หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
Master of Nursing Science Program in Pediatric Nursing
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552

ชื่อหลักสูตร

(ภาษาไทย) พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
(ภาษาอังกฤษ) Master of Nursing Science Program in Pediatric Nursing

ชื่อปริญญา
ชื่อภาษาไทย:
   ชื่อเต็ม : พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเด็ก)
   ชื่อย่อ : พย.ม. (การพยาบาลเด็ก)
ชื่อภาษาอังกฤษ:
   ชื่อเต็ม : Master of Nursing Science (Pediatric Nursing)
   ชื่อย่อ : M.N.S. (Pediatric Nursing)

หน่วยงานรับผิดชอบ

      ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
      ปรัชญาของหลักสูตร
      หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก มุ่งผลิตพยาบาลเพื่อเป็นนักวิชาการ ผู้ปฎิบัติการพยาบาลขั้นสูง ที่สามารถบูรณาการศาสตร์ด้านการพยาบาล และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเชิงประจักษ์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ การรักษาและการบำบัดทางการพยาบาลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพในทุกสภาวะโดยการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันการเจ็บป่วย การดูแลรักษา และการช่วยเหลือให้ฟื้นฟูสภาพ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กทั้งในภาวะปกติ มีภาวะเสี่ยงและภาวะเจ็บป่วย ตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงเด็กวัยรุ่น การปฏิบัติการพยาบาลต้องการพยาบาลผู้มีความรู้อย่างลึกซึ้ง มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ให้การพยาบาลโดยยึดหลักปรัชญาการบริการสุขภาพแบบองค์รวมและยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลางในการตอบสนองความต้องการของเด็กและครอบครัว
      วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
      มหาบัณฑิตที่สำเร็จจากหลักสูตรนี้ จะมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และเจตคติดังต่อไปนี้
      ผู้สำเร็จการศึกษาในแผน ก
      (1) ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง โดยบูรณาการความรู้จากศาสตร์ทางการพยาบาลศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการดูแลสุขภาพเด็กแบบองค์รวมเฉพาะกลุ่มตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงเด็กวัยรุ่นในเด็กที่มีสุขภาพดี หรือเด็กที่มีภาวะเสี่ยง หรือที่มีภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน วิกฤต และภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังที่ซับซ้อน รวมถึงภาวะใกล้ตาย และครอบครัว โดยยึดหลักครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการดูแล
      (2) เป็นผู้เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพสู่ผู้รับบริการพยาบาลวัยเด็ก
      (3) เป็นผู้นำในทีมพยาบาลและมีส่วนร่วมในทีมบุคลากรทางสุขภาพในการวางระบบบริการสุขภาพ และการนำไปปรับปรุงแก้ไขระบบบริการให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่อง
      (4) เป็นนักวิชาการที่มีความรู้ และทักษะในการทำวิจัยและใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาลเด็ก
      (5) สามารถร่วมปรับปรุงระบบงานของสถาบัน และชุมชน ทั้งในด้านวิชาการและงานบริการเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน
      (6) มีความสนใจใฝ่รู้ สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
      (7) มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพทางการพยาบาล
      ผู้สำเร็จการศึกษาในแผน ข      
       (1) ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง โดยบูรณาการความรู้จากศาสตร์ทางการพยาบาลศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการดูแลสุขภาพเด็กแบบองค์รวมเฉพาะกลุ่มตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงเด็กวัยรุ่นในภาวะปกติ หรือมีภาวะเสี่ยง หรือที่มีภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน วิกฤต และภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังที่ซับซ้อน รวมถึงภาวะใกล้ตาย และครอบครัว โดยยึดหลักครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการดูแล
      (2) จัดทำโครงการการปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลลัพธ์
      (3) เป็นผู้เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพสู่ผู้รับบริการพยาบาลวัยเด็ก
      (4) เป็นผู้นำในทีมพยาบาลและมีส่วนร่วมในทีมบุคลากรทางสุขภาพในการวางระบบบริการสุขภาพ และการนำไปปรับปรุงแก้ไขระบบบริการให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่อง
      (5) เป็นนักวิชาการที่มีความรู้ และทักษะในการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาลเด็ก
      (6) สามารถร่วมปรับปรุงระบบงานของสถาบัน และชุมชน ทั้งในด้านวิชาการและงานบริการเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน
      (7) มีความสนใจใฝ่รู้ สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
      (8) มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพทางการพยาบาล

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก (2)
1 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาลและผดุงครรภ์) หรือพยาบาลศาสตรบัณฑิต หรือประกาศนียบัตรทางการพยาบาลเทียบเท่าปริญญาตรี
2 ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
3 ต้องมีประสบการณ์การทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยทำงานด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาล และ/หรือการบริหารการพยาบาล เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีเต็ม โดยนับถึงวันยื่นใบสมัคร
4 มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาขาการพยาบาลชั้น 1
5 ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ 7.1.2 และ/ หรือ ข้อ 7.1.3 อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัครเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ข
1 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาลและผดุงครรภ์) หรือพยาบาลศาสตรบัณฑิต หรือประกาศนียบัตรทางการพยาบาลเทียบเท่าปริญญาตรี
2 ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
3 มีประสบการณ์การทำงานในด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาล และ/ หรือ การบริหารการพยาบาลหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีอย่างน้อย 3 ปี โดยนับถึงวันยื่นใบสมัคร
4 มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาขาการพยาบาล ชั้น 1
5 ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ 7.2.2 และ/ หรือ ข้อ 7.2.3 อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัครเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

