หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๗

 
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
 
๑. ชื่อหลักสูตร  
ภาษาไทย หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ Master of Nursing Science Program (International Program)
 
๒. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา  
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
ชื่อย่อ : พย.ม.
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Master of Nursing Science
ชื่อย่อ : M.N.S.
 
๓. วิชาเอก ไม่มี
 
๔. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๓๘ หน่วยกิต
 
๕. รูปแบบของหลักสูตร  
๕.๑ รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาโท
๕.๒ ภาษาที่ใช้ ภาษาอังกฤษ
๕.๓ การรับเข้าศึกษา รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ
๕.๔ ความร่วมมือกับสถาบันอื่น สถาบันที่ลงนามบันทึกความเข้าใจกับโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้แก่
- Uppsala University, Sweden
- Danish School of Nursing, VIA University, Denmark
- St.Luke’s College of Nursing, Japan
- Osaka Prefecture University, Japan
- National Taiwan University, Taiwan
- University of Indonesia, Indonesia
- Seoul National University, Korea
- Taipei Medical University, Taiwan
๕.๕ การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
 
๖. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
๖.๑ นักวิชาการ นักวิจัยสาขาการพยาบาล
๖.๒ บุคลากรในสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน
๖.๓ พยาบาลผู้ปฏิบัติงาน
๖.๔ ผู้บริหารการพยาบาล
๖.๕ อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ
 
๗. ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน ตำแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ลำดับ เลขบัตรประจำตัวประชาชน
ตำแหน่งทางวิชาการ
ชื่อ–นามสกุล
คุณวุฒิ (สาขาวิชา)
สถาบัน:ปีที่สำเร็จการศึกษา
๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิราภรณ์ จันทร์ดา Ph.D. (Nursing) University of Washington, USA. : ๒๕๔๕
M.S.N. (Oncology Nursing ) University of Pennsylvania, USA. : ๒๕๔๑
วท.บ. (พยาบาลและผดุงครรภ์) เกียรตินิยมอันดับ ๑ มหาวิทยาลัยมหิดล : ๒๕๓๕
๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์ Ph.D.(Nursing Science) University of Illinois at Chicago, USA. : ๒๕๕๒
Certificate of HIV/AIDS nursing care. University of Illinois at Chicago, USA. : ๒๕๔๓
พย.ม. (การพยาบาลศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ๒๕๓๖
วท.บ. (พยาบาลและผดุงครรภ์) มหาวิยาลัยมหิดล: ๒๕๒๘
๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริรัตน์ ลีลาจรัส Ph.D. (Nursing) University of Michigan, Ann Arbor, USA. : ๒๕๔๘
M.S. (Medical-Surgical Nursing) Acute, Critical, and Long-Term Care Program University of Michigan, Ann Arbor, USA. : ๒๕๔๒
วท.บ. (พยาบาลและผดุงครรภ์) มหาวิทยาลัยมหิดล : ๒๕๓๖
 
๘. สถานที่จัดการเรียนการสอน
๘.๑ อาคารเรียนและปฏิบัติการเรียนรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ
๘.๒ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
 
๙. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร
๙.๑ สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
       จากการรวมตัวของประชาคมอาเซียนซึ่งมีลักษณะทางภูมิประเทศ สังคมและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน จะเป็นการเพิ่มอำนาจการต่อรองและขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาอารยประเทศ และประสานความร่วมมือ ช่วยเหลือ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของประเทศสมาชิกในด้านเศรษฐกิจ สังคม การใช้พลังงาน การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งประเทศไทยในฐานะผู้นำทางการแพทย์และการศึกษาพยาบาล จะต้องรับภาระในการพัฒนาศักยภาพอาจารย์พยาบาล และพยาบาลประจำการแก่ประเทศสมาชิก เพื่อให้เกิดผลดีแก่สังคมของสมาชิก
 

      โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ และหลักสูตรนานาชาติสำหรับพยาบาลระดับปริญญาเอกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๕ และความร่วมมือกับ WHO ในการฝึกอบรมให้กับพยาบาลในภูมิภาคเอเชียมากกว่า ๑๐ ปี ดังนั้นโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี จึงมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบัณฑิตศึกษาเป็นอย่างดี การเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) จึงเป็นการตอบสนองความต้องการของสถาบันการศึกษาพยาบาลของกลุ่มประชาคมอาเซียน ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมของบุคลากรสู่การเป็นเลิศทางวิชาการและเป็นผู้นำทางการพยาบาล

