ประวัติความเป็นมา

 

การจัดตั้งภาควิชาฯ

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ถูกจัดตั้งขึ้น พร้อมกับการก่อตั้ง คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ณ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา ทางภาควิชาฯยังคง ยึดหลักการปฏิบัติ ตามแนวความคิด ทางปรัชญา ของ ภาควิชาพยาธิวิทยา ที่เป็นพื้นฐาน ของการจัดตั้งภาควิชาได้กำหนดไว้เป็น 3 แนวทางคือ

  1. วิชาพยาธิวิทยาที่เป็นศาสตร์เกี่ยวข้องกับ พยาธิสถาพ และพยาธิกำเนิดของ โรคภัยไข้เจ็บ (Pathology และ Patholo genesis)
  2. วิชาพยาธิวิทยาที่เป็นศาสตร์ เกี่ยวข้องกับ ความผิดปกติ ของระบบ ชีววิทยาจาก ระดับโมเลกุล เซลล์อวัยวะ ได้แก่ วิชา Experimental Pathology หรือเรียกให้ตรงว่า Pathobiology
  3. วิชาพยาธิวิทยาที่ว่า ด้วยศาสตร์ของ การวินิจฉัยโรค (Clinical Pathology) การบริหาร

นอกจากนี้ภาควิชาพยาธิวิทยายังมีหัวหน้าภาควิชาฯจากอดีตจนถึงปัจจุบันตามลำดับ 7 ท่าน ดังนี้

1.ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ. ณัฐ ภมรประวัติ (หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๒๒)

2.ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.วิจิตร บุญพรรคนาวิก (หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๓๔)

3.ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เบญจะ เพชรคล้าย (หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา พ.ศ.๒๕๓๔-๒๕๓๘)

4.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ไพศาล ลีละชัยกุล (หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๔๒)

5.ศาสตราจารย์ นพ.วรชัย ศิริกุลชยานนท์ (หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา พ.ศ.๒๕๔๒-๒๕๕๐)

6.รองศาสตราจารย์ นพ.มานะ โรจนวุฒนนท์ (หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔)

7.รองศาสตราจารย์ พญ.ศันสนีย์ วงศ์ไวศยวรรณ (หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๖๒)

8.รองศาสตราจารย์ นพ.มงคล คุณากร (หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา พ.ศ.๒๕๖๒-ปัจจุบัน)

การบริหารภาควิชาพยาธิวิทยาในปัจจุบัน

  1. ด้านนโยบาย เนื่องจาก ภาควิชาพยาธิวิทยาเป็นภาควิชาใหญ่ มีบุคลากร กว่า 500 คน และมีภาระกิจ ในการบริการทางพยาธิวิทยาด้านต่างๆ มากมาย และเพิ่มมาก ขึ้นทุกปี จึงมีความจำเป็น ที่จะต้อง กำหนดนโยบาย การบริหารอย่างมีระบบรัดกุม โดยอาศัย วิธีการบริหารตามวัตถุประสงค์ และ ผลงาน ( management by objectives and results)
  2. วัตถุประสงค์ เพื่อให้การบริหารเป็นไปตามนโยบายข้างต้น ภาควิชาฯ ได้กำหนดวัตถุประสงค์ ในการบริหารงานไว้ ดังนี้
              2.1 พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหาร (management information system) สำหรับ การประมวลข้อมูล ทางด้านค่าใช้จ่าย การปฏิบัติงาน ของบุคลากร การตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ และการวางแผน งานของภาควิชาฯ
              2.2 จัดให้มีการวางแผนกำลังคน และการพัฒนาบุคลากร (human resource planning and development) ในแนวทางที่ทำให้ภาควิชาฯ สามารถ ปฏิบัติภารกิจ เพิ่มขึ้นโดยใช้กำลังคน เท่าเดิมหรือ เพิ่มขึ้นน้อยมาก ภายในขีดจำกัดตาม ระเบียบราชการในปัจจุบัน ทั้งนี้จะเน้นการพัฒนา และฝึกอบรม บุคลากรให้มีสมรรถภาพ และ ประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น
              2.3 ปรับปรุงเครื่องมือต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และนำเทคโนโลยีทันสมัย มาประยุกต์เพื่อให้ บุคลากร แต่ละคนสามารถ ผลิตผลงานได้เพิ่มขึ้น
              2.4 พัฒนาการทำงานเป็นหมู่คณะ (team work development) เพื่อให้กลุ่มบุคลากร ในหน่วยงาน ต่างๆ สามารถประสานงานกัน ภายในหน่วย หรือ ระหว่างหน่วย ได้อย่างดี อันจะนำไปสู่การเพิ่ม ขีดความ สามารถของภาควิชาฯ เป็นส่วนรวม
              2.5 จัดระบบการใช้สถานที่ เพื่อให้สามารถใช้ สถานที่เดิมซึ่งขยาย ไม่ได้ ให้มีเนื้อที่ใช้งานจริงๆ มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
              2.6 จัดให้มีการประเมินผลการบริหาร และการปฏิบัติงานทุกๆ สามเดือน (quarterly adminnist rative and operational assessment)
  3. การดำเนินงาน เพื่องานบริการ การเรียนการสอน และงานวิจัย

แนวนโยบาย

แนวนโยบายการจัดตั้งภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี 

  1. ภาควิชาพยาธิวิทยาจะทำหน้าที่ครอบคลุมศาสตร์ของการศึกษา พยาธิสภาพ และพยาธิกำเนิดของ โรคภัยไข้เจ็บ และศาสตร์ของการวินิจฉัยโรคทั่วไป ทั้ง 2 ด้านด้วยกัน คือ Pathology และ Cilnical Pathology ซึ่งมีแบบอย่างใน ภาควิชาในสหรัฐอเมริกา
  2. ภาควิชาจะต้องมีนโยบายไม่เพียงพอแต่แค่มองความเจริญของการแพทย์ และวิชาการใน ขอบเขตของคณะ หรือมหาวิทยาลัย และในสถานการณ์ ขณะนั้นเท่านั้น แต่จะต้องมองปัญหา และการพัฒนาด้านนี้ของประเทศในอนาคต ด้วยแนวความคิด ที่อยู่บนหลักการ
  3. ภาควิชาพยายามให้ด้านพยาธิวิทยาได้ผสมผสาน กับงานของภาควิชา คณะแพทย์ มากที่สุดให้ น้ำหนักความสำคัญ ของการสร้างนักวิชาการ ที่จะทำงานด้านต่างๆ ทางพยาธิวิทยา สร้างแนวความคิด ในเรื่องการพึ่งตนเอง