1 ใช้วิธีการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์
2 ความสมัครใจของผู้เข้าศึกษาในการเลือกแผน ก หรือ แผน ข
3 การพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าศึกษาขั้นสุดท้ายให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ระบบการศึกษา

1 ใช้ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิตทวิภาค
2 การคิดจำนวนหน่วยกิต
รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
รายวิชาภาคปฏิบัติในห้องทดลอง ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลอง 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
รายวิชาภาคปฏิบัติในคลินิก ที่ใช้เวลาฝึกในคลินิกหรือภาคสนามไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ที่ใช้เวลาการศึกษาค้นคว้าไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต

ระยะเวลาการศึกษา

ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 5 ปีการศึกษา

การลงทะเบียนเรียน

1 นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนแบบเต็มเวลา (full time)
2 จำนวนหน่วยกิตในการลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 15 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ หรือตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

1 การวัดผล
      การวัดผลเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ดูรายละเอียดข้อบังคับฯ ได้จาก www.grad.mahidol.ac.th)
2 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
      แผน ก แบบ ก (2)
      (1) ต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ตามโครงสร้างของหลักสูตร คือ ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต รวมจำนวนหน่วยกิตที่ต้องศึกษาตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 42 หน่วยกิต โดยต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
      (2) ต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
      (3) ต้องเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านปากเปล่าขั้นสุดท้ายตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
      (4) ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์หรือย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceeding) ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย
      แผน ข
      (1) ต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ตามโครงสร้างของหลักสูตร คือ ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และทำสารนิพนธ์ 6 หน่วยกิต รวมจำนวนหน่วยกิตที่ต้องศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 42 หน่วยกิต โดยต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
      (2) ต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
      (3) ต้องสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
      (4) ต้องเสนอผลงานการศึกษาอิสระที่เป็นสารนิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่า ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

รายวิชาในหลักสูตร

หมวดวิชาแกน 9  หน่วยกิต

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติการทดลอง/ปฏิบัติในคลินิก-ศึกษาด้วยตนเอง)
รมพย 600
RANS 600
วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและการใช้ผลการวิจัย
Research Methodology and Research Utilization
3(3-0-6)
รมพย 603
RANS 603
สถิติ
Statistics
2(1-2-3)
รมพย 662
RANS 662
มูลฐานทางทฤษฎีในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง
Theoretical Foundation in Advanced Nursing Practice
2(2-0-4)
รมพย 663
RANS 663
นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล
Health Policy and Nursing Leadership
2(2-0-4)

หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติการทดลอง/ปฏิบัติในคลินิก-ศึกษาด้วยตนเอง)
รมพด 501
RAPN 501
การประเมินภาวะสุขภาพเด็กขั้นสูง
Advanced Practice Health Assessment
2(1-2-3)
รมพด 512
RAPN 512
วิทยาศาสตร์สุขภาพ
Health Scicence
3(3-0-6)
รมพด 513
RAPN 513
การพยาบาลสุขภาพเด็กดีและกลุ่มเสี่ยง
Child Health Nursing of well Child and Risk Groups
2(2-0-4)
รมพด 514
RAPN 514
การพยาบาลเด็กป่วยวิกฤตและเรื้อรัง
Pediatric Critical and Chronic Care Nursing
2(2-0-4)
รมพด 515
RAPN 515
ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรู่น
Nursing Practicum of Children and Adolescents
3(0-12-3)

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติการทดลอง/ปฏิบัติในคลินิก-ศึกษาด้วยตนเอง)
รมพย 542
RANS 542
แนวคิดและการพัฒนาบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง
Concept and Role Development of Advanced Practice Nurse
3(1-8-4)
รมพย 561
RANS 561
การแพทย์ทางเลือกและการบำบัดเสริมทางการพยาบาล
Alternative Medicine and Complementary Therapy in Nursing
3(3-0-6)
รมพย 562
RANS 562
แนวคิดการพยาบาลดูแลสุขภาพที่บ้าน
Concept of Home Health Care Nursing
3(3-0-6)
รมพย 564
RANS 564
การสอนในคลินิก
Teaching in Clinical Setting
3(2-4-5)
รมพย 681
RANS 681
การบริหารทางการพยาบาล
Nursing Administration
3(2-4-5)
รมพย 688
RANS 688
เทคโนโลยีและการจัดการสารสนเทศทางการพยาบาล
Technology and Management of Nursing Information
3(2-2-5)

วิทยานิพนธ์

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติการทดลอง/ปฏิบัติในคลินิก-ศึกษาด้วยตนเอง)
รมพย 698
RANS 698
วิทยานิพนธ์
Thesis
12(0-36-๐)