ห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อ (HLA)

 

รองศาสตราจารย์ ดร.แพทย์หญิงดวงตะวัน  ธรรมาณิชานนท์
หัวหน้าห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อ (HLA)

 

  วิภานันท์  วิษณุวัตร
นักเทคนิคการแพทย์
หัวหน้าห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อ (HLA)
 
ชญานี  ปิ่นทอง
นักเทคนิคการแพทย์
นรีรุ่ง  ประกายธรรม
นักเทคนิคการแพทย์
วัลชุลี  ปลองภัย
นักเทคนิคการแพทย์
พนิดา จันทราอุกฤษฎ์
นักเทคนิคการแพทย์
กันทิชา เพียวสามพราน
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
ศุกัญญา ไวสุ
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
แสงเดือน กุหลาบ
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์
พรสุดา ผูกพันธ์
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์
สมบุญ ทวีศรี
พนักงานทั่วไป ระดับ 1
   

        การส่งตรวจ HLA antibody

สั่งตรวจทาง on line และให้ส่ง Clotted blood ของผู้ป่วย 3 - 5 ml มายังห้องปฏิบิติการตรวจเนื้อเยื่อ  การทดสอบนี้ใช้เวลา 3 วัน รายงานผลเป็นบวกหรือลบ  ในกรณีรีบด่วน ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อเป็นราย ๆ ไป

        การตรวจเนื้อเยื่อสำหรับ Related Bone Marrow Transplantation
        ห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อมีบริการการตรวจเนื้อเยื่อให้แก่ผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาโดยการปลูกถ่ายไขกระดูกหรือเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell)  ที่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันเป็นผู้บริจาคไขกระดูกให้  โดยจะทำการตรวจเฉพาะ วันจันทร์ และวันอังคาร มีขั้นตอนดังนี้

 

          1. แพทย์หรือพยาบาลที่รับผิดชอบจะเป็นผู้โทรศัพท์นัดหมายวันตรวจเนื้อเยื่อให้กับผู้ป่วยและผู้บริจาคไขกระดูก
          2. ผู้ป่วยและผู้บริจาคไขกระดูกหรือเซลล์ต้นกำเนิด นำใบสั่งตรวจมายังห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อ
              พร้อมกันเวลา 08.30 น.เพื่อรับการเจาะเลือดตรวจ (ถ้ามาสายเกิน 09.00 น. อาจต้องมีการเลื่อนนัดใหม่)
          3. เตรียมบัตรโรงพยาบาลและบัตรประชาชนทั้งของผู้ป่วยและผู้บริจาคมาด้วยในวันเจาะเลือดตรวจเนื้อเยื่อ
          4. ชำระเงินค่าตรวจแล้วนำใบเสร็จกลับมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจตรวจเนื้อเยื่อ
          5. เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อจะแจ้งเบอร์โทรศัพท์ของห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อแก่ผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสอบถามผลการตรวจขั้นตอนที่ 1 ว่าผ่านหรือไม่ในวันถัดไป ถ้าผ่านจะต้องทำการตรวจเพิ่มในขั้นตอนที่ 2 (เป็นการตรวจ HLA
              Class II) ซึ่งจะต้องมีการชำระเงินค่าตรวจเพิ่มอีก (ถ้าไม่ผ่านขั้นตอนที่ 1 จะไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม)  โดยผู้ป่วยหรือญาติมาติดต่อที่ห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อ เพื่อขอรับใบสั่งตรวจเพิ่มและไปชำระเงินสำหรับการตรวจ HLA Class II
          6. การรับผลการตรวจ
              ทางห้องปฏิบัติการจะดำเนินการตรวจขั้นตอนที่ 2 ต่อ ภายหลังจากที่ผู้ป่วยได้มาดำเนินการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นหลังจากชำระเงินขั้นตอนที่ 2 ไปอีก 2 อาทิตย์ ผู้ป่วยสามารถมารับผลการตรวจได้ที่ห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อ
              สำหรับผู้ที่ตรวจเฉพาะขั้นตอนที่ 1 แล้วไม่ผ่าน ให้รับผลได้ภายหลังจากที่เจาะเลือดตรวจแล้ว 1 อาทิตย์

 

        การตรวจเนื้อเยื่อสำหรับ Unrelated Bone Marrow Transplantation
    
    ห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อมีบริการการตรวจเนื้อเยื่อให้แก่ผู้ป่วยที่ต้องการรับการรักษาโดยการปลูกถ่ายไขกระดูกหรือเซลล์ต้นกำเนิดที่ไม่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือมี แต่ผลการตรวจเนื้อเยื่อไม่ตรงกันผู้ป่วย จำเป็นต้องขอรับบริจาคจากผู้บริจาคที่ไม่ใช่ญาติพี่น้อง โดยจะทำการเจาะเลือดตรวจได้ในวันจันทร์ - วันศุกร์(เว้นวันหยุดราชการ) ระหว่างเวลา 08.30 - 10.00 น.

