ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา

ตำแหน่งสถานที่ : อาคาร 1 ชั้น 3 ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

หมายเลขโทรศัพท์ : 02-201-1389, 02-201-1399

วันและเวลาทำการ : เปิดให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
การให้บริการนอกเวลาราชการ : ให้บริการทุกรายการทดสอบ ยกเว้น การหาค่า MIC, MBC, SIT และ SBT

บุคลากรภายในหน่วย :

รองศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์  สันตนิรันดร์
หัวหน้าห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา

 

รองศาสตราจารย์ พูนพิลาส หงษ์มณี
อาจารย์
   
  กรณิการ์  วงค์นาค
นักเทคนิคการแพทย์
(รองหัวหน้าห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา)
 
ทวินันท์ จาดเจน
นักเทคนิคการแพทย์ (ชำนาญการ)
พรพิศ  อ่อนแผ้ว
นักวิทยาศาสตร์ (ผู้ชำนาญการ)
ดร.วราวุฒิ  เลาเลิศ
นักเทคนิคการแพทย์
ศักดิ์ดา  กริชกำจร
นักเทคนิคการแพทย์
ณรงค์  ไชยหงษา
นักเทคนิคการแพทย์
เนติลักษณ์ ตันมวุทธ
นักเทคนิคการแพทย์

สุดาลักษ์ โทแก้ว
นักเทคนิคการแพทย์

จักรกฤษณ์ คำภากุล
นักเทคนิคการแพทย์

สหรัช มนต์ไกรเวศย์
นักเทคนิคการแพทย์

สมคิด รัตนมโน
นักเทคนิคการแพทย์

สุวิจักขณ์ เจียรนัยเจริญ
นักเทคนิคการแพทย์
ธิตยา  เชี่ยวสุทธิ
นักเทคนิคการแพทย์
อานนท์ วงวร
นักเทคนิคการแพทย์
ภานุวัฒน์ เสถียรพิทยากุล
นักเทคนิคการแพทย์
สัภยา  คำประโคน
นักเทคนิคการแพทย์
ปุริม  แสงทอง
นักเทคนิคการแพทย์
อภิสิทธิ์  สุพันโท
นักเทคนิคการแพทย์
วีระพันธ์ รักช้าง
นักเทคนิคการแพทย์
ชลวิภา  ผิวผ่อง
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์การแพทย์

บุญทิวา อำนาจโชติพานิชกุล
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์การแพทย์

พรนภา จันทรง
ผู้ปฏิบัติงานบริหาร

นิตยา  โรจนบุรานนท์
ผู้ปฏิบัติงานบริหาร

ภูษิต  จูฑะพุทธิ
พนักงานบริการ

ลำยวง  บึกสันเทียะ
พนักงานบริการ

สมคิด  กอยากลาง
พนักงานบริการ
สุรันต์  จันทอง
พนักงานบริการ
ไพโรจน์ ไทยพิทักษ์
พนักงานทั่วไป ระดับ 1
สมเจตน์ ทิพกรณ์
พนักงานบริการ

ขอบเขตของงาน :

     ให้บริการตรวจพิสูจน์ทางจุลชีววิทยา ซึ่งประกอบด้วยการย้อมและเลี้ยงแบคทีเรียทั้งชนิด Aerobes, anaerobes, mycobacteria และเชื้อรา รวมทั้งการทดสอบความไวของแบคทีเรียต่อสารต้านจุลชีพ การตรวจหา Minimum Inhibitory Concentration (MIC), Minimum Bactericidal Concentration (MBC), Serum Inhibitory Titer (SIT), Serum Bactericidal Titer (SBT)

ข้อปฏิบัติและข้อควรระวังในการเก็บสิ่งส่งตรวจ
ตารางรายการทดสอบ

การเขียนใบส่งตรวจ :

