อนุสาขากุมารเวชบำบัดวิกฤต

 

 

การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

อนุสาขากุมารเวชบำบัดวิกฤต

Fellowship Training in Pediatric Critical Care Medicine

 

    อนุสาขากุมารเวชบำบัดวิกฤต เป็นสาขาวิชาใหม่ ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558 เนื่องจากศาสตร์การดูแลผู้ป่วยเด็กในภาวะวิกฤต (critically ill patients) เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญอย่างมาก กุมารแพทย์ผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ ซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น ต้องอาศัยความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยหลายระบบพร้อมกัน จึงจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจำเพาะมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถให้การดูแลได้อย่างเหมาะสม ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ 
    ด้วยเหตุนี้ อนุสาขากุมารเวชบำบัดวิกฤต จึงได้รับการพัฒนาและจัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมให้กุมารแพทย์มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการดูแลผู้ป่วยเด็กในภาวะวิกฤต และส่งเสริมให้มีพัฒนาการดูแลผู้ป่วยและองค์ความรู้ด้านกุมารเวชบำบัดวิกฤตให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

     ส่งเสริมให้กุมารแพทย์มีองค์ความรู้และความสามารถอย่างเพียงพอในกุมารเวชศาสตร์ส่วนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยหนักในทุกระบบ

สามารถที่จะปฏิบัติงานในสถานพยาบาลระดับตติยภูมิที่หอผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก (Pediatric Intensive Care Unit, PICU) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และสามารถทำงานร่วมกับแพทย์ในสาขาอื่น ๆ ในการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีอาการหนักได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมแล้ว และขณะยื่นใบสมัครเข้ารับการฝึกอบรม ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
    1. เป็นผู้ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ สาขากุมารเวชศาสตร์ หรืออนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคระบบหายใจ หรืออนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ
    2. เป็นแพทย์ประจำบ้านชั้นปีสุดท้าย ในการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรฯ สาขากุมารเวชศาสตร์ หรืออนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคระบบหายใจ หรืออนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ
    3. เป็นผู้มีสิทธิ์สอบเพื่อหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ สาขากุมารเวชศาสตร์ หรืออนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคระบบหายใจ หรืออนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ
    และทางสาขาวิชาฯ เน้นเรื่องสำคัญที่สุด คือ  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องสามารถทำงานหนักได้  โดยพิจารณาคุณสมบัติด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ มีคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพแพทย์ รับผิดชอบและเสียสละเพื่อส่วนรวม, สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี (teamwork), มีความสามารถในการบริหารจัดการ, มีลักษณะความเป็นผู้นำ และความเป็นครู 

    1.  ดาวน์โหลดใบสมัครจาก URL ต่อไปนี้  http://med.mahidol.ac.th/graded/raf/account/log_in
    2.  ส่งมาที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 270 ถนนพระรามหก เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
    3.  เมื่อทางสาขากุมารเวชบำบัดวิกฤต ได้รับเอกสารการสมัครเรียบร้อยแล้ว เอกสารจะได้รับการตรวจสอบและพิจารณาเบื้องต้นโดยอาจารย์ผู้ดูแลแพทย์ประจำบ้านต่อยอด
    4.  ผู้สมัครที่ผ่านการพิจารณาขั้นต้น ได้รับเชิญมารับการสัมภาษณ์กับอาจารย์ประจำสาขาวิชาฯ และตัวแทนอาจารย์สาขาวิชาอื่น ๆ ของภาควิชากุมารเวชศาสตร์
    5.  คณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านต่อยอดจะตัดสินรับผู้สมัครโดยใช้ผลการสัมภาษณ์ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากเอกสารการสมัคร
         โดยมีจำนวนแพทย์ประจำบ้านต่อยอดชั้นปีละ 3 คน