 

      เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในปัจจุบัน และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว ร่วมกับลักษณะของผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความหลากหลาย รวมทั้งข้อจำกัดต่างๆ ในการศึกษาต่อเนื่อง เช่น ภาระในการทำงาน ครอบครัว และ เศรษฐกิจ ทำให้หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตต้องปรับระบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยสาเหตุนี้ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีความคิดริเริ่มที่จะนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารทางไกล ซึ่งเป็นนวตกรรมทางการศึกษามาประยุกต์ในหลักสูตรบัณฑิตศึกษา หลักสูตรนานาชาติ ที่เรียกว่า Hybrid Education Model ซึ่งเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน การเรียนการสอนทางไกล และการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยคณาจารย์ที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ในการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

 

๙.๒ สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
       หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นการเปิดโอกาสการพัฒนาความเข้าใจทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลายจากผู้เรียนทั้งในและนอกประชาคมอาเซียน รวมทั้งภาวะสุขภาพในภูมิภาคเอเชียที่เปลี่ยนแปลงไปและเชื่อมโยงถึงกันได้ ช่วยพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลของประเทศต่างๆให้มีความพร้อม มีความสามารถในการศึกษา การวิจัย และการบริการที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน เป็นการผลิตพยาบาลมหาบัณฑิตที่คาดว่าจะเป็นกำลังสำคัญในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพต่อไป การจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) นี้เป็นโอกาสในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆที่ผู้เรียนสังกัดและสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนต่อไปในอนาคต

 
๑๐. ผลกระทบจากข้อ ๑๑.๑ และ ๑๑.๒ ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของ มหาวิทยาลัย
๑๐.๑ การพัฒนาหลักสูตร
      หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาอาจารย์และผู้นำทางการพยาบาลในระดับภูมิภาคเอเชีย โดยมุ่งผลิตพยาบาลให้มีความรู้ลึกซึ้งในสาขาวิชา และมีทักษะในการทำวิจัยเพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของการศึกษาพยาบาลให้ได้มาตรฐานสากล
 

๑๐.๒ ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย
      พันธกิจของโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการสร้างความเป็นเลิศด้านการศึกษา (Education Excellence) โดยผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณธรรม และมีพหุศักยภาพ สามารถสร้างงานวิจัยและนวตกรรมที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งประยุกต์ผลงานวิจัย ทฤษฎี เพื่อพัฒนาสุขภาวะของสังคมและมีความเป็นสากล โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยรองรับระบบการเรียนการสอน

 
 
๑. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
๑.๑ ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร
      หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านการศึกษา สังคม วัฒนธรรมและสุขภาพ เน้นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจสุขภาพ ความเจ็บป่วย และการพยาบาลในวัฒนธรรมที่หลากหลาย เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องโดยเน้นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learner) และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (Life Long Learning) โดยใช้นวตกรรมทางการศึกษา (Hybrid Education Model) ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการเรียนในชั้นเรียนและการศึกษาออนไลน์ โดยการนำจุดเด่นของแต่ละระบบมาผสมผสานกัน เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นนักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถในการพยาบาล มีภาวะผู้นำ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ที่มีทักษะในการศึกษาวิจัยและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการจัดการปัญหาสำคัญทางสุขภาพและพัฒนาคุณภาพการพยาบาลและระบบบริการสุขภาพ ภายใต้ระบบการเรียนการสอนที่ทันสมัยและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากความหลากหลายของผู้สอนและผู้เรียนจากนานาประเทศ
 

๑.๒ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
      เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษาจะมีความรู้ ความสามารถ ดังนี้
      ๑.๒.๑ แสดงความสามารถในเชิงวิชาชีพพยาบาลในบทบาทนักวิชาการ ผู้บริหาร หรือพยาบาลผู้ปฏิบัติการที่มีคุณภาพ ดูแลผู้ป่วยด้วยความเอื้ออาทร มีจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพและเจตคติที่ดีต่อการดูแลผู้ป่วย

