สนใจร่วม Collaborative Research

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อุษณรัสมิ์ อนุรัฐพันธ์

Chimeric antigen receptor   

      กลุ่มวิจัยมีความสนใจวิจัยพัฒนาการรักษาด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด (Cellular immunotherapy) เพื่อรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ โดยอาศัยหลักการพันธุกรรมบำบัด (gene therapy) สร้างโมเลกุลตัวรับดัดแปลง (chimeric antigen receptor; CAR) เพื่อทำหน้าที่ตรวจหาและทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย เช่น 
      1.  การศึกษาระดับคลินิกเพื่อรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิด บี-ลิมโฟบลาสท์ (B-cell acute lymphoblastic leukemia) โดยใช้เซลล์เม็ดเลือดขาวดัดแปลง (CAR-modified T lymphocyte; CAR-T cell) จำเพาะต่อ CD19 
     2.  การศึกษาในสัตว์ทดลองเพื่อรักษาโรคมะเร็งระบบประสาทชนิดนิวโรบลาสโตมา (neuroblastoma) โดยใช้ CAR-T cell จำเพาะต่อ GD2 
     3.  การศึกษาในหลอดทดลองเพื่อรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิ้น (Hodgkin lymphoma) โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอิโลมา (multiple myeloma)

          Contact: รศ.นพ. อุษณรัสมิ์ อนุรัฐพันธ์
                 Email: usanarat.anu@mahidol.ac.th

 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แพทย์หญิงเดือนธิดา ทรงเดช

Novel Therapy for the Treatment of Beta-Thalassemia  

     กลุ่มวิจัยมีความสนใจพัฒนาการรักษาโรคเบต้าธาลัสซีเมียในผู้ป่วยไทยด้วยการรักษาแบบใหม่ เพื่อให้ผู้ป่วยเบต้าธาลัสซีเมียหายขาดหรือมีความรุนแรงของโรคลดลง เปลี่ยนจากผู้ป่วยที่ต้องรับเลือดเป็นประจำ (transfusion-dependent) เป็นผู้ป่วยที่ไม่ต้องได้รับเลือดเป็นประจำ โดยในปัจจุบันกลุ่มวิจัยกำลังพัฒนาวิธีรักษาแบบใหม่นี้ด้วยหลักการ 2 อย่าง
     1.  Gene-based therapy คือการรักษาด้วยการใช้วิธียีนบำบัด (Gene therapy) โดยแบ่งเป็นวิธีการใส่ยีนเบต้าโกลบินที่สังเคราะห์ขึ้นมาใหม่เข้าในเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดของผู้ป่วย (Gene addition) และการตัดต่อยีน (Genome editing) เพื่อแก้ไขการกลายพันธุ์ของยีนเบต้าโกลบินที่ผิดปกติ หรือเพื่อเพิ่มปริมาณ Hemoglobin F
     2.  Drug-based therapy คือการค้นหา biochemical agent ที่ใช้รักษาโรคอื่นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจมีผลช่วยลดการเกิด ineffective erythropoiesis ในผู้ป่วยเบต้าธาลัสซีเมียหรือช่วยเพิ่มปริมาณ Hemoglobin F โดยไม่เป็นพิษต่อเซลล์

Optimal Treatment for Iron Overload in Young Children with Red Blood Cell Membrane Disorders  

     กลุ่มวิจัยมีความสนใจการวิจัยทางคลินิก เพื่อที่จะหาแนวทางการใช้ยาขับเหล็กและการติดตามการรักษาและผลแทรกซ้อนจากภาวะเหล็กเกินที่เหมาะสมในผู้ป่วยเด็กโรคเม็ดเลือดแดงแตกง่ายจากผนังเซลล์เม็ดเลือดแดงผิดปกติ แบบต้องได้รับเลือดเป็นประจำ เนื่องจากผุ้ป่วยเหล่านี้มักเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับยาขับเหล็กตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาขับเหล็ก และเป็นผู้ป่วยที่ไม่เข้าเกณฑ์การเบิกจ่ายยาขับเหล็กตามสิทธิ์หลักประกันสุขภาพล่วงหน้า

 

        Principal  Investigator: ผศ.ดร.พญ. เดือนธิดา ทรงเดช
        Contact:  duantida.songdej@gmail.com
                   02-201-1749 (Office hours)

 
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ขวัญชัย ไพโรจน์สกุล

Hypertension in children and adolescents 

            กลุ่มวิจัยมีความสนใจในการวิจัยเพื่อค้นหาความชุกของภาวะความดันเลือดสูงในเด็กและวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความดันเลือดสูง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน เด็กที่มีประวัติเกิดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักแรกเกิดน้อย เด็กที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น และสนใจในการวินิจฉัยและการติดตามการรักษาภาวะความดันเลือดสูงด้วยการวัดความดันเลือดแบบ ambulatory blood pressure monitoring (ABPM) โดยได้ริเริ่มการให้บริการวัดความดันเลือดแบบ ABPM ในเด็กและวัยรุ่นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559
นอกจากนี้ กลุ่มวิจัยยังสนใจการสำรวจภาวะความดันเลือดและดัชนีมวลกายเด็กและวัยรุ่นในโรงเรียนของกรุงเทพมหานคร และการหาแนวทางรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคอาหารที่มีแคลอรี่และเกลือสูง

             หัวหน้าโครงการ: รศ. นพ. ขวัญชัย ไพโรจน์สกุล
                          Email: Kwanchai.pio@mahidol.ac.th