     ใช้แบบฟอร์ม S-11-06 ของหน่วยจุลชีววิทยา
2.1 ใบส่งตรวจหนึ่งใบใช้สำหรับการตรวจหนึ่งชนิดเท่านั้น
2.2 กรอกรายละเอียดในใบส่งตรวจ ให้ครบถ้วน และชัดเจน (ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน หรือไม่ชัดเจน จะมีผล
ต่อความถูกต้องและรวดเร็วของผลการทดสอบ รวมถึงอาจมีผลต่อการพิจารณาปฏิเสธสิ่งส่งตรวจดังกล่าว)
2.3 หากมีความต้องการที่จะให้เพาะเชื้อดังต่อไปนี้ ให้ติดต่อล่วงหน้ามายังห้องปฏิบัติการ เพื่อเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสม
            -  Bordetella pertussis
            -  Brucella species
            -  Corynebacterium diphtheriae
            -  Helicobacter pylori
            -  สำหรับการตรวจหา Neisseria gonorrhoeae จากตำแหน่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ระบบสืบพันธุ์ และตา
                  ให้ระบุในใบส่งตรวจด้วย   
2.4 ในกรณีที่สิ่งส่งตรวจมาจากผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือมีการระบาดได้ง่าย ควรแจ้งให้ทางห้องปฏิบัติการทราบล่วงหน้า และติดเครื่องหมาย “Biohazard” บนภาชนะและใบส่งตรวจ บรรจุหลอดหรือขวดที่ใส่สิ่งส่งตรวจในถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง แยกใบส่งตรวจไว้นอกถุง ห้ามใช้ Staple เย็บถุง ควรใช้ถุงที่สามารถปิดได้ในตัว หรือรัดด้วยยางรัด ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของบุคลากร

ข้อบ่งชี้ในการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ :

1. การย้อมสี  ใช้ในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อเบื้องต้นก่อนที่จะได้ผลการเพาะเชื้อ  การย้อมสีจะย้อมติดเชื้อทั้งที่มีและไม่มีชีวิต โดยจะรายงานการติดเชื้อ ลักษณะและการเรียงตัวของแบคทีเรียที่พบ
 

1.1   การย้อมแกรม  ใช้วินิจฉัยการติดเชื้อแบคทีเรียทั้งชนิดแอโรบส์และแอนแอโรบส์ โดย    รายงานการติดสีแกรม ลักษณะและการเรียงตัวของแบคทีเรียที่พบ
1.2   การย้อม AFB  ใช้วินิจฉัยการติดเชื้อ Mycobacterium ไม่สามารถแยกชนิด (Species) ของ Mycobacterium ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยติดเชื้อ Nocardia ควรสั่งย้อม modified AFB หรือบ่งว่าสงสัย Nocardia เพื่อห้องปฏิบัติการจะได้ดำเนินการให้เหมาะสม
1.3   Indian ink preparation  ใช้วินิจฉัยการติดเชื้อ Cryptococcus neoformans ในผู้ป่วยที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
1.4   KOH preparation  ใช้วินิจฉัยการติดเชื้อราที่ผิวหนัง เล็บ หรือเส้นผม
      ข้อจำกัดการย้อมสี
      ก. ไม่สามารถย้อมสิ่งตรวจที่เก็บในรูป swab และใส่ใน transport medium
      ข. สิ่งตรวจที่เชื้อน้อยกว่า 105 ตัว/มล.  จะตรวจไม่พบเชื้อหรือพบได้ยาก
      ค. ไม่สามารถใช้ในการวินิจฉัยเชื้อก่อโรคที่มีการติดสี รูปร่าง เหมือน normal flora ที่อยู่ใน  สิ่งตรวจเดียวกัน เช่น การวินิจฉัย Salmonella และ Shigella ในอุจจาระ เป็นต้น
 

2. การเพาะเชื้อ  ใช้วินิจฉัยเชื้อที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รายงานผลเป็น Genus และ Species ของเชื้อสำหรับแบคทีเรียที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นเชื้อก่อโรคจะทำการทดสอบความไวต่อสารต้านจุลชีพด้วย
     การเพาะเชื้อที่มีให้บริการคือ
     

 2.1    การเพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดแอโรบส์
 2.2     การเพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดแอนแอโรบส์
 2.3     การเพาะเชื้อ Mycobacterium 
 2.4     การเพาะเชื้อราทั้งชนิด yeast และ mold
      ข้อจำกัดของการเพาะเชื้อ และข้อพึงปฏิบัติ
      ก.  สิ่งตรวจต้องเก็บด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ และใส่ในภาชนะปราศจากเชื้อ
      ข.  เชื้อที่มีชีวิตเท่านั้นจึงจะเพาะขึ้นได้
      ค.  ต้องบ่งชนิดและตำแหน่งของสิ่งตรวจให้ชัดเจนเพราะจำเป็นต่อการเลือกใช้อาหารเลี้ยงเชื้อและภาชนะ 
 เลี้ยงเชื้อที่เหมาะสม
      ง.  ในกรณีที่สงสัยเชื้อใดเป็นพิเศษควรระบุด้วย เพื่อเลือกใช้อาหารและวิธีการเพาะเชื้อได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
 