 

      ๑.๒.๒ มีทักษะในการปฏิบัติการพยาบาล การทำวิจัย หรือวิเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลที่สอดคล้องตามหลักวิชาการในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และการรักษาพยาบาลเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่อง ครบวงจร ในภาวะปกติ ภาวะเสี่ยง ภาวะเจ็บป่วย ภาวะวิกฤตหรือภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ทั้งที่บ้าน ชุมชน สถานบริการ และ/หรือโรงพยาบาล ตลอดจนคำนึงถึงความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม

 

      ๑.๒.๓ มีความรู้และสนใจใฝ่รู้แนวคิดทฤษฎีทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนศึกษาค้นคว้าความรู้ได้ด้วยตนเอง

 

      ๑.๒.๔ เป็นผู้นำในทีมพยาบาลและมีส่วนร่วมในทีมบุคลากรทางสุขภาพในการวางระบบบริการสุขภาพ และนำไปปรับปรุง ระบบงานของสถาบัน และชุมชน ทั้งในด้านวิชาการ และงานบริการ ให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน โดยใช้ทักษะในการสร้างสัมพันธภาพและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

 

      ๑.๒.๕ สามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลข และสามารถสื่อสารให้เป็นที่เข้าใจได้

 
๑. ระบบการจัดการศึกษา
๑.๑ ระบบใช้ระบบการจัดการศึกษาแบบหน่วยกิตระบบทวิภาค
๑.๒ การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ไม่มี
๑.๓ การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค ไม่มี
 
๒. การดำเนินการหลักสูตร
๒.๑ วันเวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
     จัดการเรียนการสอนในวัน – เวลาราชการ
 
๒.๒ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
     ๒.๒.๑ สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสภาวิชาชีพในแต่ละประเทศรับรอง
 

     ๒.๒.๒ ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ จากคะแนนเต็ม ๔.๐๐ หรือเทียบเท่า

 

     ๒.๒.๓ มีประสบการณ์การทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยทำงานด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาลและ/หรือการบริหารการพยาบาล เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปีเต็ม นับถึงวันยื่นใบสมัคร

 

     ๒.๒.๔ มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการพยาบาลหรือเทียบเท่าจากประเทศของตน

 

     ๒.๒.๕ ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้า รับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

 

๒.๓ ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า
      เนื่องจากหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติ นักศึกษาต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมทั้งที่พักอาศัย การเดินทาง อาหาร การสื่อสาร และการเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ

 
๒.๔ กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ ๒.๓
 
ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า กลยุทธ์ในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่าง โครงการปฐมนิเทศเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบการเรียนการสอนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย และกิจกรรมรุ่นพี่พบรุ่นน้อง มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาให้การดูแลช่วยเหลือนักศึกษาโดยเฉพาะในระยะแรกเข้า โครงการอาจารย์ที่ปรึกษาพบนักศึกษา การจัดกิจกรรมสันทนาการเพื่อผ่อนคลายลดความตึงเครียด
ที่พักอาศัยและการเดินทาง เอื้ออำนวยความสะดวกที่อยู่อาศัย โดยจัดหอพักนักศึกษาในเขตมหาวิทยาลัยให้ แนะนำแหล่งที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและใกล้มหาวิทยาลัย
อาหาร ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารไทย อาหารที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย
การสื่อสาร ให้เรียนรายวิชา prerequisite: Thai for Everyday Life สำหรับนักศึกษาต่างชาติที่สนใจ ก่อนเปิดภาคการศึกษาแรกในแต่ละปีการศึกษา ๑ เดือน
การเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ จัดทำคู่มือนักศึกษา เกี่ยวกับแหล่งประโยชน์ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาต่างชาติ
 
๒.๕ แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ ๕ ปี
 
ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ๒๕๖๑
จำนวนที่คาดว่าจะรับ ๑๐ ๑๕ ๒๐ ๒๐ ๒๐
จำนวนสะสม - ๒๕ ๓๕ ๔๐ ๔๐
จำนวนที่คาดว่าจะจบ - ๑๐ ๑๕ ๒๐ ๒๐
 
