คำนี้ตลอดไปเนื่องจากเป็นคำที่ถูกต้อง เหมาะสมกับต้นศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นสากลนิยม

  • ความสำคัญของเวชระเบียน...
  • ความเป็นมา...
  • พันธกิจ...

 

ที่มา : คู่มือระบบเวชระเบียน
จัดทำโดย : คณะอนุกรรมการเวชระเบียน 2550

 

 
มุ่งเรียนรู้ คู่คุณธรรม ใฝ่คุณภาพ ร่วมสานภารกิจ คิดนอกกรอบ รับผิดชอบสังคม
#