        ในกรณีนี้ต้องมีบิดาและมารดาของผู้ป่วยมาตรวจพร้อมกันกับผู้ป่วยด้วย เพื่อต้องการให้ได้ผลการตรวจครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุด

        การตรวจเนื้อเยื่อสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต
    
    ห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อให้บริการตรวจเนื้อเยื่อให้แก่ผู้ป่วยที่ต้องการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต  โดยผู้บริจาคต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับผู้ป่วย เช่น บิดา มารดา บุตรธิดา ลุง ป้า น้า อา และหลาน ซึ่งปกติจะทำการตรวจเฉพาะวันพุธและวันพฤหัสบดี มีขั้นตอนดังนี้

        1. แพทย์เป็นผู้เขียนใบสั่งตรวจเนื้อเยื่อให้กับผู้ป่วยและผู้บริจาคไต (ผู้บริจาคไตต้องผ่านขั้นตอนในการตรวจหมู่โลหิต ABO และตรวจสุขภาพมาแล้ว)
        2. ผู้ป่วยและผู้บริจาคไตนำใบสั่งตรวจจากแพทย์มายังห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อในเวลาราชการ  เพื่อซักประวัติและนัดหมายวัน  ตรวจเนื้อเยื่อให้กับผู้ป่วยและผู้บริจาคไตพร้อมกัน  วันที่นัดเจาะเลือดตรวจจะต้องนัดก่อนวันล้างไต  เพื่อให้ได้ผลภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อที่ถูกต้องแม่นยำมากที่สุด
        3. เตรียมบัตรโรงพยาบาลและบัตรประจำตัวประชาชนทั้งของผู้ป่วยและผู้บริจาคไตมาด้วย ในวันที่มารับการเจาะเลือดตรวจ เนื้อเยื่อพร้อมกันที่ห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อ เวลา 08.30 - 09.00 น. (ถ้ามาสายเกิน 09.00 น. อาจต้องมีการเลื่อนนัดใหม่)
        4. เจ้าหน้าที่ห้องตรวจเนื้อเยื่อจะเป็นผู้เจาะเลือดผู้ป่วยและผู้บริจาคไตโดยเจาะเลือดประมาณ 50 ซีซี สำหรับการตรวจเนื้อเยื่อตาม  รายการดังนี้
 
            รายการที่ต้องทำการตรวจเพื่อการปลูกถ่ายไต
 
ผู้ป่วย  :  หมู่เลือด ABO, HLA-AB, DNA Typing (รหัส 500001), HLA-DRB, DQB DNA 
                            Typing (รหัส 500002), Autoantibody (การตรวจภูมิต้านทานต่อตัวเอง, รหัส 500003)
                            HLA Antibody screening (ภูมิต้านทานต่อเม็ดเลือดขาว, รหัส 500006) กรณี HLA  antibody  เป็นบวกต้องตรวจ PRA class I (รหัส 500007) และ/หรือ PRA class II  (รหัส 500008)
                    ผู้บริจาคไต   :  หมู่เลือด ABO, HLA-ABDR (รหัส 500001 และ 500002), lymphocyte crossmatch 
                            (ทดสอบความเข้ากันได้กับผู้ป่วย, รหัส 500004)
 
        5.ชำระเงินค่าตรวจแล้วนำใบเสร็จมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อ
 

 

        การให้บริการการตรวจเนื้อเยื่อสำหรับผู้บริจาคที่ต้องการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้วจากสภากาชาดไทย
        มีขั้นตอนเหมือนกับผู้ป่วยที่มีผู้บริจาคยังมีชีวิตอยู่  ยกเว้นไม่ต้องตรวจเนื้อเยื่อและความเข้ากันได้ของ  ผู้บริจาคที่มีชีวิต และผู้ป่วยไม่ต้องมารับผลการตรวจเนื้อเยื่อด้วยตัวเอง  ห้องตรวจเนื้อเยื่อจะประสานงานกับห้องโครงการปลูกถ่ายอวัยวะของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีจะส่งเจ้าหน้าที่มารับผลแทน และเป็นผู้รับผิดชอบในการส่งผลการตรวจเนื้อเยื่อไปเข้าคิวรอไตผู้บริจาคที่สภากาชาดไทยต่อไป
 
        การตรวจ HLA ที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ (disease association)
        สามารถส่งตรวจได้ โดยโทรศัพท์ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อขอรายละเอียดการนำส่งตัวอย่าง