๒.๖ งบประมาณตามแผน
 

     รายละเอียดการประมาณการค่าใช้จ่ายในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตร ๒ ปี สำหรับนักศึกษา ๑๐ คน
ประมาณการรายรับ

ค่าลงทะเบียน หน่วยกิต หน่วยละ รวม
ค่าหน่วยกิต ๒๖ ๙,๐๐๐ ๒๓๔,๐๐๐.๐๐
วิทยานิพนธ์ ๑๒ ๗๐๐ ๘,๔๐๐.๐๐
ค่าธรรมเนียมการศึกษาดูงาน (เหมาจ่าย) ๕๐,๐๐๐.๐๐
 
๒.๗ ระบบการศึกษา
     แบบชั้นเรียน และมีการผสมผสานกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์
 

๒.๘ การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชาและการลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย
     เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.grad.mahidol.ac.th

 
๓. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน
๓.๑ หลักสูตร
     ๓.๑.๑ จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๓๘ หน่วยกิต
     ๓.๑.๒ โครงสร้างหลักสูตร
          จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ หลักสูตรปริญญาโท แผน ก แบบ ก ๒ ดังนี้
 
(๑) หมวดวิชาแกน ๑๑ หน่วยกิต
(๒) หมวดวิชาบังคับ ๑๒ หน่วยกิต
(๓) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า หน่วยกิต
(๔) วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า ๓๘ หน่วยกิต

 

๓.๑.๓ รายวิชาในหลักสูตร
(๑) หมวดวิชาแกน ๑๑ หน่วยกิต
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
รมพย ๗๐๑ สถิติประยุกต์ในการวิจัยทางการพยาบาล
RANS 701 Applied Statistics in Nursing Research
๒ (๑-๒-๓)
รมพย ๗๐๒ มโนมติและทฤษฎีทางการพยาบาล
RANS 702 Concepts and Theories in Nursing
๒ (๒-๐-๔)
รมพย ๗๐๓ ประเด็นและแนวโน้มทางสุขภาวะประชาคมโลก
RANS 703 Issues and Trends in Global Health
๒ (๒-๐-๔)
รมพย ๗๐๔ วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาลและการนำไปใช้
RANS 704 Research Methodology in Nursing and Utilization
๓ (๓-๐-๖)
รมพย ๗๐๕ นโยบายสุขภาพและภาวะผู้นำ
RANS 705 Health Care Policy and Leadership
๒ (๒-๐-๔)
 
(๒) หมวดวิชาบังคับ ๑๒ หน่วยกิต
รมพย ๗๑๑ บูรณาการวิทยาศาสตร์สุขภาพทางการพยาบาล
RANS 711 Integrated Health Science in Nursing
๓ (๓-๐-๖)
รมพย ๗๑๒ การปฏิบัติการคลินิกในการพยาบาลขั้นสูง
RANS 712 Clinical Practicum in Advanced Nursing
๓ (๐-๑๒-๓)
รมพย ๗๑๓ การประเมินภาวะสุขภาพทางการพยาบาลขั้นสูง
RANS 713 Health Assessment in Advanced Nursing
๒ (๑-๒-๓)
รมพย ๗๑๔ การจัดการทางการพยาบาลในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพที่เลือกสรร ๑
RANS 714 Nursing Management in Patients with Selected Health Problems I
๒ (๒-๐-๔)
รมพย ๗๑๕ การจัดการทางการพยาบาลในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพที่เลือกสรร ๒
RANS 715 Nursing Management in Patients with Selected Health Problems II
๒ (๒-๐-๔)
 
(๓) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกิต
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
หมวดวิชาเลือก ประกอบด้วย กลุ่มวิชาเฉพาะและวิชาเลือกทั่วไป ดังนี้
กลุ่มวิชาเฉพาะการพยาบาลผู้ใหญ่
รมพย ๗๓๐ การพยาบาลผู้ใหญ่เจ็บป่วยวิกฤตและเรื้อรังขั้นสูง ๑
RANS 730 Advanced Adult Nursing in Critical and Chronic Illness I
๒ (๒-๐-๔)
รมพย ๗๓๑ การพยาบาลผู้ใหญ่เจ็บป่วยวิกฤตและเรื้อรังขั้นสูง ๒
RANS 731 Advanced Adult Nursing in Critical and Chronic Illness II
๒ (๒-๐-๔)
 
