ห้องปฏิบัติการวินิจฉัยโรคเลือด

 

บุคลากรภายในหน่วย :

 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์การันต์ ไพสุขศานติวัฒนา
หัวหน้าห้องปฏิบัติการวินิจฉัยโรคเลือด

 

  สุรวีร์ สร้อยโมรา
นักเทคนิคการแพทย์
(รองหัวหน้าห้องปฏิบัติการวินิจฉัยโรคเลือด)
 
 

สุวิมล ศิริวรเดชกุล
นักเทคนิคการแพทย์

วลัยพร ยิ้มเนียม
นักเทคนิคการแพทย์

อมลรดา คงยศ
นักเทคนิคการแพทย์
ศรอนงค์  วิจิตรประชา
นักเทคนิคการแพทย์
สุภารัตน์  ชายเกตุ
นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
  ณัฎฐพร บัวรอด
นักเทคนิคการแพทย์
บุญมี  เกตุแก้ว
พนักงานประจำห้องทดลอง ระดับ 1
   

 

ห้องปฏิบัติการศูนย์วินิจฉัยโรคเลือด
     หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้เปิดให้บริการในการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย (thalassemia) ครอบคลุมทั้งการตรวจกรองโรคธาลัสซีเมียเบื้องต้น การตรวจชนิดและปริมาณของฮีโมโกลบินและการตรวจความผิดปกติระดับยีน มีทั้งการทดสอบเดี่ยวและแบบเป็นชุดการทดสอบซึ่งรวมการทดสอบหลายขั้นตอนไว้ในชุดเดียวกัน เป็นการลดระยะเวลาในการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย

การตรวจธาลัสซีเมียทางห้องปฏิบัติการ
     เนื่องจากคนไทยเป็นพาหะของยีนธาลัสซีเมียจำนวนมากซึ่งมีโอกาสถ่ายทอดยีนเหล่านี้ไปสู่ลูกหลานและอาจทำให้เกิดโรคธาลัสซีเมียได้ วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันการเกิดโรคธาลัสซีเมียในรุ่นลูกของเราโดยการตรวจเลือดว่ามีความเสี่ยงที่จะมียีนธาลัสซีเมียหรือไม่ก่อนที่จะแต่งงานหรือมีลูก ทั้งนี้การตรวจทำได้โดยการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำที่แขนเพียง 2-3 มิลลิลิตรเท่านั้นแล้วนำส่งห้องปฏิบัติการและให้คำแนะนำปรึกษาต่อไป

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย
    1. การตรวจกรองโรคธาลัสซีเมียเบื้องต้น (ไม่จำเพาะกับโรคต้องมีการตรวจเพื่อยืนยันอีก
ได้แก่การตรวจ DCIP, OF, RBC parameters

    2. การตรวจชนิดและปริมาณของฮีโมโกลบิน (จะตรวจพบโรคธาลัสซีเมียบางชนิด)
        ได้แก่การตรวจ Hemoglobin typing ด้วยเทคนิค HPLC และ CE
         - เทคนิค High performance liquid chromatography (HPLC)

         - เทคนิค Capillary electrophoresis (CE)

3. การตรวจความผิดปกติของยีนโดยตรงซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่ใช้ยืนยันว่ามียีนธาลัสซีเมียหรือไม่ จะบอกได้ทั้งกรณีเป็นโรคหรือมียีนแฝง ด้วยเทคนิค PCR

 

หมายเหตุ : 1. กรณีเร่งด่วนให้ติดต่อห้องปฏิบัติการศูนย์วินิจฉัยโรคเลือดเป็นกรณีไป โทรศัพท์ 02-2011076, 02-2011445
              2. สิ่งส่งตรวจ EDTA blood 2-3 ml. อุณหภูมิการเก็บรักษาสิ่งส่งตรวจ 2-8C

การรับผลการตรวจ
    1. กรณีที่ส่งผ่านห้องเจาะเลือดพิเศษชั้น 4 (PATH 4) สามารถรับผลได้ที่ห้องเจาะเลือดพิเศษชั้น 4 ในวันและเวลาราชการ
    2. ผู้ป่วยในและคลินิกพิเศษสามารถดูการรายงานผลและพิมพ์ผลการทดสอบทุกการทดสอบของศูนย์วินิจฉัยโรคเลือดได้ โดยเรียกดูจากคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบ LAN ของโรงพยาบาลได้และนอกจากนี้สามารถตามผลได้ที่ห้อง LIS ของภาควิชาพยาธิวิทยา ทั้งในและนอกเวลาราชการ

การติดต่อห้องปฏิบัติการศูนย์วินิจฉัยโรคเลือด
    หมายเลขโทรศัพท์ : 02-2011076, 02-2011445
    วันเวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ 8.30 – 18.30 น.

สถานที่ส่งสิ่งส่งตรวจ
    - ห้อง LIS อาคาร 1 ชั้น 3 ภาควิชาพยาธิวิทยา หมายเลขโทรศัพท์ 02-2012176
    - ห้องเจาะเลือดพิเศษชั้น 4 (PATH 4) อาคาร 1 ชั้น 4 ภาควิชาพยาธิวิทยา หมายเลขโทรศัพท์ 02-2011421

ข้อมูลการให้บริการ 

ตารางการทดสอบศูนย์วินิจฉัยโรคเลือด