หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
Master of Nursing Science Program in Community Health Nurse Practitioner
(หลักสูตรภาคปกติ และภาคพิเศษ)
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552

ชื่อหลักสูตร

(ภาษาไทย) พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
(ภาษาอังกฤษ) Master of Nursing Science Program in Community Health Nurse Practitioner

ชื่อปริญญา
ชื่อภาษาไทย:
   ชื่อเต็ม : พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)
   ชื่อย่อ : พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)
ชื่อภาษาอังกฤษ:
   ชื่อเต็ม : Master of Nursing Science (Community Health Nurse Practitioner)
   ชื่อย่อ : M.N.S. (Community Health Nurse Practitioner)

หน่วยงานรับผิดชอบ

ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
      ปรัชญาของหลักสูตร
      หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน เป็นหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของบุคคล ครอบครัวและชุมชน ในทุกระยะของการพัฒนาการ มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถบูรณาการความรู้ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพของประชาชนให้ครอบคลุมทุกมิติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความเป็นนักวิชาการ และนักวิชาชีพการพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถในระดับสูง สามารถทำการวิจัย หรือประเมินผลการวิจัย เพื่อนำมาใช้พัฒนาคุณภาพการปฎิบัติงาน และมีจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ
      วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
      มหาบัณฑิตที่สำเร็จจากหลักสูตรนี้ จะมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และเจตคติดังต่อไปนี้
      ผู้สำเร็จการศึกษาในแผน ก แบบ ก (2)
      (1) ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง โดยบูรณาการความรู้จากแนวคิดทฤษฏีทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และการรักษาเบื้องต้น เพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวมแก่ผู้ใช้บริการในภาวะปกติ ภาวะเสี่ยง ภาวะเจ็บป่วย ภาวะฉุกเฉิน หรือภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ทั้งในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ที่บ้านและ/ หรือชุมชน
      (2) สามารถจัดทำโครงการการปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล ที่สอดคล้องตามหลักวิชาการและจริยธรรม
      (3) สามารถเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและทางการพยาบาลแก่ผู้ใช้บริการ
      (4) เป็นผู้นำด้านการพยาบาลในการวางแผนการบริการสุขภาพและนำไปปฏิบัติ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการบริการสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
      (5) ทำวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาล และนำผลการวิจัยมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ
      (6) ปฏิบัติการพยาบาลโดยคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางการพยาบาล
      ผู้สำเร็จการศึกษาในแผน ข      
       (1) ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง โดยบูรณาการความรู้จากแนวคิดทฤษฏีทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และการรักษาเบื้องต้น เพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวมแก่ผู้ใช้บริการในภาวะปกติ ภาวะเสี่ยง ภาวะเจ็บป่วย ภาวะฉุกเฉิน หรือภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ทั้งในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ที่บ้าน และ/ หรือชุมชน
      (2) สามารถจัดทำโครงการการปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล ที่สอดคล้องตามหลักวิชาการและจริยธรรม
      (3) สามารถเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและทางการพยาบาลแก่ผู้ใช้บริการ
      (4) เป็นผู้นำด้านการพยาบาลในการวางแผนการบริการสุขภาพและนำไปปฏิบัติ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการบริการสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
      (5) สามารถนำผลการวิจัยมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ
      (6) ปฏิบัติการพยาบาลโดยคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางการพยาบาล

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก (แบบ ก 2)
1 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาลและผดุงครรภ์) หรือพยาบาลศาสตรบัณฑิต หรือประกาศนียบัตรทางการพยาบาลเทียบเท่าปริญญาตรี
2 ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
3 ต้องมีประสบการณ์การทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยทำงานด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาล และ/หรือการบริหารการพยาบาล เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีเต็ม โดยนับถึงวันยื่นใบสมัคร
4 มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาขาการพยาบาลชั้น 1
5 ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ 7.1.2 และ หรือ ข้อ 7.1.3 อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัครเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ข
1 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาลและผดุงครรภ์) หรือพยาบาลศาสตรบัณฑิต หรือประกาศนียบัตรทางการพยาบาลเทียบเท่าปริญญาตรี
2 ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
3 มีประสบการณ์การทำงานในด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาล และ หรือ การบริหารการพยาบาลหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีอย่างน้อย 3 ปี โดยนับถึงวันยื่นใบสมัคร
4 มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาขาการพยาบาล ชั้น 1
5 ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ 7.2.2 และ หรือ ข้อ 7.2.3 อาจได้รับ การพิจารณาคัดเลือกให้สมัครเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