    1. ตารางการปฏิบัติงาน 
    การฝึกปฏิบัติงานรวมเวลา 2 ปี (24 เดือน) โดยสาขาวิชาฯ จะจัดให้มีตารางหมุนเวียนปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านต่อยอดแต่ละชั้นปี โดยเป็นไปตามเงื่อนไขของหลักสูตรการฝึกอบรม ดังนี้
  

พื้นฐานผู้เข้ารับการฝึกอบรม  PICU(เดือน) ICU*(เดือน) วิสัญญี (เดือน) Chest(เดือน) Cardio(เดือน) วิจัย(เดือน) Elective(เดือน) รวม(เดือน)
กุมารแพทย์ 11 2 1 2 2 3 3 24

*หอผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤตอื่นๆ ได้แก่ NICU, CCU, ICU, SICU

    2. การประชุมภายในภาควิชา 
    กิจกรรมทางวิชาการของสาขาวิชาฯ ดังแสดงในตาราง
  

วันอังคาร

13.00 - 15.00 น.

วันพุธ

12.00 - 13.00 น.

วันพฤหัสบดี 

12.00 - 14.00 น.

สัปดาห์ที่ 1: Topic review/Review article Core Lecture/ Grand round
สัปดาห์ที่ 2: Journal Club Guest Lecture/  
สัปดาห์ที่ 3: Interesting case/Research Simulation  
meeting/ Morbidity & mortality conference Self - study  
สัปดาห์ที่ 4: Board review/Special lecture    

 

    3. การอยู่เวรนอกเวลาราชการ กำหนดให้แพทย์ประจำบ้านต่อยอดฯ อยู่เวรดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤตอย่างน้อย 8 ครั้ง/เดือน ตามตารางเวรที่กำหนดไว้
    4. การประชุมระหว่างภาควิชา 
        4.1 Pediatric-radiology-surgery conference ทุกวันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 ของเดือน  เวลา 08.00-09.00 น. หรือตามแต่ที่ภาควิชาฯ กำหนด ดำเนินการโดยแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 2 เพื่อให้แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดได้เรียนรู้กรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาต้องได้รับการผ่าตัด โดยฝึกอภิปรายการวินิจฉัย การเลือกส่งตรวจทางรังสีวิทยา ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด และการดูแลหลังการผ่าตัด โดยแพทย์ประจำบ้านต่อยอด มีหน้าที่ร่วมอภิปรายผู้ป่วยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกุมารเวชบำบัดวิกฤต 
        4.2 Clinico-pathological conference ทุกวันพุธที่ 4 ของเดือน เวลา 14.30-16.00 น. จัดโดยงานแพทยศาสตร์ศึกษาของคณะฯ
    5. การเข้าร่วมประชุมวิชาการของสมาคม ราชวิทยาลัย และในโรงพยาบาล สาขาวิชาฯ สนับสนุนให้แพทย์ประจำบ้านต่อยอด เข้าร่วมประชุมวิชาการของคณะฯ และภาควิชาฯ รวมทั้งของชมรมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และการประชุมวิชาการด้านกุมารเวชบำบัดวิกฤตในต่างประเทศ
    6. การลาพักผ่อนประจำปี ปีละ 2 สัปดาห์
    7. งานวิจัย มีงานวิจัยคนละ 1 เรื่อง
    8. การประเมินผู้เข้ารับการอบรม
        8.1 การประเมินระหว่างอบรม
            ก. การประเมินผลแบบ 360 องศา ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมเมื่อผ่านการฝึกอบรมไปแล้ว 6 เดือน และ 4 เดือน เพื่อพัฒนาผู้เรียนและให้ข้อมูลป้อนกลับ
            ข. แบบติดตามการทำหัตถการ (Logbook)
            ค. การตรวจแฟ้มบันทึกงาน (portfolios)
        8.2 การประเมินเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขากุมารเวชบำบัดวิกฤต ประกอบด้วย การสอบภาคทฤษฎี (ปรนัยหรืออัตนัย), การสอบภาคปฏิบัติ (Oral Examination หรือ Long case) และการวิจัย

 
     Edit DETIAL Here...