กลุ่มวิชาเฉพาะการพยาบาลเด็ก
รมพด ๕๐๑ การประเมินภาวะสุขภาพเด็กขั้นสูง
RAPN 501 Advanced Pediatric Health Assessment
๒ (๑-๒-๓)
รมพด ๕๑๓ การพยาบาลสุขภาพเด็กดีและกลุ่มเสี่ยง
RAPN 513 Child Health Nursing of Well Child and Risk Groups
๒ (๒-๐-๔)
รมพด ๕๑๔ การพยาบาลเด็กป่วยวิกฤตและเรื้อรัง
RAPN 514 Pediatric Critical and Chronic Care Nursing
๒ (๒-๐-๔)
 
กลุ่มวิชาเฉพาะการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
รมพช ๕๐๒ การรักษาพยาบาลปฐมภูมิ
RACN 502 Primary Medical Care
๒ (๒-๐-๔)
รมพช ๕๐๙ พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
RACN 509 Pathophysiology and Pharmacology for Community Nurse Practitioner
๓ (๓-๐-๖)
รมพช ๕๑๑ บูรณาการการพยาบาลครอบครัวและชุมชน
RACN 511 Integrated Nursing Care of Family and Community
๔ (๔-๐-๘)
รมพย ๗๒๓ การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
RANS 723 Home Health Care Nursing
๓ (๓-๐-๖)
 
นอกจากนี้ นักศึกษาสามารถเลือกรายวิชาเลือกตามความสนใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้
รมพย ๗๒๑ พฤติกรรมสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและการลดความเสี่ยง
RANS 721 Health Behavior, Health Promotion and Risk Reduction
๓ (๓-๐-๖)
รมพย ๗๒๒ ประเด็นทางการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
RANS 722 Issues in Cross Cultural Nursing
๓ (๓-๐-๖)
รมพย ๗๒๔ การเรียนการสอนทางการพยาบาล
RANS 724 Teaching Learning in Nursing
๓ (๓-๐-๖)
รมพย ๗๒๕ การพยาบาลฟื้นฟูสภาพ
RANS 725 Rehabilitation Nursing
๓ (๓-๐-๖)
รมพย ๗๒๖ การจัดการทางการพยาบาล
RANS 726 Nursing Management
๓ (๓-๐-๖)
รมพย ๗๒๗ การแพทย์ทางเลือกและการบำบัดเสริมทางการพยาบาล
RANS 727 Alternative Medicine and Complementary Therapy in Nursing
๓ (๓-๐-๖)
 
          นอกจากรายวิชาในหมวดวิชาเลือกดังกล่าวข้างต้น นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนได้จากรายวิชาที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และจากรายวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ตามความสนใจ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร นอกจากรายวิชาในหมวดวิชาเลือกดังกล่าวข้างต้น นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนได้จากรายวิชาที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และจากรายวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ตามความสนใจ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
 
(๔) วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต
รมพย ๖๙๘ วิทยานิพนธ์
RANS 698 Thesis
๑๒ (๐-๓๖-๐)
 
หมายเหตุ
วิชาที่จัดการเรียนการสอนแบบบรรยาย ๑ หน่วยกิต ใช้เวลา ๑ ชั่วโมง และใช้เวลาศึกษาด้วยตนเอง ๒ ชั่วโมง วิชาที่จัดการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการ ๑ หน่วยกิต ใช้เวลา ๒ ชั่วโมง และใช้เวลาศึกษาด้วยตนเอง ๑ ชั่วโมง วิชาปฏิบัติการที่จัดการเรียนการสอนในคลินิก ๑ หน่วยกิต ใช้เวลา ๔ ชั่วโมง และใช้เวลาศึกษาด้วยตนเอง ๑ ชั่วโมง วิทยานิพนธ์ ๑ หน่วยกิต ใช้เวลา ๓ ชั่วโมง และใช้เวลาศึกษาด้วยตนเอง ๑ ชั่วโมง