1 ใช้วิธีการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์
2 ความสมัครใจของผู้เข้าศึกษาในการเลือกแผน ก หรือ แผน ข
3 การพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าศึกษาขั้นสุดท้ายให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ระบบการศึกษา

1 ใช้ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิตทวิภาค
2 การคิดจำนวนหน่วยกิต
รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
รายวิชาภาคปฏิบัติในห้องทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
รายวิชาภาคปฏิบัติในคลินิกที่ใช้เวลาฝึกในคลินิกหรือภาคสนามไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
รายวิชาการศึกษาอิสระ ที่ใช้เวลาการศึกษาค้นคว้าไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ที่ใช้เวลาการศึกษาค้นคว้าไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต

ระยะเวลาการศึกษา

ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 5 ปีการศึกษา

การลงทะเบียนเรียน

ภาคปกติ
1 นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนแบบเต็มเวลา (full time)
2 จำนวนหน่วยกิตในการลงทะเบียนเรียน ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 15 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ สำหรับภาคฤดูร้อนให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 6 หน่วยกิต หรือตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา
11.2 ภาคพิเศษ แผน ข
1 นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนแบบไม่เต็มเวลา (part time)
2 จำนวนหน่วยกิตในการลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 12 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ สำหรับภาคฤดูร้อนให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 6 หน่วยกิต หรือตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

1 การวัดผล
      การวัดผลเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ดูรายละเอียดข้อบังคับฯ ได้จาก www.grad.mahidol.ac.th)
2 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
      แผน ก แบบ ก (2)
      (1) ต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ตามโครงสร้างของหลักสูตร คือ ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 34 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต รวมจำนวนหน่วยกิตที่ต้องศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 46 หน่วยกิต โดยต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
      (2) ต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
      (3) ต้องเสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านปากเปล่าขั้นสุดท้าย ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
      (4) ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceeding) ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย
      แผน ข
      (1) ต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ตามโครงสร้างของหลักสูตร คือ ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 40 หน่วยกิต และทำสารนิพนธ์ 6 หน่วยกิต รวมจำนวนหน่วยกิตที่ต้องศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 46 หน่วยกิต โดยต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
      (2) ต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
      (3) ต้องสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
      (4) ต้องเสนอสารนิพนธ์ และสอบผ่านปากเปล่าขั้นสุดท้าย ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

รายวิชาในหลักสูตร

หมวดวิชาแกน 15  หน่วยกิต

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติการทดลอง/ปฏิบัติในคลินิก-ศึกษาด้วยตนเอง)
รมพย 600
RANS 600
ระเบียบวิธีวิจัยและการใช้ผลการวิจัย
Research Methodology and Research Utilization
3(3-0-6)
รมพย 603
RANS 603
สถิติ
Statistics
2(1-2-3)
รมพย 639
RANS 639
พยาธิสรีรวิทยา
Pathophysiology
2(2-0-4)
รมพย 640
RANS 640
เภสัชวิทยา
Pharmacology
2(2-0-4)
รมพย 662
RANS 662
มูลฐานทางทฤษฎีในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง
Theoretical Foundation in Advanced Nursing Practice
2(2-0-4)
รมพย 663
RANS 663
นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล
Health Policy and Nursing Leadership
2(2-0-4)
รมพย 664
RANS 664
แนวคิดการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง
Concept of Advanced Nursing Practice
1(1-0-2)
รมพย 665
RANS 665
การประเมินสุขภาพขั้นสูง
Advanced Health Assessment
2(1-2-3)