3. การทดสอบความไวของแบคทีเรียต่อสารต้านจุลชีพ  ห้องปฏิบัติการจะทำการทดสอบความไวกับแบคทีเรียที่น่าจะเป็นสาเหตุของการติดเชื้อดังนี้
 

3.1   แบคทีเรียที่แยกได้จากเลือดและสิ่งตรวจที่มาจากตำแหน่งที่ไม่มีเชื้อประจำถิ่นทุกตัว
3.2   แบคทีเรียที่แยกจากปัสสาวะที่เก็บแบบ mid stream urine ที่มีจำนวน ³ 105 CFU/ml และพบเชื้อ
       ไม่เกิน 2 ชนิดในตัวอย่างเดียวกัน
3.3   แบคทีเรียที่แยกได้จากระบบทางเดินหายใจ
       ก. throat swab จะทดสอบความไวกับเชื้อ b-hemolytic Streptococcus ที่พบในจำนวน ตั้งแต่ moderate ขึ้นไป
       ข. สิ่งตรวจอื่น ๆ จะทดสอบความไวกับเชื้อก่อโรคที่พบไม่เกิน 2 ชนิด  ในสิ่งตรวจเดียวกัน
3.4     จาก genital tract จะทำการทดสอบความไวของเชื้อ Neisseria gonorrhoeae เชื้อ Listeria monocytogenes และ Staphylococcus aureus
3.5     Rectal swab หรืออุจจาระ  ทำการทดสอบความไวกับเชื้อ Edwardsiella tarda, Pleisiomonas shigelloides, Aeromonas species, Salmonella species, Shigella species, Vibrio species และ Enteropathogenic E. coli   ที่แยกได้จากผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน
 

4. การทดสอบความไวของเชื้อวัณโรคต่อสารต้านจุลชีพ โดยแบ่งเชื้อวัณโรคและสารต้านจุลชีพที่ใช้ทดสอบเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
 

4.1 เชื้อวัณโรคที่เป็น Slow grower เช่น M. tuberculosis, M. avium complex เป็นต้น จะทำการทดสอบความไวต่อยา isoniacid, rifampin, ethambutol, PAS, streptomycin และ ofloxacin
4.2 เชื้อวัณโรคที่เป็น Rapid grower เช่น M. fortuitum, M. chelonae เป็นต้น จะทำการทดสอบความไวต่อยาที่ใช้กับเชื้อแบคทีเรียทั่วไป
 

5. การหาค่า Minimum Inhibitory Concentration (MIC) และ Minimum Bactericidal Concentration (MBC) เป็นการวัดความสามารถของสารต้านจุลชีพ ในการยับยั้ง หรือทำลายแบคทีเรีย ใช้ในกรณีของผู้ป่วยติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง เช่น septicemia, infective endocarditis และ meningitis เป็นต้น หรือใช้ในกรณีของเชื้อที่มีแผนความไวไม่แน่นอน และ/หรือ ดื้อสารต้านจุลชีพได้ง่ายหรือในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยสารต้านจุลชีพที่รายงานว่าไวแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
6. การหาค่า Serum Inhibitory Titer (SIT) และ Serum Bactericidal Titer (SBT) เป็นการวัดผลรวมของฤทธิ์ของสารต้านจุลชีพในเลือดหรือ fluid อื่นกับสารที่มีอยู่แล้วในร่างกายว่าสามารถยับยั้งหรือทำลายแบคทีเรียได้มากน้อยเพียงใด โดยวัดเป็นการเจือจางมากที่สุด (titer) ที่สามารถยับยั้งหรือทำลายเชื้อ โดย
วัดเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่มีสารต้านจุลชีพในสิ่งตรวจมากที่สุด (peak) และน้อยที่สุด (trough) ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะ compromised host และต้องให้สารต้านจุลชีพเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วย endocarditis มะเร็ง มีการติดเชื้อของกระดูกซึ่งจำเป็นต้องปรับจำนวนและระยะเวลาของสารต้านจุลชีพที่ให้ในผู้ป่วยดังกล่าวข้างต้น พบว่าถ้าสารต้านจุลชีพที่ให้ มีค่า SBT ที่ trough ³ 1:8 ผู้ป่วยจะหายจากการติดเชื้อประมาณ 80%