หมวดวิชาบังคับ
ก. สำหรับแผน ก แบบ ก (2)
หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติการทดลอง/ปฏิบัติในคลินิก-ศึกษาด้วยตนเอง)
รมพช 501
RACN 501
การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
Health Promotion and Disease Prevention
2(2-0-4)
รมพช 502
RACN 502
การรักษาพยาบาลปฐมภูมิ
Primary Medical Care
3(3-0-6)
รมพช 503
RACN 503
การพยาบาลครอบครัวและชุมชน
Care of Family and Community
2(2-0-4)
รมพช 504
RACN 504
การพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง
Nursing Care of Patients with Chronic Illness
2(2-0-4)
รมพช 505
RACN 505
ปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน 1
Practicum for Community Health Nurse Practitioner I
3(0-12-3)
รมพช 506
RACN 506
ปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ๒
Practicum for Community Health Nurse Practitioner II
3(0-12-3)

ข. สำหรับแผน ข

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติการทดลอง/ปฏิบัติในคลินิก-ศึกษาด้วยตนเอง)
รมพช 501
RACN 501
การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
Health Promotion and Disease Prevention
2(2-0-4)
รมพช 502
RACN 502
การรักษาพยาบาลปฐมภูมิ
Primary Medical Care
3(3-0-6)
รมพช 503
RACN 503
การพยาบาลครอบครัวและชุมชน
Nursing Care of Family and Community
2(2-0-4)
รมพช 504
RACN 504
การพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง
Nursing Care of Patients with Chronic Illness
2(2-0-4)
รมพช 505
RACN 505
ปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน 1
Practicum for Community Health Nurse Practitioner I
3(0-12-3)
รมพช 506
RACN 506
ปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน 2
Practicum for Community Health Nurse Practitioner II
3(0-12-3)
รมพช 507
RACN 507
ปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ๓
Practicum for Community Health Nurse Practitioner III
3(0-12-3)
รมพช 508
RACN 508
สัมมนาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
Seminar in Community Health Nurse Practitioner
3(3-0-6)

หมวดวิชาเลือก

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติการทดลอง/ปฏิบัติในคลินิก-ศึกษาด้วยตนเอง)
รมพย 541
RANS 541
การพยาบาลบาดแผลขั้นสูง
Advanced Wound Care Nursing
3(2-4-5)
รมพย 561
RANS 561
การแพทย์ทางเลือกและการบำบัดเสริมทางการพยาบาล
Alternative Medicine and Complementary Therapy in Nursing
3(3-0-6)
รมพย 562
RANS 562
แนวคิดการพยาบาลดูแลสุขภาพที่บ้าน
Concept of Home Health Care Nursing
3(3-0-6)
รมพย 563
RANS 563
โภชนาการเพื่อสุขภาพ
Nutrition for Health
3(3-0-6)
รมพย 564
RANS 564
การสอนในคลินิก
Teaching in Clinical Setting
3(2-4-5)
รมพย 571
RANS 571
การจัดการและการประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
Management and Assessment of Nursing Outcome
3(3-0-6)
รมพย 681
RANS 681
การบริหารทางการพยาบาล
Nursing Administration
3(2-4-5)
รมพย 688
RANS 688
เทคโนโลยีและการจัดการสารสนเทศทางการพยาบาล
Technology and Management in Nursing Information
3(2-2-5)

          นอกจากรายวิชาในหมวดวิชาเลือกข้างต้นแล้ว นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนได้จากรายวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล หรือจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ตามความสนใจ และตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรืออาจารย์ที่ปรึกษาเห็นสมควร

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติการทดลอง/ปฏิบัติในคลินิก-ศึกษาด้วยตนเอง)
วิทยานิพนธ์ สำหรับแผน ก (แบบ ก 2)  
รมพย 698
RANS 698
วิทยานิพนธ์
Thesis
12(0-36-0)

สารนิพนธ์ (สำหรับแผน ข)

รมพย 697
RANS 697
สารนิพนธ์
Thematic Paper
6(0-18-0)